จ้าวผู้ครองนครน่านที่ ๑
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
เรื่อง เครื่องบิน “จ้าวผู้ครองนครน่านที่ ๑”
ต้นธารประวัติศาสตร์การบินเมืองน่าน
นับเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี ของประวัติศาสตร์การบินไทยที่พัฒนาและเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเมืองน่านก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์การบินสยามในยุคแรกเริ่ม
.
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชเมืองนครน่าน (เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๙,๐๐๐ บาท เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพบกสยาม จำนวน ๑ ลำ
.
ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ กระทรวงกลาโหมได้จัดซื้อเครื่องบิน ๑ เครื่อง ตามที่ นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน มอบให้ จำนวนเงิน 9,000 บาท โดยเป็นเครื่องบินขับไล่ ชนิด สแปด (Spad) ปีกสองชั้น แบบ ๗ C. เครื่องยนต์ อิสปาโนซูซ่า ๑๘๐ แรงม้า ดังความในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๒๔๔๙ - ๒๕๕๕๒ ที่ว่า
.
“นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุธาดา (น้อยมหาพรหม ณ น่าน) ได้บริจาคเงินส่วนตัวสำหรับซื้อเครื่องบินเป็นจำนวน ๙,๐๐๐ บาท กระทรวงกระลาโหม ได้จัดการซื้อเครื่องบินชนิด สแปด แบบ ๗ เครื่องยนตร์ อิสปาโนซูซ่า ๑๘๐ แรงม้า ๑๘๐ แรงม้า ๑ เครื่อง มีคุณลักษณดังนี้ น้ำหนัก เฉพาะเครื่อง ๕๐๐ กิโลกรัมม์ พร้อมที่จะบินได้หนัก ๗๐๕ กิโลกรัมม์ ระวางบรรทุก ๑๒๕ กิโลกรัมม์ น้ำหนักน้ำมัน ๘๐ กิโลกรัมม์ บินเต็มความเร็วเปนชั่วโมงระยะสูง ๓๐๐๐ เม็ตร์ ๑ ชั่วโมง ๔๕ นาทีระยะสูงที่ขึ้นได้ ๕๐๐๐ เม็ตร์ ความเร็ว ๑๘๐ กิโลเม็ตร์ ต่อ ๑ ชั่วโมง ระยะสูงที่ขึ้นได้ตามเกณฑ์ ๖๒๐๐ เม็ตร์ เวลาและระยะขึ้น ๒๐๐๐ เม็ตร์ ๔.๔๐ นาที เวลาและระยะขึ้น ๓๐๐๐ เม็ตร์ ๘.๑๐ นาที เวลาและระยะขึ้น ๔๐๐๐ เม็ตร์ ๑๒.๔๐ นาที ได้จารึกอักษรไว้ที่เครื่องบินนี้ว่า “เจ้าผู้ครองนครน่านที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๒”
.
ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ การสร้างสนามบินน่านแล้วเสร็จ ควรจะมีเครื่องบินชนิดทิ้งระเบิด ๑ เครื่อง เพื่อเพิ่มกำลังให้กรมอากาศยานได้กระทำกิจอันเป็นประโยชน์ตามหน้าที่ จึงได้ชักชวนบรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และราษฎร บริจาคกำลังทรัพย์ โดยมี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้รวบรวมส่งมาเป็นครั้งแรก จำนวน ๘,๖๑๙ บาท ๙๓ สตางค์ ดังความในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๖๖ เล่ม ๔๐ หน้า ๑๓๙๔ - ๑๓๙๖ ทีว่า
.
