วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๒๔ กุมภาพันธ์
"วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
และ "วันศิลปินแห่งชาติ"
"ช้างเผือก จากเมืองน่านในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒"
ในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ ได้นำช้างเผือกถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยในพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า
• เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๘ ...ในศักราชเดียวกันนั้นหมอคล้องช้างชื่อน้อยคันธาไปคล้องช้างก็ได้ช้างเผือกพลาย ๑ ตัวสูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว งายาว ๑ คืบ ๓ นิ้วที่ในแขวงเมืองงิม นำเข้ามาเถิงตำหนักท่านขี่เล่น ๑๕๐
• ในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายท้าวขุนทั้งหลายออกไปต้อนรับเอาพระยาช้างเผือกในวันนั้น เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำเม็งวันอังคารนั้น ท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาแห่เอาพระยาช้างเผือกมาสู่เวียง ในยามแถจักใกล้สู่เที่ยงวันท่านก็มีหื้อระวังรักษาอบรมกันเฝ้าไว้ตำหนักหลวงข่วงสนามหั้นก่อนแล
ในศักราชเดียวนี้เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายลูกหลานแลพระยาหัวเมืองเชียงของ เชียงแขงภูคาเมืองหลวง กุมเอาพระยาช้างเผือกลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าปราสาททอง ในกรุงเทพมหานครวันนั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีความยินดี แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลหื้อแก่เจ้าหลวงสุมนเทวราช มีเงินใต้ ๒ ชั่งแลสรรพสิ่งของทั้งหลายมวลเปนอันมากหั้นแล ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจการทั้งหลายแล้ว ท่านก็กราบทูลลาขึ้นมาหั้นแล ท่านขึ้นมาเถิงเมืองพิไชยหั้นแล ในกาลเมื่อลุนหลังท่านเอาช้างเผือกลงไปเมืองใต้นั้น หมอคล้องช้างก็ซ้ำได้ช้างแดงแถมตัว ๑ ก็เอามาสู่เวียงในศักราชได้ ๑๑๘๙ ตัว ปีเมิงเป๋า เดือน ๙ ปฐมขึ้น ๑๓ ค่ำหั้นแล เถิงเดือน ๙ ทุติยะขึ้น ๑๑ ค่ำเจ้าพระยารัตนะหัวเมืองแก้วแลเจ้าราชวงษ์คุมเอาช้างแดงลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็สรรเสริญยกยอยังบุญคุณเจ้าหลวงมากนักหั้นแล อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองในเดือน ๑๐ ลง ๔ ค่ำหั้นแล ครั้นว่าท่านขึ้นมาเถิงเมืองแล้ว ท่านก็มีอาชญาแก่ท้าวพระยาเสนาอามาตย์หื้อแปงหอเทวดาไว้ที่ป่าแดดเมืองงิมที่ได้ช้างเผือกนั้นให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย ว่าอย่าหื้อคนทั้งหลายได้ทำปาณาติบาตแก่สัตว์ทั้งหลายในแขวงป่าที่นั้นหั้นแล..."
.
ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ กล่าวว่า
.
