วันเนา
วันเนา
---วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังขานต์ล่อง ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่าวันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ แม้จะเข้าสู่ราศีเมษบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สถิตเต็มราศีจึงเป็นระยะที่ยัง "เนา" ไว้ก่อน แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก "วันเน่า" ซึ่งโดยชื่อนี้ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่าและหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ "เน่า" และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว
---วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพระญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด ปกติทรายที่นำเข้าวัดนั้นมักกองรวมกันทำเป็นเจดีย์ซึ่งบางครั้งจะมีกระบะไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับกั้นขอบทรายเพื่อให้สามารถกองต่อเนื่องกันสูงขึ้นไปเป็นรูปเจดีย์ การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ดิดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด ทั้งนี้วันที่กำหนดไว้สำหรับขนทรายเข้าวัดอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เป็นต้น นิยมขนทรายในวันเนาแต่ที่จังหวัดน่านนิยมขนทรายในวันพระญาวัน และบางแห่งก็นิยมขนทรายในวันสังกรานต์ล่องด้วย แต่เท่าที่นิยมกันมากที่สุดนั้นคือขนทรายเข้าวัดในวันเนา
---ในขณะที่มีการสร้างเจดีย์ทรายที่วัดนั้น ทางบ้านก็จะจัดเตรียมตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำ ทุง หรือธงอย่างธงตะขาบหรืออาจจะทำช่อซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมบ้างก็ได้ คันทุงมักทำด้วยก้านของต้นเขือง ชาวบ้านจะนำทุงที่ตัดเป็นลวดลายจำนวนหลายตัวมาแขวนไว้กับก้านเขืองเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันพระญาวัน
---วันเนา นี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ดา หรือจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ทั้งข้าวของรวมไปถึงอาหารขนทรายเข้าวัดใน วันเนาและขนมที่จะใช้ทำบุญและใช้บริโภคในวันพระญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้มีหลายชนิด เช่น เข้าหนมจ็อก คือขนมใส่ไส้อย่างขนมเทียน เข้าหนมปาดหรือศิลาอ่อนคือขนมอย่างขนมถาดของภาคกลาง เข้าวิทู คือข้าวเหนียวแดงเข้าแดนคือขนมนางเล็ด เข้าแตบ คือข้าวเกรียบซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือ เข้าตวบ คือข้าวเกรียบว่าว เข้าพอง คือขนมอย่างข้าวพองของภาคกลาง เข้าหนมตายลืม คือข้าวเหนียวคนกับกะทิและใส่น้ำอ้อยแล้วนึ่งแต่ไม่ให้สุกดีนัก เข้าต้มหัวหงอก คือข้าวต้มมัดที่โรยด้วยฝอยมะพร้าวขูด เข้าหนมวงคือขนมกง เข้าหนมเกลือ คือขนมเกลือ แต่ทั้งนี้ ขนมที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ เข้าหนมจ๊อก
ที่มา
"ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
---วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังขานต์ล่อง ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่าวันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ แม้จะเข้าสู่ราศีเมษบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สถิตเต็มราศีจึงเป็นระยะที่ยัง "เนา" ไว้ก่อน แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก "วันเน่า" ซึ่งโดยชื่อนี้ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่าและหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ "เน่า" และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว
---วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพระญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด ปกติทรายที่นำเข้าวัดนั้นมักกองรวมกันทำเป็นเจดีย์ซึ่งบางครั้งจะมีกระบะไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับกั้นขอบทรายเพื่อให้สามารถกองต่อเนื่องกันสูงขึ้นไปเป็นรูปเจดีย์ การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ดิดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด ทั้งนี้วันที่กำหนดไว้สำหรับขนทรายเข้าวัดอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เป็นต้น นิยมขนทรายในวันเนาแต่ที่จังหวัดน่านนิยมขนทรายในวันพระญาวัน และบางแห่งก็นิยมขนทรายในวันสังกรานต์ล่องด้วย แต่เท่าที่นิยมกันมากที่สุดนั้นคือขนทรายเข้าวัดในวันเนา
---ในขณะที่มีการสร้างเจดีย์ทรายที่วัดนั้น ทางบ้านก็จะจัดเตรียมตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำ ทุง หรือธงอย่างธงตะขาบหรืออาจจะทำช่อซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมบ้างก็ได้ คันทุงมักทำด้วยก้านของต้นเขือง ชาวบ้านจะนำทุงที่ตัดเป็นลวดลายจำนวนหลายตัวมาแขวนไว้กับก้านเขืองเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันพระญาวัน
---วันเนา นี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ดา หรือจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ทั้งข้าวของรวมไปถึงอาหารขนทรายเข้าวัดใน วันเนาและขนมที่จะใช้ทำบุญและใช้บริโภคในวันพระญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้มีหลายชนิด เช่น เข้าหนมจ็อก คือขนมใส่ไส้อย่างขนมเทียน เข้าหนมปาดหรือศิลาอ่อนคือขนมอย่างขนมถาดของภาคกลาง เข้าวิทู คือข้าวเหนียวแดงเข้าแดนคือขนมนางเล็ด เข้าแตบ คือข้าวเกรียบซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือ เข้าตวบ คือข้าวเกรียบว่าว เข้าพอง คือขนมอย่างข้าวพองของภาคกลาง เข้าหนมตายลืม คือข้าวเหนียวคนกับกะทิและใส่น้ำอ้อยแล้วนึ่งแต่ไม่ให้สุกดีนัก เข้าต้มหัวหงอก คือข้าวต้มมัดที่โรยด้วยฝอยมะพร้าวขูด เข้าหนมวงคือขนมกง เข้าหนมเกลือ คือขนมเกลือ แต่ทั้งนี้ ขนมที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ เข้าหนมจ๊อก
ที่มา
"ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
(จำนวนผู้เข้าชม 2037 ครั้ง)