วิหารจำลองวัดนาซาว
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
เรื่อง วิหารจำลองวัดนาซาว
--- วิหารจำลองวัดนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน... วิหารจำลอง หมายถึง การจำลองรูปแบบอาคารจากโบสถ์ หรือวิหาร ตามคติการอุทิศถวายตัวอาคารเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยใช้รูปจำลองแทนตัวอาคารจริง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาลดหลั่นซ้อนกัน มุงด้วยแป้นเกล็ด ติดช่อฟ้า หางหงส์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปเศียรนาค และตกแต่งลวดลายตามส่วนสำคัญของตัวอาคาร เช่น หน้าบัน ซุ้มประตู บานหน้าต่าง เป็นต้น
--- วิหารจำลองวัดนาซาว เป็นวิหารจำลองไม้ลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีลักษณะโครงสร้างวิหารแบบขื่อม้าต่างไหม แผนผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง ๕๓ เซนติเมตร ยาว ๘๙ เซนติเมตร สูง ๑๐๓ เซนติเมตร หลังคาวิหารมีการซ้อนชั้นหลังคา ๒ ตับ มีการลดชั้นสันหลังคาลงทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๑ ช่วง กำหนดอายุสมัยจากจารึก สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ หรือพุทธศักราช ๒๔๔๐ ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
--- มีจารึกด้านสกัดหลังวิหารจำลองวัดนาซาว (ด้านนอก) ในกรอบสี่เหลี่ยมลงรักปิดทองขนาดกว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร สูง ๒๑.๘ เซนติเมตร จำนวน ๒๓ บรรทัด จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย ระบุจุลศักราช ๑๒๒๙ (พุทธศักราช ๒๔๑๐) ความในจารึกได้กล่าวถึงปีที่สร้าง ผู้สร้าง และการสร้างพระพุทธรูปไม้ภายในวิหาร ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆในการสร้าง และคำผาถนา หรือความปรารถนาของผู้สร้าง "ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นยอดแท้ดีหลีจิงแก่ข้าทั้งหลายแด่เทอะ นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ"
--- พระพุทธรูปไม้ที่สร้างประดิษฐานไว้ภายในวิหารจำลอง มีจารึกระบุจุลศักราช ๑๒๒๘ (พุทธศักราช ๒๔๐๙) เป็นพระพุทธรูปไม้ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๓.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๗ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๒.๕ เซนติเมตร ลักษณะมีพระรัศมีทรงกรวยรองรับด้วยอุษณีษะ พระเกศาเป็นตาราง มีไรพระศก พระพักตร์กลมแป้น พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้ม พระกรรณกาง ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เหนือฐานหน้ากระดานเรียบในผังครึ่งวงกลม สภาพชำรุดแตกหักบริเวณส่วนด้านหน้าของฐานพระพุทธรูป
--- ส่วนฐานของพระพุทธรูป มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๗ บรรทัด ความว่า ... “ศัก ๑๒๒๘ ตัว ปีรวา(ย)ยี โหราขึ้น ๑๑ ค่ำ เม็ง
๓ ไทยเมิงเหม้า ยามคัน …….. ภิกขุเกิดอายุได้ ๓๙ ศักได้ ๑๒๖๖ ตัว ………………... เพ็ง เม็ง.....ได้บวชพุทธรูปไม้คำเป็น …………...(ขอเอา)สุข ๓ ประการ มีนิพพาน (เป็นยอดแท้ดีหลี) นิพฺพาน ปจฺจโย โหนฺตุ เม นิจฺจํ เจ้ามี ๑๒๖๖ เดือน (๖) เพ็ง เม็งวัน…………………สี่ เดือน ๖”
--- วัดนาซาว ตั้งอยู่ที่บ้านนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ โดยพ่อเจ้าหลวงและพ่อแสนกามวิสถาน ทั้งสองท่านได้พาครอบครัวและบริวารจากเชียงแสนมาตั้งบ้านเรือนจนนับผู้คนมากขึ้นนับได้ ๒๐ หลังคาเรือน ซึ่งจำนวนดังกล่าว ภาษาถิ่นพูดว่า “ซาว” จึงช่วยกันบริจาคทรัพย์และแรงงานสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาให้ชื่อว่า วัดนาซาว เป็นวัดแรกของชุมชน
เอกสารอ้างอิง
- ทนงศักดิ์ ชัยเรืองฤทธิ์. ประวัติวัดในพื้นที่จังหวัดน่าน (รวบรวมจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๘). น่าน: สำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน,มปท. (เอกสารอัดสำเนา)
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๕๒.
- ไพลิน ทองธรรมชาติ. วิหารล้านนา มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม. เชียงใหม่: เจริญวัฒน์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
- รศ.ดร. วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์. ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๕.
- สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. ศัพทานุกรม โบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๐.
