ประเพณีการแอ่วสาว ผิดผี และความเชื่อเรื่องผีประจำตระกูล
ประเพณีการแอ่วสาว ผิดผี และความเชื่อเรื่องผีประจำตระกูล
อาณาจักรหลักคำ หรือกฎหมายเมืองน่าน สร้างขึ้นและใช้ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ – ๒๔๕๑เพื่อใช้เป็นกฎหมายเฉพาะของเมืองน่าน และเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับเมืองน่าน
ในด้านความเชื่อชาวน่านนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามความเชื่อในเรื่องผีก็ยังคงอยู่ในวิถีชีวิตอยู่ไม่น้อย เช่น การนับถือผีปู่ย่าตายาย หรือผีบรรพบุรุษ เมื่อบรรพบุรุษเสียชีวิตไปก็เชื่อว่าวิญญาณของท่านเหล่านั้นยังวนเวียน หรือไปสู่สุคติแล้วบางโอกาสยังมาดูแลเป็นที่พึ่งของลูกหลานอยู่ เช่น ผีเรือน ผีปู่ย่า เป็นต้น รวมถึงผีประจำในชุมชนที่มีฐานะเป็นผีเมืองหรือผีอารักษ์ โดยส่วนใหญ่ผีระดับเมืองมักออกนามเป็นเจ้าหลวง ซึ่งในอดีตเป็นเจ้าเมือง ผู้นำ หรือผู้ปกครอง ที่ได้รับความเคารพนับถือ มีวีรกรรมความกล้าหาญ หรือแม้กระทั่งการตายที่ผิดปกติ บางหมู่บ้านยังมี ใจบ้าน เป็นเสาหลักปักกลางหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่คู่กันมากับการตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถให้คุณให้โทษ ต้องเคารพบูชาหรือเซ่นไหว้ตามประเพณีในทุกๆปี
แอ่ว ในภาษาโบราณแปลว่าเกี้ยวสาว ซึ่งระยะหลังนอกจากเป็นคำกริยาที่แปลว่า เที่ยวไป หรือไปหา เพื่อประสงค์ความสนุกหรือสบาย การแอ่วสาวหรือการไป "จีบผู้หญิง" เป็นกิจกรรมที่พวกบ่าวหรือชายหนุ่มจะไปกันในเวลากลางคืน โดยเริ่มเวลาประมาณตั้งแต่ ๒ ทุ่มขึ้นไป การไปนั้นอาจไปคนเดียว ไป ๒ คน หรือไปเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจบรรเลงเครื่องดนตรีไปตามทางด้วยเครื่องดนตรีก็มีสะล้อ ซึ่ง ขลุ่ย ในระหว่างที่เดินทางบ่าวอาจจะช้อย (อ่าน "จ๊อย") หรือขับเพลงไปตามทางด้วย
การแอ่วสาวเป็นการเสนอตัวของฝ่ายชายให้สาวเป็นผู้เลือกคู่ครอง โดยชายจะขอความรักความเห็นใจจากฝ่ายหญิง การอู้สาวก็คือการพูดจาเกี้ยวหญิง เมื่อหญิงใดอยู่นอกก็แสดงว่าพร้อมที่จะเลือกคู่ ในการไปแอ่วสาวซึ่งอยู่ในหมู่บ้านหรือตำบลที่อยู่ห่างไกลพวกหนุ่มจะพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวในระหว่างการเดินทางไปด้วยอาวุธส่วนใหญ่จะเป็นมีดเล็กปลายแหลมที่เรียกว่า มีดซุยหรือไม่ก็เป็นดาบแลว ซึ่งเป็นดาบขนาดกลาง การนำอาวุธติดตัวไปก็เพื่อการป้องกันตัว ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากคนร้ายหรือสัตว์ร้าย ซึ่งเมื่อไปถึงบ้านสาวก่อนจะขึ้นบ้านจะต้องนำอาวุธเหล่านั้นซ่อนไว้ข้างล่าง เช่น ตามโคนไม้ พุ่มหญ้าจะไม่นำขึ้นบ้านสาว เพราะว่าสาวจะไม่ชอบถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติแก่สาว
ในอาณาจักรหลักคำเมื่อแอ่วสาวผู้ชายห้ามพกอาวุธ ปกปิดหน้าตา ดังข้อความที่ว่า
.