“ด้วยเค้าสนามหลวงจังหวัดน่านบอกเข้ามายังกระทรวงกระลาโหม ว่าเมื่อการสร้างสนามบินในจังหวัดนี้สำเร็จแล้ว ควรจะชักชวนเรี่ยรายตามบรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และทวยราษฎร ให้ได้เงินพอแก่ราคาเครื่องบินชนิดทิ้งระเบิดสัก ๑ เครื่อง เพื่อเพิ่มกําลังให้กรมอากาศยานได้กระทำกิจเป็นประโยชน์เต็มตามน่าที่ บัดนี้ เจ้านาย ข้าราชการตลอดจนพสกนิกรในนครน่าน ที่มีความประสงค์และเต็มใจได้บริจาคธนทรัพย์เพื่อแก่การนี้บ้างแล้ว ซึ่งมหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองจังหวัด ได้รวบรวมส่งมาเป็นครั้งแรกโดย จำนวน ๘,๖๑๕ บาท ๙๓ สตางค์ แต่ยังมิได้ปิดบาญชีการเรี่ยราย เพราะหวังอยู่ว่าคงจะได้รับอยู่อีกเท่าจำนวนที่คาดหมายจนพอแก่ราคาเครื่องบิน ดังกล่าวแล้วข้างต้น เงินทั้งนี้เจ้าน่าที่ในกระทรวงกระลาโหม ได้รับไว้แล้ว จักได้จัดการให้เป็นไปตามความประสงค์สืบไป ข้าพเจ้ามีความโสมนัสปลาบปลื้มใจยิ่งนัก ในการที่ เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้าประชาราษฎร์ ในจังหวัดน่านมาช่วยกันรีบเร่งผดุงให้กรมอากาศยานสามารถกระทำกิจเป็นประโยชน์แก่ชาติและปิตุภูมิยิ่งขึ้น นับว่าจังหวัดน่านได้ก้าวล่วงน่าในการบํารุงยิ่งกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในมณฑลเดียวกัน หากว่าได้จัดการสร้างสนามบินประจำจังหวัดให้สำเร็จ ใช้ได้โดยเร็ว ด้วยแล้วหวังไม่ช้านักอาณาประชาราษฎร์คงจะได้เห็นผลว่า ฉะเพาะจังหวัด น่านอันกันดารไร้ทางคมนาคมนั้น เครื่องบินจักสามารถกระทำประโยชน์ให้ได้เพียงใด”
.
พ.ศ. ๒๔๖๙ สนามบินจังหวัดน่านดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ จึงได้ทำพิธีเปิดฉลองสนามบิน และแสดงการบิน โดยในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๖๙ กรมอากาศยานได้จัดส่งเครื่องบินจากดอนเมืองจำนวน ๓ ลำ ดังความในราชกกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ มีนาคม ๒๔๖๕ เล่ม ๔๓ หน้า ๔๓๔๗ -๔๓๕๓ ที่ว่า
.
“ด้วยเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น ได้จัดการโก่นสร้างพื้นที่ทำเปนสนามกีฬาประจำจังหวัดน่าน และมุ่งให้ใช้เปนสนามบินสำเร็จแล้ว และเครื่องบินอาศัยขึ้นลงได้สะดวก กระทรวงกระลาโหม จึงได้รับสนามบินจังหวัดนี้ขึ้นทะเบียนไว้ใช้ราชการต่อไปแล้ว
สนามบินแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเก่าและร้างว่างเปล่ามานานเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ จอมปลวกและหนองน้ำ เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองท้องถิ่นได้ประชุมพร้อมด้วยกรมการอำเภอ พ่อค้าคฤหบดีชี้แจงถึงคุณประโยชน์แห่งการบิน จนเป็นที่เชื่อถือตกลงปลงใจพร้อมกัน และคิดว่าจะเอาพื้นที่พื้นนี้เปนสนามบิน จึงกำหนดลงมือทำในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นต้นมา การโก่นสร้างปราบพื้นที่อาศัยแรงราษฎรในเมื่อเสร็จจากการทำนาหาเลี้ยงชีพเป็นคราว ๆ ไป มีนายอำเภอเจ้าของท้องที่และผู้ช่วยเปนแม่กองดูแลควบคุมการงาน การนี้ได้สำเร็จพอ เปนที่ขึ้นลงของเครื่องบินได้เมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๖๘
