อานิสงส์ผางประทีส/ประทีป และอานิสงส์ยี่เป็ง-ลอยประทีสโคมไฟ
อานิสงส์ผางประทีส/ประทีป และอานิสงส์ยี่เป็ง-ลอยประทีสโคมไฟ
ในช่วงเทศกาลยี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสอง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีการประดับประทีปโคมไฟ จุดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามที่วัด และฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ
ผาง คือ ตะคัน เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปคล้ายจานสำหรับใส่น้ำมันตามไฟต่างตะเกียง ผางน้ำมัน
ผางประทีป ผางประทีส หรือ ผางผะที่ส คือถ้วยประทีป หรือถ้วยเล็ก ๆ ที่ทำด้วยดินเผา ใช้เป็นเครื่องจุดตามไฟเป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาต่ออายุ หรืออีกนัยหนึ่งคือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันใช้จุดแทนตะเกียงในเวลากลางคืน ตัวกระถางที่รองรับทำด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบ
ตามความหมายดังกล่าวคำว่า ประทีป หมายถึง แสงไฟ ผางหมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป รวมความ ผางประทีป คือเครื่องจุดตามไฟ
นอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมันและ ตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง สีสาย หรือขี้สายนั้นมีสามชายแยกออกเป็นสามแฉกเหมือนตีนกา และยกอีกชายหนึ่งตั้งอยู่กลางอีกสามชาย
ตามประเพณีล้านนา ตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่ออานิสงส์ผางประทีป เล่าว่าเมื่อครั้งดีกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนด้นไม้ไกล้ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เกิดมีพายุใหญ่พัดรังกากระจัดกระจาย ไข่กาก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบ แม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ ๕ ฟองก็ถูกแม่ไก่ แม่นาคแม่เต่า แม่โคและแม่ราชสีห์ที่บางดำราว่าเป็นคนซักผ้าเอาไปเลี้ยงเอาไข่ไปพักตัวละฟอง ต่อมาก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤๅษีทั้งห้ามาพบกันต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตนร้อนถึงท้าวพกาพรหมก็ลงมาพบ แล้วเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ก็ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็งคือวันเพ็ญเดือน ๑๒
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #ยี่เป็ง #ลอยกระทง
เอกสารอ้างอิง
-เยาวนิจ ปั้นเทียน. "ผางประทีส/ผางประทีป (ดวงประทีป)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4072-4075.
-อุดม รุ่งเรืองศรี. "อานิสงส์ประทีส/ประทีป." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 7886-7886.
-อนันต์ จันทร์ประสาท "อานิสงส์ยี่เพง-ลอยประทีสโคมไฟ (วันเพ็ญเดือนยี่)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 7890-7892.
ในช่วงเทศกาลยี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสอง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีการประดับประทีปโคมไฟ จุดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามที่วัด และฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ
ผาง คือ ตะคัน เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปคล้ายจานสำหรับใส่น้ำมันตามไฟต่างตะเกียง ผางน้ำมัน
ผางประทีป ผางประทีส หรือ ผางผะที่ส คือถ้วยประทีป หรือถ้วยเล็ก ๆ ที่ทำด้วยดินเผา ใช้เป็นเครื่องจุดตามไฟเป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาต่ออายุ หรืออีกนัยหนึ่งคือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันใช้จุดแทนตะเกียงในเวลากลางคืน ตัวกระถางที่รองรับทำด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบ
ตามความหมายดังกล่าวคำว่า ประทีป หมายถึง แสงไฟ ผางหมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป รวมความ ผางประทีป คือเครื่องจุดตามไฟ
นอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมันและ ตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง สีสาย หรือขี้สายนั้นมีสามชายแยกออกเป็นสามแฉกเหมือนตีนกา และยกอีกชายหนึ่งตั้งอยู่กลางอีกสามชาย
ตามประเพณีล้านนา ตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่ออานิสงส์ผางประทีป เล่าว่าเมื่อครั้งดีกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนด้นไม้ไกล้ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เกิดมีพายุใหญ่พัดรังกากระจัดกระจาย ไข่กาก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบ แม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ ๕ ฟองก็ถูกแม่ไก่ แม่นาคแม่เต่า แม่โคและแม่ราชสีห์ที่บางดำราว่าเป็นคนซักผ้าเอาไปเลี้ยงเอาไข่ไปพักตัวละฟอง ต่อมาก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤๅษีทั้งห้ามาพบกันต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตนร้อนถึงท้าวพกาพรหมก็ลงมาพบ แล้วเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ก็ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็งคือวันเพ็ญเดือน ๑๒
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #ยี่เป็ง #ลอยกระทง
เอกสารอ้างอิง
-เยาวนิจ ปั้นเทียน. "ผางประทีส/ผางประทีป (ดวงประทีป)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4072-4075.
-อุดม รุ่งเรืองศรี. "อานิสงส์ประทีส/ประทีป." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 7886-7886.
-อนันต์ จันทร์ประสาท "อานิสงส์ยี่เพง-ลอยประทีสโคมไฟ (วันเพ็ญเดือนยี่)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 7890-7892.
(จำนวนผู้เข้าชม 1436 ครั้ง)