...อัน 1 ด้วยคนทังหลายและร้างบ่าวอันเป็นลูกเจ้าหลานนาย ลูกท้าวหลานขุนไพร่ไทยทังหลาย แอ่วค่ำมาคืนก็ดี แอ่วร้างจาสาวตามปเวณีบ้านเมือง อย่าได้ถือสาตราอาวุธและกระทำตัวบ่หื้อหันหน้า หันตาและบ่หื้อรู้จักตัว พ้อยเอาผ้าปกบังเสีย กระทำฉันนี้บ่แม่นปเพณีบ้านเมือง เหตุบ่รู้จักว่าเป็นผู้ร้ายผู้ดี อย่าหื้อได้กระทำเป็นอันขาด คันว่าบุคคลผู้ใดบ่ฟังยังกระทำจับตัวได้ จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตรไว้เฆี่ยน 30 แส้..
การเสียผี
.
เสียผีหรือใส่ผี คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่จัดทำขึ้นเมื่อเกิดการผิดผีขึ้นในครัวเรือน เมื่อทำเรื่องผิดจริยธรรมหรือผิดผี ผิดจารีตประเพณีจึงต้องเซ่นพลีเสียผีตามความผิดที่หนักเบาเพื่อให้ผียกโทษ ทั้งนี้เพราะในเรือนนั้นจะมีผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษของแต่ละตระกูล ผีนี้จะให้คุณให้โทษแก่บุคลคลในเรือน โดยเฉพาะในกรณีที่มีลูกสาวอยู่ในเรือนด้วยนั้นจะต้องระวังไม่ให้มีการผิดผีเกิดขึ้น
การผิดผีในกรณีนี้หมายถึงการที่หญิงสาวถูกชายถูกเนื้อต้องตัวทั้งในที่ลับหรือที่แจ้ง ทั้งโดยความยินยอมหรือไม่ยินยอมของหญิงก็ตาม ทั้งฝ่ายชายล่วงล้ำจนถึงธรณีประตูเรือนนอนของฝ่ายหญิง ชายนั้นจะต้องเสียผีทุกกรณี หรือการเสียเงินค่าผี หรือเลี้ยงผีบรรพบุรุษตามประเพณี
ในกรณีที่ผู้ชายทำผิดผี และฝ่ายหญิงก็พึงพอใจที่จะได้ชายนั้นมาเป็นคู่ครอง หญิงก็จะบอกให้พ่อแม่ของตนไปสัญญาคือบอกกล่าวแก่ผู้ใหญ่ฝ่ายชายให้ไปเสียผีตามธรรมเนียมและจะได้จัดการแต่งงานกันต่อไปการเสียผีในกรณีนี้เรียกว่า ใส่เอา
ส่วนการเสียผีอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า ใส่บ่เอา หรือเสียผีไม่เอา ในกรณีที่บ่าวสาวไม่ปลงใจจะแต่งงานกัน แต่เกิดการผิดผีขึ้นแล้ว ฝ่ายชายจะต้องเสียผี การเสียแบบนี้ต้องเสียเงินมากกว่าการใส่เอาและนับเป็นเรื่องที่น่าอาย สาวที่ถูกชายผิดผีแล้วไม่เอาเป็นเมียนั้นจะถูกนินทา บางคนถูกหนุ่มหลอกผิดผีหลายครั้งจนอายถึงกับต้องย้ายไปอยู่ถิ่นอื่น