ปีฉลูนพศก จุล ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๔๖๐ เมื่อณวันพุฒเดือน ๑ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ หมอควานเที่ยวโพนช้างในแขวงเมืองน่าน คล้องช้างพลายเผือกเอกช้าง ๑ วัดได้สูง ๓ ศอก ๒ นิ้ว พระยาน่านฝึกหัดเชื่องราบดีแล้ว พาช้างนั้นลงมาถวาย ถึงกรุงเทพฯ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีฉลูนพศก เสด็จไปรับแลมีการแห่สมโภชเหมือนช้างเผือก ๒ ช้าง ที่ได้มาแต่ก่อน พระราชทานชื่อขึ้นรวาง เปนพระยาเสวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์ สุรารักษรังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุทธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่ พระยาน่านเปนอันมาก แต่มิได้เลื่อนยศขึ้น เพราะเหตุว่าผู้ครองเมืองน่านในครั้งนั้น เปนตระกูลเจ้ามาแต่ก่อน ใช้นามในพื้นเมืองว่าเจ้าฟ้าเมืองน่านเหมือนอย่างเจ้าเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ไม่ใช่เปนตระกูลซึ่งตั้งเปนเจ้าขึ้นใหม่เหมือนเจ้า ๗ ตน เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน
ที่ได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้างในรัชกาลเดียวกัน ยังไม่ปรากฎว่าเคยมีมาแต่ก่อน ทั้งในสยามประเทศตลอดจนเมืองพม่าแลเมืองรามัญในเวลาเมื่อเปนอิศร ในครั้งกรุงเก่า เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ปรากฎว่ามีช้างเผือก ๗ ช้างจริงอยู่ แต่จะเปนเผือกเอกกี่ช้างก็ไม่ปรากฎ ประเพณีที่ถือกันในประเทศไทย, มอญ, พม่า มีเหมือนกันมาแต่โบราณ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใด ได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมี ถือว่าเปนมิ่งมงคลเพิ่มภูลพระเกียรติยศ ถึงถวายพระนามพิเศษแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ว่าพระเจ้าช้างเผือก เจ้าแผ่นดินพม่าได้มีพระนามพิเศษเรียกในพงษาวดารว่าพระเจ้าช้างเผือกลงมาจนพระเจ้ามังระที่มาตีกรุงเก่าคราวหลัง ด้วยประเพณีมีมาแต่โบราณอย่างนี้ เมื่อได้พระยาช้างเผือกถึง ๓ ช้างในรัชกาลที่ ๒ จึงบังเกิดความชื่นชมยินดีในพระบารมีเปนอันมาก ได้ถวายพระนามตามโบราณราชประเพณีว่า พระเจ้าช้างเผือก แลในเวลานั้นโรงช้างเผือกในพระราชวังไม่พอกัน ทรงพระราชดำริห์ว่า เมื่อครั้งกรุงเก่าทำโรงช้างเผือกไว้ระหว่างพระที่นั่งวิหารสมเด็จกับพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ๒ โรง ระหว่างพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทกับพระที่นั่งสุริยามรินทร ๒ โรง ควรจะสร้างโรงช้างเผือกไว้ในพระราชวัง อย่างเดียวกับเมื่อครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สร้างโรงช้างเผือกเปนโรงช่อฟ้าขึ้นตรงที่ในระหว่างประตูสนามราชกิจกับประตูพรหมโสภา ๔ โรง ๆ ต้นทางตวันออกไว้พระเทพกุญชร ซึ่งเปนช้างพังเผือกเอกได้ในรัชกาลที่ ๑ โรงที่ ๒ ไว้พระยาเสวตรกุญชร โรงที่ ๓ ไว้พระยาเสวตรไอยรา โรงที่ ๔ ไว้พระยาเสวตรคชลักษณ์
.
พระยาเศวตคชลักษณ์ เป็นพระยาช้างที่ได้ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นช้างพลายลูกเถื่อนเผือกเอก คล้องได้ที่ป่าแขวงเมืองน่าน พระยาน่านนำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวาย โปรดเกล้า ฯ ให้สมโภชขึ้นระวาง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๖๐ พระราชทานนามว่า พระยาเศวตคชลักษณ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงศ์จตุรภักตร์ สุรารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า
.
พระยาเศวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิ์สมบูรณ์ เกิดตระกูลสรรพสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศรราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร สุธารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑลมิ่งมงคลเลิศฟ้า(ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกรูปงาม หู หาง คา ชน และเล็บ สี ขาว แต่ที่ตัวช้างเป็นเจือสีเหลือง สูง ๓ ศอก
.
พระยาเศวตคชลักษณ์ มีชีพอยู่ต่อมาจนล้มเมื่อวันศุกร เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๘๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๗
.
ธงช้างเผือก
.
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือกำปั่นของหลวงขึ้น ๒ ลำ สำหรับรัฐบาลทำการค้าแล่นไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสิงคโปร์และมาเก๊า เรือทั้งสองลำชักธงแดงตามที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม อังกฤษเจ้าเมืองสิงคโปร์ได้บอกให้นายเรือเข้ามากราบทูลว่า เรือเดินทะเลของพวกชาวมลายูที่ไปค้าขายที่สิงคโปร์ก็ชักธงแดงเหมือนกัน จึงขอให้พระเจ้ากรุงสยาม ใช้ธงอย่างอื่นเสียเพื่อจะได้กัดการเรือหลวงได้สะดวก
.
