ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือ-สิบสองเป็ง)
สลากภัต หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า ตานก๋วยสลาก, กินสลาก, กินกวยสลาก, กินเข้าสลาก, ทานสลาก, ทานข้าวสลาก (ตาน-การถวายทาน, ก๋วย-ชะลอม ตะกร้า, สลาก-ชื่อเจ้าภาพที่เขียนบนใบลาน, ภัต-อาหารหรือสิ่งของบริวาร)
.
สลากภัต (บาลี: สลากภตฺต) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก คำว่า “สลากภัต” มาจากภาษาบาลี คือ สลาก + ภตฺต สองคำมารวมกันเป็น “สลากภัต” แปลว่า อาหารถวายพระภิกษุสงฆ์โดยวิธีจับสลาก นับเข้าในสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาวพืชผลทางการเกษตรมาถวายเป็นก๋วยสลากที่วัด หรือนิมนต์พระสงฆ์จากวัดใกล้เคียงมารับไทยธรรมสลาก การถวายสลากภัต ไม่ใช่การถวายจำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใดโดยเฉพาะ ซึ่งปราศจากความลำเอียง และที่สำคัญจุดประสงค์ของการถวายทาน ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับและเป็นการขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่เพื่อต้องการผลหรือหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทน
.
ประเพณีทานสลากหรือ "กิ๋นก๋วยสลาก" จะเริ่มในเดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐ ของภาคกลาง) หลังจากเข้าพรรษาได้ ๒ เดือน ในราวปลายเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน ๑๑ แรม ๑๕ ค่ำ) หากชุมชน หรือวัดใดอยู่ใกล้แม่น้ำน่านก็จะมีการแข่งเรือด้วย
.
โดยระยะเวลาดังกล่าวในภาคใต้จะมีประเพณีสารทเดือนสิบ วันแรม ๑ ค่ำ ถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ และภาคอีสานจะมีประเพณี บุญเดือนสิบ-บุญข้าวสาก [ข้าวสาก มาจากคำว่า ข้าวของสลากภัต] (แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐) โดยเฉพาะพื้นที่อีสานใต้ จะมีประเพณีสำคัญคือ "แซนโฎนตา" จัดขึ้นในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เช่นเดียวกับชาวอีสาน เพื่อสังเวยบวงสรวงและทำบุญทอดทานสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
.
เหตุปัจจัยเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวชาวบ้านว่างเว้นจากการทำนา ระหว่างรอการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ พืชผักผลไม้ออกผลผลิต เช่น กล้วย อ้อย มะไฟ ส้มโอ ส้มต่างๆ ชาวบ้านหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน พระสงฆ์จำพรรษาอย่างอย่างพรักพร้อม ได้โอกาสทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ สงเคราะห์คนยากจน และมีโอกาสหาปัจจัยบำรุงดูแลวัด
.
งานทานสลากนี้จะจัดเป็นสองวัน คือ วันดาสลาก และวันทานสลาก หรือวันกินสลาก ก่อนวันพิธี ๑ วันเรียกว่า วันดาสลาก, วันแต่งดา, วันดา, วันสุกดิบ ถือเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องปัจจัยไทยทาน ผู้ชายจะสานก๋วย (ตะกร้า) ซึ่งมีทั้งก๋วยเล็ก ก๋วยใหญ่ คือ ตะกร้าไม้ไผ่สำหรับเป็นภาชนะบรรจุสิ่งของที่จะถวายทาน ส่วนผู้หญิงจะจัดเตรียมห่อของจำพวก พริก เกลือ หอม กระเทียม อาหารคาวหวาน ผลไม้ และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ห่อข้าวต้ม ขนม จัดสวยดอก แล้วเอาตะกร้าไม้ไผ่มากรุด้วยใบตองหรือกระดาษเอาสิ่งของที่เตรียมไว้บรรจุลงไป ของบางอย่างที่มีน้ำหนักเบาเช่น ไม้ขีดไฟ บุหรี่ ยาซอง ก็เอาผูกติดกับเรียวไม้ไผ่ที่เหลาตกแต่งไว้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นที่สำคัญต้องมีไม้หนีบสำหรับเสียบ ยอด หรือธนบัตรจำนวนหนึ่งเสียบไว้กับกวยสลากนั้น ด้านหน้ากวยจะมีเส้นสลากหรือข้อเขียนคำจารึกชื่อผู้ถวายพร้อมทั้งระบุด้วยว่าถวายเพื่ออะไรหรือถวายสำหรับใคร เพราะบางคนจะถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปสะสมไว้เป็นส่วนกุศลของตนเพื่อวันข้างหน้า บางคนก็อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษหรือญาติมิตรผู้ล่วงลับ ซึ่งวันแต่งดาญาติพี่น้องจะมาช่วยกันจัดเตรียมสิ่งของ เรียก ฮอมสลาก ซึ่งจะนำสิ่งของ ปัจจัยมาร่วมทำบุญด้วย และช่วยตกแต่งสถานที่ วัดต่างๆ
.