เพื่อไม่ให้ฝ่ายชายกระทำผิดประเพณีการลักลอบขึ้นบ้านฝ่ายหญิงแล้วมีการได้เสียกันแต่ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ กฎหมายอาณาจักรหลักคำจึงให้ฝ่ายชายจ่ายเงินให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง ไม่ว่าเป็นหญิงชาวบ้านหรือลูกหลานเจ้านายและห้ามต่อรอง อัตราค่าเสียผีเป็นเงินจำนวนมากหรือน้อยนั้น แล้วแต่ผีของฝ่ายสาวกินไก่หรือหมูหรือควาย ดังนี้
... คันว่าผู้ญิงมานแล้ว พ้อยบ่เอา หื้อแปงค่าเดือนไฟ 72 น้ำผ่ายากต่อเกิ่ง คันออกดีเป็นแล้ว คันออกบ่ดีตาย หื้อเสียค่าเฝ้า 330 น้ำผ่ายากต่อเกิ่ง ในเนื้อความทังหลายฝูงนั้น คันได้ชำระกันเถิงกว้านหื้อขุนกินยากต่อเกิ่ง คันว่าบ่ได้ชำระ หากยอมกันนอก กว้านด้วยดี หื้อเอายากเกิ่งยากด้วยลายแปงผีนั้น คันว่าผีกระกูลกินควายก็ดี ผีกินหมูก็ดี ผีกินไก่ก็ดี หื้อแปงผีกินควายตัวเดียวหื้อเป็นแล้ว คันว่าผีกระกูลกินหมูก็ดี ผีกินไก่ก็ดี หื้อแปงผีกินหมูตัวเดียวเป็นแล้ว...
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #ฮาโลวีน #ผิดผี
เอกสารอ้างอิง
ชฎาพร จีนชาวนา. การวิเคราะห์สังคมเมืองน่านจากกฎหมายอาณาจักรหลักคำ (พ.ศ.2395-2451). ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2549.
ศรีเลา เกษพรหม. "แอ่วสาว (การไปจีบผู้หญิง)ง)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.
อู้สาว (พูดคุยเกี้ยวสาว)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542
อาณาจักรหลักคำ หรือกฎหมายเมืองน่าน สร้างขึ้นและใช้ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ – ๒๔๕๑เพื่อใช้เป็นกฎหมายเฉพาะของเมืองน่าน และเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับเมืองน่าน
ในด้านความเชื่อชาวน่านนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามความเชื่อในเรื่องผีก็ยังคงอยู่ในวิถีชีวิตอยู่ไม่น้อย เช่น การนับถือผีปู่ย่าตายาย หรือผีบรรพบุรุษ เมื่อบรรพบุรุษเสียชีวิตไปก็เชื่อว่าวิญญาณของท่านเหล่านั้นยังวนเวียน หรือไปสู่สุคติแล้วบางโอกาสยังมาดูแลเป็นที่พึ่งของลูกหลานอยู่ เช่น ผีเรือน ผีปู่ย่า เป็นต้น รวมถึงผีประจำในชุมชนที่มีฐานะเป็นผีเมืองหรือผีอารักษ์ โดยส่วนใหญ่ผีระดับเมืองมักออกนามเป็นเจ้าหลวง ซึ่งในอดีตเป็นเจ้าเมือง ผู้นำ หรือผู้ปกครอง ที่ได้รับความเคารพนับถือ มีวีรกรรมความกล้าหาญ หรือแม้กระทั่งการตายที่ผิดปกติ บางหมู่บ้านยังมี ใจบ้าน เป็นเสาหลักปักกลางหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่คู่กันมากับการตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถให้คุณให้โทษ ต้องเคารพบูชาหรือเซ่นไหว้ตามประเพณีในทุกๆปี