ซึ่งในสมัยของพระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้าง คือพระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ นับเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างสีขาวอยู่ภายในวงจักรกรีขาวติดไว้กลางธงแดง อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ธงช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่เรือหลวงเท่านั้น เรือพ่อค้ายังคงใช้ธงแดงตามเดิม
.
อนุสาวรีย์ช้างเผือกคู่บารมี
.
พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงหล่อพระยาช้างเผือกที่ได้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มาจนถึงแผ่นดินรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งได้ทรงกำหนดไว้ ๑๙ ช้าง เพื่อถวายบูชาพระแก้วมรกตนั้น ต่อมาได้โปรดให้ให้ช่างหล่อด้วยโลหะสำริด ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บริเวณชานด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อยู่บริเวณฐานบุษบกรอบพระมณฑป ในบริเวณเดียวกันกับพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาล ช้างยืนแท่นหล่อด้วยโลหะรมดำต่อมาในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือกคู่บารมีเพิ่มจนมีจำนวนครบถึงรัชกาลที่ ๙
.
งาพญาเสวตคชลักษณ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องงาช้าง หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เอกสารอ้างอิง
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๔๑ เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ปีเถาะ-จุลศักราช-๑๒๔๑/ภาคผนวก
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑o เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. ๒๔๖๑ เข้าถึงได้โดย https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่_10
พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒. โรงพิมพ์ไทย ณสพานยศเส. ๒๔๕๙. เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/พระราชพงษาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร-รัชกาลที่-๒/๔๗-ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์-ช้างเผือกเมืองน่าน
ภาพประกอบโดย ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ เข้าถึงได้โดย https://www.facebook.com/pumpongpaet/posts/674987072669807
"วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
และ "วันศิลปินแห่งชาติ"
"ช้างเผือก จากเมืองน่านในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒"
ในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ ได้นำช้างเผือกถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยในพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า
• เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๘ ...ในศักราชเดียวกันนั้นหมอคล้องช้างชื่อน้อยคันธาไปคล้องช้างก็ได้ช้างเผือกพลาย ๑ ตัวสูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว งายาว ๑ คืบ ๓ นิ้วที่ในแขวงเมืองงิม นำเข้ามาเถิงตำหนักท่านขี่เล่น ๑๕๐
• ในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายท้าวขุนทั้งหลายออกไปต้อนรับเอาพระยาช้างเผือกในวันนั้น เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำเม็งวันอังคารนั้น ท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาแห่เอาพระยาช้างเผือกมาสู่เวียง ในยามแถจักใกล้สู่เที่ยงวันท่านก็มีหื้อระวังรักษาอบรมกันเฝ้าไว้ตำหนักหลวงข่วงสนามหั้นก่อนแล
ในศักราชเดียวนี้เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายลูกหลานแลพระยาหัวเมืองเชียงของ เชียงแขงภูคาเมืองหลวง กุมเอาพระยาช้างเผือกลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าปราสาททอง ในกรุงเทพมหานครวันนั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีความยินดี แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลหื้อแก่เจ้าหลวงสุมนเทวราช มีเงินใต้ ๒ ชั่งแลสรรพสิ่งของทั้งหลายมวลเปนอันมากหั้นแล ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจการทั้งหลายแล้ว ท่านก็กราบทูลลาขึ้นมาหั้นแล ท่านขึ้นมาเถิงเมืองพิไชยหั้นแล ในกาลเมื่อลุนหลังท่านเอาช้างเผือกลงไปเมืองใต้นั้น หมอคล้องช้างก็ซ้ำได้ช้างแดงแถมตัว ๑ ก็เอามาสู่เวียงในศักราชได้ ๑๑๘๙ ตัว ปีเมิงเป๋า เดือน ๙ ปฐมขึ้น ๑๓ ค่ำหั้นแล เถิงเดือน ๙ ทุติยะขึ้น ๑๑ ค่ำเจ้าพระยารัตนะหัวเมืองแก้วแลเจ้าราชวงษ์คุมเอาช้างแดงลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็สรรเสริญยกยอยังบุญคุณเจ้าหลวงมากนักหั้นแล อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองในเดือน ๑๐ ลง ๔ ค่ำหั้นแล ครั้นว่าท่านขึ้นมาเถิงเมืองแล้ว ท่านก็มีอาชญาแก่ท้าวพระยาเสนาอามาตย์หื้อแปงหอเทวดาไว้ที่ป่าแดดเมืองงิมที่ได้ช้างเผือกนั้นให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย ว่าอย่าหื้อคนทั้งหลายได้ทำปาณาติบาตแก่สัตว์ทั้งหลายในแขวงป่าที่นั้นหั้นแล..."