การสร้างสนามนี้สำเร็จไปได้โดยยากเพราะเหตุดังกล่าวแล้ว การซึ่งจะทำพื้นที่เช่นนี้ให้เป็นที่ราบเรียบจนเครื่องบินขึ้นลงได้ปลอดภัย จึงต้องอาศัยความอุสาหะบากบั่นพร้อมด้วยความปลงใจของเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตลอดทั้งผู้ช่วยทุกชั้น อีกประการหนึ่งการขอแรงราษฎรช่วยทำก็ต้องหาเวลาว่างจากการอาชีพ ในปีหนึ่งได้เพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น กระทรวงกระลาโหม เล็งเห็น โดยตระหนักว่าการที่สำเร็จไปได้ดังนี้ ก็เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองท้องถิ่นปลงใจอย่างแน่นอนว่า จะ ช่วยบํารุงกําลังทางอากาศ แล้วยังพยายามจัดการให้ได้กระทำพิธีเปิดฉลองสนามบิน และแสดงการบินเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ที่แล้วมา คือขอให้กรมอากาศยานส่งเครื่องบินขึ้นไปแสดง เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความจริงของการเดินอากาศ
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ กรมอากาศยานได้จัด ส่งเครื่องบินออกไปแสดงจากดอนเมืองรวม ๓ เครื่อง มีนายร้อยเอกผล หงสกุล เป็นหัวหน้า เวลา ๑๐ นาฬิกา ๑๐ นาที เครื่องบินทั้ง ๓ ได้ร่อนลงยังสนามบินจังหวัดน่านโดยเรียบร้อย
รุ่งขึ้นวันที่ ๑๖ เครื่องบินรับผู้โดยสาร ซึ่งเป็นเจ้านายชายหญิง กับข้าราชการและภรรยาตลอดพ่อค้าคฤหบดี เพื่อให้ชมภาพพื้นเมืองทางอากาศวิถี
วันที่ ๑๗ เครื่องบินทั้ง ๓ เครื่องแยกกันบินร่อนตามอำเภอ รอบนอกทุกอำเภอในท้องที่จังหวัดน่าน รับนายอำเภอและทั้งผู้ซึ่งเหนื่อยยากในการสร้างสนามบิน ให้โดยสารไปชมภูมิประเทศแห่งอำเภอนั้น ๆ ด้วย ได้อยู่ที่สนามแห่งนี้ จนถึงวันที่ ๒๐ เครื่องบินทั้ง ๓ เครื่อง จึงได้กลับจากจังหวัดน่าน มาสู่ดอนเมืองโดยเรียบร้อย
การเรี่ยรายเงินบํารุง การบิน และทำสนามบินของจังหวัดน่านนี้ ได้เริ่มมาแต่ต้น พ.ศ. ๒๔๖๔ จนถึงเวลาเปิดสนามบินและแสดงการบิน ได้จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๘๑๒ บาท ๑๓ สตางค์ ส่งมากระทรวงกระลาโหมรวม ๔ ครั้ง กระทรวงกระลาโหมได้รับไว้ถูกต้องแล้วเงิน ๑๐,๘๖๗ บาท ๔๒ สตางค์ หักค่าใช้จ่ายเสีย ๒,๖๒๙ บาท ๔๒ สตางค์ ยังมีตัวเงินเหลืออยู่ที่จังหวัดอีก ๓๑๕ บาทถ้วน ซึ่งจะรอส่งกระทรวงกระลาโหมภายหลัง โดยการเรี่ยรายนี้ยังไม่ปิดบาญชี เงินซึ่งส่งกระทรวง กระลาโหมแล้วนั้น เมื่อได้ครบของราคาเครื่องบิน ๑ เครื่อง กระทรวงกระลาโหมก็จะได้จารึกนาม ให้เป็นเครื่องบินของจังหวัดน่านต่อไป”
.
ภายหลังกระทรวงโหมได้จัดซื้อเครื่องบินเบร์เกต์ () ปีกสองชั้น แบบ ๑๔ A. หรือ B. ๒ เครื่องยนต์ เรอโนต์ ๓๐๐ แรงม้า ๑ เครื่อง ระบุชื่อ “เจ้าผู้ครองนครน่าน ๑”
#เครื่องบินน่าน #สนามบินน่าน
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
๑. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน, ๑๑ ธ.ค. ๒๔๕๘ เล่ม ๓๒ ง หน้า ๒๑๒๓. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1049287.pdf
๒. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เครื่องบินซึ่งมีผู้บริจาคเงินซื้อให้แก่กองทัพบก, ๒๒ พ.ย. ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๒๔๔๙. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1058636.pdf
๓. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง รับเงินของจังหวัดน่านเพื่อบำรุงกำลังทางอากาศ, ๒๙ ก.ค. ๒๔๖๖ เล่ม ๔๐ ง หน้า ๑๓๙๔. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1068621.pdf
๔. ราชกิจจานุเบกษา: คำแถลงการณ์ของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เรื่อง สนามบินและการแสดงการบินจังหวัดน่าน, ๖ มี.ค. ๒๔๖๙ เล่ม ๔๓ ง หน้า ๔๓๔๗. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1078051.pdf
๕. กองบัญชาการกองทัพไทย. 4 แผ่นดินราชวงศ์จักรี 100 ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ. กรุงเทพฯ : เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์, 2554.