แอ่ว ในภาษาโบราณแปลว่าเกี้ยวสาว ซึ่งระยะหลังนอกจากเป็นคำกริยาที่แปลว่า เที่ยวไป หรือไปหา เพื่อประสงค์ความสนุกหรือสบาย การแอ่วสาวหรือการไป "จีบผู้หญิง" เป็นกิจกรรมที่พวกบ่าวหรือชายหนุ่มจะไปกันในเวลากลางคืน โดยเริ่มเวลาประมาณตั้งแต่ ๒ ทุ่มขึ้นไป การไปนั้นอาจไปคนเดียว ไป ๒ คน หรือไปเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจบรรเลงเครื่องดนตรีไปตามทางด้วยเครื่องดนตรีก็มีสะล้อ ซึ่ง ขลุ่ย ในระหว่างที่เดินทางบ่าวอาจจะช้อย (อ่าน "จ๊อย") หรือขับเพลงไปตามทางด้วย
การแอ่วสาวเป็นการเสนอตัวของฝ่ายชายให้สาวเป็นผู้เลือกคู่ครอง โดยชายจะขอความรักความเห็นใจจากฝ่ายหญิง การอู้สาวก็คือการพูดจาเกี้ยวหญิง เมื่อหญิงใดอยู่นอกก็แสดงว่าพร้อมที่จะเลือกคู่ ในการไปแอ่วสาวซึ่งอยู่ในหมู่บ้านหรือตำบลที่อยู่ห่างไกลพวกหนุ่มจะพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวในระหว่างการเดินทางไปด้วยอาวุธส่วนใหญ่จะเป็นมีดเล็กปลายแหลมที่เรียกว่า มีดซุยหรือไม่ก็เป็นดาบแลว ซึ่งเป็นดาบขนาดกลาง การนำอาวุธติดตัวไปก็เพื่อการป้องกันตัว ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากคนร้ายหรือสัตว์ร้าย ซึ่งเมื่อไปถึงบ้านสาวก่อนจะขึ้นบ้านจะต้องนำอาวุธเหล่านั้นซ่อนไว้ข้างล่าง เช่น ตามโคนไม้ พุ่มหญ้าจะไม่นำขึ้นบ้านสาว เพราะว่าสาวจะไม่ชอบถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติแก่สาว
ในอาณาจักรหลักคำเมื่อแอ่วสาวผู้ชายห้ามพกอาวุธ ปกปิดหน้าตา ดังข้อความที่ว่า
.
...อัน 1 ด้วยคนทังหลายและร้างบ่าวอันเป็นลูกเจ้าหลานนาย ลูกท้าวหลานขุนไพร่ไทยทังหลาย แอ่วค่ำมาคืนก็ดี แอ่วร้างจาสาวตามปเวณีบ้านเมือง อย่าได้ถือสาตราอาวุธและกระทำตัวบ่หื้อหันหน้า หันตาและบ่หื้อรู้จักตัว พ้อยเอาผ้าปกบังเสีย กระทำฉันนี้บ่แม่นปเพณีบ้านเมือง เหตุบ่รู้จักว่าเป็นผู้ร้ายผู้ดี อย่าหื้อได้กระทำเป็นอันขาด คันว่าบุคคลผู้ใดบ่ฟังยังกระทำจับตัวได้ จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตรไว้เฆี่ยน 30 แส้..
การเสียผี
.
