ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๔๖๘ ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพแม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน
ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ
วันที่ ๑๖ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดหีบเพลิง ส่งไปพระราชทานเพลิงศพ เจ้าศรีโสภา จ.จ. ภรรยาเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ที่สุสานดอนไชย อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พระราชทานเงิน ๑๐๐๐ สตางค์ ผ้าขาว ๒ พับ กับเครืองกัณฑ์เทศน์เปนพิเศษเครื่อง ๑
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๒ หน้า ๑๙๓๘ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘)
.
แม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน ชายาองค์ที่ ๑ หรืออัครชายา ของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๔ มีบุตรธิดา คือ เจ้าสุริยวงศ์ (เจ้าน้อยยานนท์ ณ น่าน) เจ้าหญิงบัวเขียว ณ น่าน เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยขัตติยศ ณ น่าน) และเจ้าราชบุตร (เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน) ในหนังสือประวัติมหาอำมาตย์โทและนายพลตรีเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน กล่าวว่าเจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีโอรสธิดากับเจ้าหญิงศรีโสภา รวม ๘ คน คือ โอรส ๖ ธิดา ๒
แม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน เป็นธิดาพระยาวังขวา (คำเครื่อง) (เจ้าคำเครื่อง เป็นโอรสพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กับแม่เจ้ายอดหล้า อัครราชเทวี) กับเจ้าหญิงอุษา (บางแห่งระบุเจ้านางภูคา ณ น่าน)
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) (ฝ่ายใน) วิสามัญสมาชิกาจตุตถจุลจอมเกล้า
.
แม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ (นับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน) ในบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็กเจ้ามหาพรหมสุรธาดา กล่าวถึงงานศพแม่เจ้าศรีโสภา ว่า “ศพของแม่เจ้าศรีโสภา ปลงศพตั้งปราสาท ๓ ยอด สวยงามมาก บำเพ็ญกุศล ๓ วัน ๓ คืน ณ ท้องข่วง มี “การตี๋มวย (ชกมวย)” “ผุยมะนาว (โปรยทาน)” ในการปลงศพ การชกมวย ผุยมะนาวในงานศพจะทำได้เฉพาะงานพระศพของเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น คนสามัญห้ามเด็ดขาด เป็นอาณาสิทธิของเจ้าผู้ครองนคร เว้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ให้ทำได้โดยอนุโลม”
“ศพแม่เจ้าศรีโสภา ตั้งบำเพ็ญกุศล ๓ วัน ๓ คืนนั้น จึงพระราชทานเพลิง ในระหว่างตั้งปลงศพแม่เจ้าศรีโสภา บำเพ็ญกุศล ๓ วัน ๓ คืนนั้น นอกจากตีมวย (ชกมวย) และผุยมะนาวแล้ว มีการจุดพลุญี่ปุ่นและอุ่มงัน (สมโภช) ด้วยระนาดปาดก้อง (ฆ้อง) (ปี่พาทย์) วงใหญ่ การบรรเลงเป็นเพลงล้านนาไทยโบราณ เท่าที่ผมจำได้มีเพลงม้าย่อง เพลงม้าตึ๊บคอก (กระทืบ) เพลงปราสาทไหว เพลงกราวนอก เพลงแม่ม่ายก้อม (สั้น) เพลงน้ำตกตาด (เหว) เป็นต้น”
.
เอกสารอ้างอิง
เจ้าน้อยสำราญ จรุงจิตรประชารมณ์ (ณ น่าน). ทำเนียบต้นวงศ์ตระกูล ณ น่าน. ๒๕๓๘.
บันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์. หจก.อิงค์เบอรี่ : น่าน. ๒๕๕๘.
ประวัติมหาอำมาตย์โทและนายพลตรีเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน. โรงพิมพ์ศรีหงส์. ๒๔๘๐.