เรื่อง เครื่องบิน “จ้าวผู้ครองนครน่านที่ ๑”
ต้นธารประวัติศาสตร์การบินเมืองน่าน
นับเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี ของประวัติศาสตร์การบินไทยที่พัฒนาและเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเมืองน่านก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์การบินสยามในยุคแรกเริ่ม
.
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชเมืองนครน่าน (เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๙,๐๐๐ บาท เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพบกสยาม จำนวน ๑ ลำ
.
ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ กระทรวงกลาโหมได้จัดซื้อเครื่องบิน ๑ เครื่อง ตามที่ นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน มอบให้ จำนวนเงิน 9,000 บาท โดยเป็นเครื่องบินขับไล่ ชนิด สแปด (Spad) ปีกสองชั้น แบบ ๗ C. เครื่องยนต์ อิสปาโนซูซ่า ๑๘๐ แรงม้า ดังความในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๒๔๔๙ - ๒๕๕๕๒ ที่ว่า
.
“นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุธาดา (น้อยมหาพรหม ณ น่าน) ได้บริจาคเงินส่วนตัวสำหรับซื้อเครื่องบินเป็นจำนวน ๙,๐๐๐ บาท กระทรวงกระลาโหม ได้จัดการซื้อเครื่องบินชนิด สแปด แบบ ๗ เครื่องยนตร์ อิสปาโนซูซ่า ๑๘๐ แรงม้า ๑๘๐ แรงม้า ๑ เครื่อง มีคุณลักษณดังนี้ น้ำหนัก เฉพาะเครื่อง ๕๐๐ กิโลกรัมม์ พร้อมที่จะบินได้หนัก ๗๐๕ กิโลกรัมม์ ระวางบรรทุก ๑๒๕ กิโลกรัมม์ น้ำหนักน้ำมัน ๘๐ กิโลกรัมม์ บินเต็มความเร็วเปนชั่วโมงระยะสูง ๓๐๐๐ เม็ตร์ ๑ ชั่วโมง ๔๕ นาทีระยะสูงที่ขึ้นได้ ๕๐๐๐ เม็ตร์ ความเร็ว ๑๘๐ กิโลเม็ตร์ ต่อ ๑ ชั่วโมง ระยะสูงที่ขึ้นได้ตามเกณฑ์ ๖๒๐๐ เม็ตร์ เวลาและระยะขึ้น ๒๐๐๐ เม็ตร์ ๔.๔๐ นาที เวลาและระยะขึ้น ๓๐๐๐ เม็ตร์ ๘.๑๐ นาที เวลาและระยะขึ้น ๔๐๐๐ เม็ตร์ ๑๒.๔๐ นาที ได้จารึกอักษรไว้ที่เครื่องบินนี้ว่า “เจ้าผู้ครองนครน่านที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๒”
.
ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ การสร้างสนามบินน่านแล้วเสร็จ ควรจะมีเครื่องบินชนิดทิ้งระเบิด ๑ เครื่อง เพื่อเพิ่มกำลังให้กรมอากาศยานได้กระทำกิจอันเป็นประโยชน์ตามหน้าที่ จึงได้ชักชวนบรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และราษฎร บริจาคกำลังทรัพย์ โดยมี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้รวบรวมส่งมาเป็นครั้งแรก จำนวน ๘,๖๑๙ บาท ๙๓ สตางค์ ดังความในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๖๖ เล่ม ๔๐ หน้า ๑๓๙๔ - ๑๓๙๖ ทีว่า
.