เสียผีหรือใส่ผี คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่จัดทำขึ้นเมื่อเกิดการผิดผีขึ้นในครัวเรือน เมื่อทำเรื่องผิดจริยธรรมหรือผิดผี ผิดจารีตประเพณีจึงต้องเซ่นพลีเสียผีตามความผิดที่หนักเบาเพื่อให้ผียกโทษ ทั้งนี้เพราะในเรือนนั้นจะมีผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษของแต่ละตระกูล ผีนี้จะให้คุณให้โทษแก่บุคลคลในเรือน โดยเฉพาะในกรณีที่มีลูกสาวอยู่ในเรือนด้วยนั้นจะต้องระวังไม่ให้มีการผิดผีเกิดขึ้น
การผิดผีในกรณีนี้หมายถึงการที่หญิงสาวถูกชายถูกเนื้อต้องตัวทั้งในที่ลับหรือที่แจ้ง ทั้งโดยความยินยอมหรือไม่ยินยอมของหญิงก็ตาม ทั้งฝ่ายชายล่วงล้ำจนถึงธรณีประตูเรือนนอนของฝ่ายหญิง ชายนั้นจะต้องเสียผีทุกกรณี หรือการเสียเงินค่าผี หรือเลี้ยงผีบรรพบุรุษตามประเพณี
ในกรณีที่ผู้ชายทำผิดผี และฝ่ายหญิงก็พึงพอใจที่จะได้ชายนั้นมาเป็นคู่ครอง หญิงก็จะบอกให้พ่อแม่ของตนไปสัญญาคือบอกกล่าวแก่ผู้ใหญ่ฝ่ายชายให้ไปเสียผีตามธรรมเนียมและจะได้จัดการแต่งงานกันต่อไปการเสียผีในกรณีนี้เรียกว่า ใส่เอา
ส่วนการเสียผีอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า ใส่บ่เอา หรือเสียผีไม่เอา ในกรณีที่บ่าวสาวไม่ปลงใจจะแต่งงานกัน แต่เกิดการผิดผีขึ้นแล้ว ฝ่ายชายจะต้องเสียผี การเสียแบบนี้ต้องเสียเงินมากกว่าการใส่เอาและนับเป็นเรื่องที่น่าอาย สาวที่ถูกชายผิดผีแล้วไม่เอาเป็นเมียนั้นจะถูกนินทา บางคนถูกหนุ่มหลอกผิดผีหลายครั้งจนอายถึงกับต้องย้ายไปอยู่ถิ่นอื่น
เพื่อไม่ให้ฝ่ายชายกระทำผิดประเพณีการลักลอบขึ้นบ้านฝ่ายหญิงแล้วมีการได้เสียกันแต่ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ กฎหมายอาณาจักรหลักคำจึงให้ฝ่ายชายจ่ายเงินให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง ไม่ว่าเป็นหญิงชาวบ้านหรือลูกหลานเจ้านายและห้ามต่อรอง อัตราค่าเสียผีเป็นเงินจำนวนมากหรือน้อยนั้น แล้วแต่ผีของฝ่ายสาวกินไก่หรือหมูหรือควาย ดังนี้
... คันว่าผู้ญิงมานแล้ว พ้อยบ่เอา หื้อแปงค่าเดือนไฟ 72 น้ำผ่ายากต่อเกิ่ง คันออกดีเป็นแล้ว คันออกบ่ดีตาย หื้อเสียค่าเฝ้า 330 น้ำผ่ายากต่อเกิ่ง ในเนื้อความทังหลายฝูงนั้น คันได้ชำระกันเถิงกว้านหื้อขุนกินยากต่อเกิ่ง คันว่าบ่ได้ชำระ หากยอมกันนอก กว้านด้วยดี หื้อเอายากเกิ่งยากด้วยลายแปงผีนั้น คันว่าผีกระกูลกินควายก็ดี ผีกินหมูก็ดี ผีกินไก่ก็ดี หื้อแปงผีกินควายตัวเดียวหื้อเป็นแล้ว คันว่าผีกระกูลกินหมูก็ดี ผีกินไก่ก็ดี หื้อแปงผีกินหมูตัวเดียวเป็นแล้ว...
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #ฮาโลวีน #ผิดผี
เอกสารอ้างอิง
ชฎาพร จีนชาวนา. การวิเคราะห์สังคมเมืองน่านจากกฎหมายอาณาจักรหลักคำ (พ.ศ.2395-2451). ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2549.
ศรีเลา เกษพรหม. "แอ่วสาว (การไปจีบผู้หญิง)ง)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.
อู้สาว (พูดคุยเกี้ยวสาว)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542
(จำนวนผู้เข้าชม 17435 ครั้ง)