.
ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ กล่าวว่า
.
ปีฉลูนพศก จุล ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๔๖๐ เมื่อณวันพุฒเดือน ๑ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ หมอควานเที่ยวโพนช้างในแขวงเมืองน่าน คล้องช้างพลายเผือกเอกช้าง ๑ วัดได้สูง ๓ ศอก ๒ นิ้ว พระยาน่านฝึกหัดเชื่องราบดีแล้ว พาช้างนั้นลงมาถวาย ถึงกรุงเทพฯ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีฉลูนพศก เสด็จไปรับแลมีการแห่สมโภชเหมือนช้างเผือก ๒ ช้าง ที่ได้มาแต่ก่อน พระราชทานชื่อขึ้นรวาง เปนพระยาเสวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์ สุรารักษรังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุทธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่ พระยาน่านเปนอันมาก แต่มิได้เลื่อนยศขึ้น เพราะเหตุว่าผู้ครองเมืองน่านในครั้งนั้น เปนตระกูลเจ้ามาแต่ก่อน ใช้นามในพื้นเมืองว่าเจ้าฟ้าเมืองน่านเหมือนอย่างเจ้าเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ไม่ใช่เปนตระกูลซึ่งตั้งเปนเจ้าขึ้นใหม่เหมือนเจ้า ๗ ตน เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน
ที่ได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้างในรัชกาลเดียวกัน ยังไม่ปรากฎว่าเคยมีมาแต่ก่อน ทั้งในสยามประเทศตลอดจนเมืองพม่าแลเมืองรามัญในเวลาเมื่อเปนอิศร ในครั้งกรุงเก่า เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ปรากฎว่ามีช้างเผือก ๗ ช้างจริงอยู่ แต่จะเปนเผือกเอกกี่ช้างก็ไม่ปรากฎ ประเพณีที่ถือกันในประเทศไทย, มอญ, พม่า มีเหมือนกันมาแต่โบราณ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใด ได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมี ถือว่าเปนมิ่งมงคลเพิ่มภูลพระเกียรติยศ ถึงถวายพระนามพิเศษแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ว่าพระเจ้าช้างเผือก เจ้าแผ่นดินพม่าได้มีพระนามพิเศษเรียกในพงษาวดารว่าพระเจ้าช้างเผือกลงมาจนพระเจ้ามังระที่มาตีกรุงเก่าคราวหลัง ด้วยประเพณีมีมาแต่โบราณอย่างนี้ เมื่อได้พระยาช้างเผือกถึง ๓ ช้างในรัชกาลที่ ๒ จึงบังเกิดความชื่นชมยินดีในพระบารมีเปนอันมาก ได้ถวายพระนามตามโบราณราชประเพณีว่า พระเจ้าช้างเผือก แลในเวลานั้นโรงช้างเผือกในพระราชวังไม่พอกัน ทรงพระราชดำริห์ว่า เมื่อครั้งกรุงเก่าทำโรงช้างเผือกไว้ระหว่างพระที่นั่งวิหารสมเด็จกับพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ๒ โรง ระหว่างพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทกับพระที่นั่งสุริยามรินทร ๒ โรง ควรจะสร้างโรงช้างเผือกไว้ในพระราชวัง อย่างเดียวกับเมื่อครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สร้างโรงช้างเผือกเปนโรงช่อฟ้าขึ้นตรงที่ในระหว่างประตูสนามราชกิจกับประตูพรหมโสภา ๔ โรง ๆ ต้นทางตวันออกไว้พระเทพกุญชร ซึ่งเปนช้างพังเผือกเอกได้ในรัชกาลที่ ๑ โรงที่ ๒ ไว้พระยาเสวตรกุญชร โรงที่ ๓ ไว้พระยาเสวตรไอยรา โรงที่ ๔ ไว้พระยาเสวตรคชลักษณ์
.