เรื่อง วิหารจำลองวัดนาซาว
--- วิหารจำลองวัดนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน... วิหารจำลอง หมายถึง การจำลองรูปแบบอาคารจากโบสถ์ หรือวิหาร ตามคติการอุทิศถวายตัวอาคารเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยใช้รูปจำลองแทนตัวอาคารจริง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาลดหลั่นซ้อนกัน มุงด้วยแป้นเกล็ด ติดช่อฟ้า หางหงส์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปเศียรนาค และตกแต่งลวดลายตามส่วนสำคัญของตัวอาคาร เช่น หน้าบัน ซุ้มประตู บานหน้าต่าง เป็นต้น
--- วิหารจำลองวัดนาซาว เป็นวิหารจำลองไม้ลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีลักษณะโครงสร้างวิหารแบบขื่อม้าต่างไหม แผนผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง ๕๓ เซนติเมตร ยาว ๘๙ เซนติเมตร สูง ๑๐๓ เซนติเมตร หลังคาวิหารมีการซ้อนชั้นหลังคา ๒ ตับ มีการลดชั้นสันหลังคาลงทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๑ ช่วง กำหนดอายุสมัยจากจารึก สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ หรือพุทธศักราช ๒๔๔๐ ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
--- มีจารึกด้านสกัดหลังวิหารจำลองวัดนาซาว (ด้านนอก) ในกรอบสี่เหลี่ยมลงรักปิดทองขนาดกว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร สูง ๒๑.๘ เซนติเมตร จำนวน ๒๓ บรรทัด จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย ระบุจุลศักราช ๑๒๒๙ (พุทธศักราช ๒๔๑๐) ความในจารึกได้กล่าวถึงปีที่สร้าง ผู้สร้าง และการสร้างพระพุทธรูปไม้ภายในวิหาร ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆในการสร้าง และคำผาถนา หรือความปรารถนาของผู้สร้าง "ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นยอดแท้ดีหลีจิงแก่ข้าทั้งหลายแด่เทอะ นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ"
--- พระพุทธรูปไม้ที่สร้างประดิษฐานไว้ภายในวิหารจำลอง มีจารึกระบุจุลศักราช ๑๒๒๘ (พุทธศักราช ๒๔๐๙) เป็นพระพุทธรูปไม้ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๓.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๗ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๒.๕ เซนติเมตร ลักษณะมีพระรัศมีทรงกรวยรองรับด้วยอุษณีษะ พระเกศาเป็นตาราง มีไรพระศก พระพักตร์กลมแป้น พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้ม พระกรรณกาง ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เหนือฐานหน้ากระดานเรียบในผังครึ่งวงกลม สภาพชำรุดแตกหักบริเวณส่วนด้านหน้าของฐานพระพุทธรูป
--- ส่วนฐานของพระพุทธรูป มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๗ บรรทัด ความว่า ... “ศัก ๑๒๒๘ ตัว ปีรวา(ย)ยี โหราขึ้น ๑๑ ค่ำ เม็ง
๓ ไทยเมิงเหม้า ยามคัน …….. ภิกขุเกิดอายุได้ ๓๙ ศักได้ ๑๒๖๖ ตัว ………………... เพ็ง เม็ง.....ได้บวชพุทธรูปไม้คำเป็น …………...(ขอเอา)สุข ๓ ประการ มีนิพพาน (เป็นยอดแท้ดีหลี) นิพฺพาน ปจฺจโย โหนฺตุ เม นิจฺจํ เจ้ามี ๑๒๖๖ เดือน (๖) เพ็ง เม็งวัน…………………สี่ เดือน ๖”
--- วัดนาซาว ตั้งอยู่ที่บ้านนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ โดยพ่อเจ้าหลวงและพ่อแสนกามวิสถาน ทั้งสองท่านได้พาครอบครัวและบริวารจากเชียงแสนมาตั้งบ้านเรือนจนนับผู้คนมากขึ้นนับได้ ๒๐ หลังคาเรือน ซึ่งจำนวนดังกล่าว ภาษาถิ่นพูดว่า “ซาว” จึงช่วยกันบริจาคทรัพย์และแรงงานสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาให้ชื่อว่า วัดนาซาว เป็นวัดแรกของชุมชน
เอกสารอ้างอิง
- ทนงศักดิ์ ชัยเรืองฤทธิ์. ประวัติวัดในพื้นที่จังหวัดน่าน (รวบรวมจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๘). น่าน: สำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน,มปท. (เอกสารอัดสำเนา)
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๕๒.
- ไพลิน ทองธรรมชาติ. วิหารล้านนา มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม. เชียงใหม่: เจริญวัฒน์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
- รศ.ดร. วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์. ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๕.
- สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. ศัพทานุกรม โบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๐.
(จำนวนผู้เข้าชม 821 ครั้ง)