“ด้วยเค้าสนามหลวงจังหวัดน่านบอกเข้ามายังกระทรวงกระลาโหม ว่าเมื่อการสร้างสนามบินในจังหวัดนี้สำเร็จแล้ว ควรจะชักชวนเรี่ยรายตามบรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และทวยราษฎร ให้ได้เงินพอแก่ราคาเครื่องบินชนิดทิ้งระเบิดสัก ๑ เครื่อง เพื่อเพิ่มกําลังให้กรมอากาศยานได้กระทำกิจเป็นประโยชน์เต็มตามน่าที่ บัดนี้ เจ้านาย ข้าราชการตลอดจนพสกนิกรในนครน่าน ที่มีความประสงค์และเต็มใจได้บริจาคธนทรัพย์เพื่อแก่การนี้บ้างแล้ว ซึ่งมหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองจังหวัด ได้รวบรวมส่งมาเป็นครั้งแรกโดย จำนวน ๘,๖๑๕ บาท ๙๓ สตางค์ แต่ยังมิได้ปิดบาญชีการเรี่ยราย เพราะหวังอยู่ว่าคงจะได้รับอยู่อีกเท่าจำนวนที่คาดหมายจนพอแก่ราคาเครื่องบิน ดังกล่าวแล้วข้างต้น เงินทั้งนี้เจ้าน่าที่ในกระทรวงกระลาโหม ได้รับไว้แล้ว จักได้จัดการให้เป็นไปตามความประสงค์สืบไป ข้าพเจ้ามีความโสมนัสปลาบปลื้มใจยิ่งนัก ในการที่ เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้าประชาราษฎร์ ในจังหวัดน่านมาช่วยกันรีบเร่งผดุงให้กรมอากาศยานสามารถกระทำกิจเป็นประโยชน์แก่ชาติและปิตุภูมิยิ่งขึ้น นับว่าจังหวัดน่านได้ก้าวล่วงน่าในการบํารุงยิ่งกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในมณฑลเดียวกัน หากว่าได้จัดการสร้างสนามบินประจำจังหวัดให้สำเร็จ ใช้ได้โดยเร็ว ด้วยแล้วหวังไม่ช้านักอาณาประชาราษฎร์คงจะได้เห็นผลว่า ฉะเพาะจังหวัด น่านอันกันดารไร้ทางคมนาคมนั้น เครื่องบินจักสามารถกระทำประโยชน์ให้ได้เพียงใด”
.
พ.ศ. ๒๔๖๙ สนามบินจังหวัดน่านดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ จึงได้ทำพิธีเปิดฉลองสนามบิน และแสดงการบิน โดยในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๖๙ กรมอากาศยานได้จัดส่งเครื่องบินจากดอนเมืองจำนวน ๓ ลำ ดังความในราชกกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ มีนาคม ๒๔๖๕ เล่ม ๔๓ หน้า ๔๓๔๗ -๔๓๕๓ ที่ว่า
.
“ด้วยเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น ได้จัดการโก่นสร้างพื้นที่ทำเปนสนามกีฬาประจำจังหวัดน่าน และมุ่งให้ใช้เปนสนามบินสำเร็จแล้ว และเครื่องบินอาศัยขึ้นลงได้สะดวก กระทรวงกระลาโหม จึงได้รับสนามบินจังหวัดนี้ขึ้นทะเบียนไว้ใช้ราชการต่อไปแล้ว
สนามบินแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเก่าและร้างว่างเปล่ามานานเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ จอมปลวกและหนองน้ำ เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองท้องถิ่นได้ประชุมพร้อมด้วยกรมการอำเภอ พ่อค้าคฤหบดีชี้แจงถึงคุณประโยชน์แห่งการบิน จนเป็นที่เชื่อถือตกลงปลงใจพร้อมกัน และคิดว่าจะเอาพื้นที่พื้นนี้เปนสนามบิน จึงกำหนดลงมือทำในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นต้นมา การโก่นสร้างปราบพื้นที่อาศัยแรงราษฎรในเมื่อเสร็จจากการทำนาหาเลี้ยงชีพเป็นคราว ๆ ไป มีนายอำเภอเจ้าของท้องที่และผู้ช่วยเปนแม่กองดูแลควบคุมการงาน การนี้ได้สำเร็จพอ เปนที่ขึ้นลงของเครื่องบินได้เมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๖๘