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์. เล่ม ๒๓ หน้า ๘๙๔ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๑๒๕. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/035/893.PDF
ราชกิจจานุเบกษา. ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ. เล่ม ๔๒ หน้า ๑๙๓๘ วันที่ ๒
ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ
วันที่ ๑๖ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดหีบเพลิง ส่งไปพระราชทานเพลิงศพ เจ้าศรีโสภา จ.จ. ภรรยาเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ที่สุสานดอนไชย อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พระราชทานเงิน ๑๐๐๐ สตางค์ ผ้าขาว ๒ พับ กับเครืองกัณฑ์เทศน์เปนพิเศษเครื่อง ๑
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๒ หน้า ๑๙๓๘ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘)
.
แม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน ชายาองค์ที่ ๑ หรืออัครชายา ของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๔ มีบุตรธิดา คือ เจ้าสุริยวงศ์ (เจ้าน้อยยานนท์ ณ น่าน) เจ้าหญิงบัวเขียว ณ น่าน เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยขัตติยศ ณ น่าน) และเจ้าราชบุตร (เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน) ในหนังสือประวัติมหาอำมาตย์โทและนายพลตรีเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน กล่าวว่าเจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีโอรสธิดากับเจ้าหญิงศรีโสภา รวม ๘ คน คือ โอรส ๖ ธิดา ๒
แม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน เป็นธิดาพระยาวังขวา (คำเครื่อง) (เจ้าคำเครื่อง เป็นโอรสพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กับแม่เจ้ายอดหล้า อัครราชเทวี) กับเจ้าหญิงอุษา (บางแห่งระบุเจ้านางภูคา ณ น่าน)
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) (ฝ่ายใน) วิสามัญสมาชิกาจตุตถจุลจอมเกล้า
.
แม่เจ้าศรีโสภา ณ น่าน ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ (นับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน) ในบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็กเจ้ามหาพรหมสุรธาดา กล่าวถึงงานศพแม่เจ้าศรีโสภา ว่า “ศพของแม่เจ้าศรีโสภา ปลงศพตั้งปราสาท ๓ ยอด สวยงามมาก บำเพ็ญกุศล ๓ วัน ๓ คืน ณ ท้องข่วง มี “การตี๋มวย (ชกมวย)” “ผุยมะนาว (โปรยทาน)” ในการปลงศพ การชกมวย ผุยมะนาวในงานศพจะทำได้เฉพาะงานพระศพของเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น คนสามัญห้ามเด็ดขาด เป็นอาณาสิทธิของเจ้าผู้ครองนคร เว้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ให้ทำได้โดยอนุโลม”
“ศพแม่เจ้าศรีโสภา ตั้งบำเพ็ญกุศล ๓ วัน ๓ คืนนั้น จึงพระราชทานเพลิง ในระหว่างตั้งปลงศพแม่เจ้าศรีโสภา บำเพ็ญกุศล ๓ วัน ๓ คืนนั้น นอกจากตีมวย (ชกมวย) และผุยมะนาวแล้ว มีการจุดพลุญี่ปุ่นและอุ่มงัน (สมโภช) ด้วยระนาดปาดก้อง (ฆ้อง) (ปี่พาทย์) วงใหญ่ การบรรเลงเป็นเพลงล้านนาไทยโบราณ เท่าที่ผมจำได้มีเพลงม้าย่อง เพลงม้าตึ๊บคอก (กระทืบ) เพลงปราสาทไหว เพลงกราวนอก เพลงแม่ม่ายก้อม (สั้น) เพลงน้ำตกตาด (เหว) เป็นต้น”
.
เอกสารอ้างอิง
เจ้าน้อยสำราญ จรุงจิตรประชารมณ์ (ณ น่าน). ทำเนียบต้นวงศ์ตระกูล ณ น่าน. ๒๕๓๘.
บันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์. หจก.อิงค์เบอรี่ : น่าน. ๒๕๕๘.
ประวัติมหาอำมาตย์โทและนายพลตรีเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน. โรงพิมพ์ศรีหงส์. ๒๔๘๐.
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์. เล่ม ๒๓ หน้า ๘๙๔ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๑๒๕. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/035/893.PDF
ราชกิจจานุเบกษา. ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ. เล่ม ๔๒ หน้า ๑๙๓๘ วันที่ ๒
(จำนวนผู้เข้าชม 1529 ครั้ง)