พระยาเศวตคชลักษณ์ เป็นพระยาช้างที่ได้ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นช้างพลายลูกเถื่อนเผือกเอก คล้องได้ที่ป่าแขวงเมืองน่าน พระยาน่านนำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวาย โปรดเกล้า ฯ ให้สมโภชขึ้นระวาง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๖๐ พระราชทานนามว่า พระยาเศวตคชลักษณ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงศ์จตุรภักตร์ สุรารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า
.
พระยาเศวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิ์สมบูรณ์ เกิดตระกูลสรรพสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศรราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร สุธารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑลมิ่งมงคลเลิศฟ้า(ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกรูปงาม หู หาง คา ชน และเล็บ สี ขาว แต่ที่ตัวช้างเป็นเจือสีเหลือง สูง ๓ ศอก
.
พระยาเศวตคชลักษณ์ มีชีพอยู่ต่อมาจนล้มเมื่อวันศุกร เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๘๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๗
.
ธงช้างเผือก
.
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือกำปั่นของหลวงขึ้น ๒ ลำ สำหรับรัฐบาลทำการค้าแล่นไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสิงคโปร์และมาเก๊า เรือทั้งสองลำชักธงแดงตามที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม อังกฤษเจ้าเมืองสิงคโปร์ได้บอกให้นายเรือเข้ามากราบทูลว่า เรือเดินทะเลของพวกชาวมลายูที่ไปค้าขายที่สิงคโปร์ก็ชักธงแดงเหมือนกัน จึงขอให้พระเจ้ากรุงสยาม ใช้ธงอย่างอื่นเสียเพื่อจะได้กัดการเรือหลวงได้สะดวก
.
ซึ่งในสมัยของพระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้าง คือพระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ นับเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างสีขาวอยู่ภายในวงจักรกรีขาวติดไว้กลางธงแดง อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ธงช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่เรือหลวงเท่านั้น เรือพ่อค้ายังคงใช้ธงแดงตามเดิม
.
อนุสาวรีย์ช้างเผือกคู่บารมี
.
พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงหล่อพระยาช้างเผือกที่ได้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มาจนถึงแผ่นดินรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งได้ทรงกำหนดไว้ ๑๙ ช้าง เพื่อถวายบูชาพระแก้วมรกตนั้น ต่อมาได้โปรดให้ให้ช่างหล่อด้วยโลหะสำริด ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บริเวณชานด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อยู่บริเวณฐานบุษบกรอบพระมณฑป ในบริเวณเดียวกันกับพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาล ช้างยืนแท่นหล่อด้วยโลหะรมดำต่อมาในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือกคู่บารมีเพิ่มจนมีจำนวนครบถึงรัชกาลที่ ๙
.
งาพญาเสวตคชลักษณ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องงาช้าง หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เอกสารอ้างอิง
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๔๑ เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ปีเถาะ-จุลศักราช-๑๒๔๑/ภาคผนวก
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑o เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. ๒๔๖๑ เข้าถึงได้โดย https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่_10
พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒. โรงพิมพ์ไทย ณสพานยศเส. ๒๔๕๙. เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/พระราชพงษาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร-รัชกาลที่-๒/๔๗-ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์-ช้างเผือกเมืองน่าน
ภาพประกอบโดย ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ เข้าถึงได้โดย https://www.facebook.com/pumpongpaet/posts/674987072669807
(จำนวนผู้เข้าชม 827 ครั้ง)