การสร้างสนามนี้สำเร็จไปได้โดยยากเพราะเหตุดังกล่าวแล้ว การซึ่งจะทำพื้นที่เช่นนี้ให้เป็นที่ราบเรียบจนเครื่องบินขึ้นลงได้ปลอดภัย จึงต้องอาศัยความอุสาหะบากบั่นพร้อมด้วยความปลงใจของเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตลอดทั้งผู้ช่วยทุกชั้น อีกประการหนึ่งการขอแรงราษฎรช่วยทำก็ต้องหาเวลาว่างจากการอาชีพ ในปีหนึ่งได้เพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น กระทรวงกระลาโหม เล็งเห็น โดยตระหนักว่าการที่สำเร็จไปได้ดังนี้ ก็เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองท้องถิ่นปลงใจอย่างแน่นอนว่า จะ ช่วยบํารุงกําลังทางอากาศ แล้วยังพยายามจัดการให้ได้กระทำพิธีเปิดฉลองสนามบิน และแสดงการบินเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ที่แล้วมา คือขอให้กรมอากาศยานส่งเครื่องบินขึ้นไปแสดง เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความจริงของการเดินอากาศ
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ กรมอากาศยานได้จัด ส่งเครื่องบินออกไปแสดงจากดอนเมืองรวม ๓ เครื่อง มีนายร้อยเอกผล หงสกุล เป็นหัวหน้า เวลา ๑๐ นาฬิกา ๑๐ นาที เครื่องบินทั้ง ๓ ได้ร่อนลงยังสนามบินจังหวัดน่านโดยเรียบร้อย
รุ่งขึ้นวันที่ ๑๖ เครื่องบินรับผู้โดยสาร ซึ่งเป็นเจ้านายชายหญิง กับข้าราชการและภรรยาตลอดพ่อค้าคฤหบดี เพื่อให้ชมภาพพื้นเมืองทางอากาศวิถี
วันที่ ๑๗ เครื่องบินทั้ง ๓ เครื่องแยกกันบินร่อนตามอำเภอ รอบนอกทุกอำเภอในท้องที่จังหวัดน่าน รับนายอำเภอและทั้งผู้ซึ่งเหนื่อยยากในการสร้างสนามบิน ให้โดยสารไปชมภูมิประเทศแห่งอำเภอนั้น ๆ ด้วย ได้อยู่ที่สนามแห่งนี้ จนถึงวันที่ ๒๐ เครื่องบินทั้ง ๓ เครื่อง จึงได้กลับจากจังหวัดน่าน มาสู่ดอนเมืองโดยเรียบร้อย
การเรี่ยรายเงินบํารุง การบิน และทำสนามบินของจังหวัดน่านนี้ ได้เริ่มมาแต่ต้น พ.ศ. ๒๔๖๔ จนถึงเวลาเปิดสนามบินและแสดงการบิน ได้จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๘๑๒ บาท ๑๓ สตางค์ ส่งมากระทรวงกระลาโหมรวม ๔ ครั้ง กระทรวงกระลาโหมได้รับไว้ถูกต้องแล้วเงิน ๑๐,๘๖๗ บาท ๔๒ สตางค์ หักค่าใช้จ่ายเสีย ๒,๖๒๙ บาท ๔๒ สตางค์ ยังมีตัวเงินเหลืออยู่ที่จังหวัดอีก ๓๑๕ บาทถ้วน ซึ่งจะรอส่งกระทรวงกระลาโหมภายหลัง โดยการเรี่ยรายนี้ยังไม่ปิดบาญชี เงินซึ่งส่งกระทรวง กระลาโหมแล้วนั้น เมื่อได้ครบของราคาเครื่องบิน ๑ เครื่อง กระทรวงกระลาโหมก็จะได้จารึกนาม ให้เป็นเครื่องบินของจังหวัดน่านต่อไป”
.
ภายหลังกระทรวงโหมได้จัดซื้อเครื่องบินเบร์เกต์ () ปีกสองชั้น แบบ ๑๔ A. หรือ B. ๒ เครื่องยนต์ เรอโนต์ ๓๐๐ แรงม้า ๑ เครื่อง ระบุชื่อ “เจ้าผู้ครองนครน่าน ๑”
#เครื่องบินน่าน #สนามบินน่าน
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
๑. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน, ๑๑ ธ.ค. ๒๔๕๘ เล่ม ๓๒ ง หน้า ๒๑๒๓. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1049287.pdf
๒. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เครื่องบินซึ่งมีผู้บริจาคเงินซื้อให้แก่กองทัพบก, ๒๒ พ.ย. ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๒๔๔๙. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1058636.pdf
๓. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง รับเงินของจังหวัดน่านเพื่อบำรุงกำลังทางอากาศ, ๒๙ ก.ค. ๒๔๖๖ เล่ม ๔๐ ง หน้า ๑๓๙๔. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1068621.pdf
๔. ราชกิจจานุเบกษา: คำแถลงการณ์ของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เรื่อง สนามบินและการแสดงการบินจังหวัดน่าน, ๖ มี.ค. ๒๔๖๙ เล่ม ๔๓ ง หน้า ๔๓๔๗. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1078051.pdf
๕. กองบัญชาการกองทัพไทย. 4 แผ่นดินราชวงศ์จักรี 100 ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ. กรุงเทพฯ : เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์, 2554.
(จำนวนผู้เข้าชม 434 ครั้ง)