กวยสลาก (อ่าน โก๋ยสะหลาก) คือ ตะกร้าที่สานขึ้นด้วยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายชะลอม เพื่อบรรจุเครื่องไทยทานซึ่งจะได้นำไปถวายพระ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นถังน้ำพลาสติกหรืออลูมิเนียม เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อ
.
สลาก คือ เส้น หรือใบ ซึ่งเป็นใบลานหรือใบตาล ในปัจจุบันบางที่ได้เปลี่ยนมาใช้กระดาษแทน ผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์สลากเขียนชื่อเจ้าภาพ และชื่อผู้ตายที่ต้องการอุทิศไปให้ นำไปรวมกันแล้วนับจำนวน เรียก สูนเส้นสลาก ให้พระภิกษุสงฆ์สุ่มจับ หรือถ้าหากมีจำนวนมาก นำจำนวนพระภิกษุ สามเณร หารแบ่งเท่ากัน ไม่มีการจับจองของผู้ใดเป็นการเฉพาะ จึงเรียกว่า สลาก หรือ การเสี่ยงโชคของผู้รับ
ก๋วยสลาก แบ่งออกเป็น ๒ แบบกว้าง ๆ คือ ก๋วยน้อย กับ ก๋วยใหญ่ สลากเมืองน่านแบ่งเป็น ๓ อย่าง (ชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น) คือ
-สลากน้อย, สลากจมปู, สลากซอง, ก๋วยน้อย คือ ภาชนะ หรือตะกร้าที่สานอย่างง่ายๆ ด้วยตอกไม้ไผ่เป็นรูปตะกร้าโปร่งทรงสูง (ก๋วยสลากขี้ปุ๋ม ป่องเหมือนขี้ปุ๋มหรือพุง) ปล่อยตอกให้พ้นจากตัวตะกร้าขึ้นไปรองด้วยใบขมิ้น หรือใบตอง แล้วบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง อาหารปรุงสุก พริก กะปิ น้ำปลา น้ำมันพืช หอม กระเทียม พริกแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค แล้วจึงรวบตอกที่พ้นขึ้นนั้นไปผูกติดกันเพื่อปิดปากกวย ด้านบนก๋วยสลากจะมีใบหมากผู้หมากเมีย พลู ไม้ดอกไม้ประดับมัดรวมกัน มีเทียน บุหรี่ มีไม้เสียบกวยหนีบธนบัตรไว้ด้านบน
-สลากโชค, ก๋วยโชค, ต้นโชค, ก๋วยใหญ่, ก๋วยสำรับ สลากที่มีความพิเศษเพียบพร้อมด้วยวัตถุ รวมถึงปัจจัยพิเศษ โดยอาจเป็นกระบุง ถังน้ำ ถังน้ำพลาสติก กะละมัง ขันน้ำ ตะกร้า เป็นต้น ก๋วยสานด้วยไม้ไผ่ เรียก ก๋วยตีนช้าง ปักด้วยต้นคาหรือหญ้าคาทำเป็นขา ปักไม้ไผ่ทำเป็นก้านยาวเพื่อแขวนสิ่งของต่างๆ หรือทำเป็นบ้านขนาดย่อมๆ หรือปราสาทแบบล้านนา นำข้าวของต่างๆใส่ในบ้าน
-สลากสร้อย ต้นสลากขนาดใหญ่ มีสิ่งของเกือบครบทุกอย่าง ทำมาจากโครงไม้ไผ่ทำจากและกระดาษ ปักสิ่งของต่างๆ ส่วนยอดบนสุดเป็นฉัตร หรือร่ม
นอกจากนี้ยังยังมีต้นสลากขนาดใหญ่ หรือต้นกัลปพฤกษ์ ที่ทำอย่างวิจิตร และมีขนาดใหญ่ ทำเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น ๓ ชั้น , ๕ ชั้น , ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น แต่ละชั้นนำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม คล้ายกับต้นสลากย้อมที่จังหวัดลำพูน ซึ่งหมายถึง กัปปรุกขา หรือต้นกัลปพฤกษ์ นอกจากจะมีเครื่องใช้ต่างๆ แล้วยังมี กระจก หวี น้ำหอม ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
.
สิ่งของที่บรรจุในก๋วยสลาก ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ พริก เกลือ กะปิ น้ำปลา หอมแห้ง กระเทียม ปลาแห้ง ปลากระป๋อง หมากพลู กล้วย อ้อย ส้มโอ ดอกไม้ธูปเทียน รวมเครื่องใช้อื่นๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก รวมไปถึงเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ ที่พระภิกษุสงฆ์สามารถนำไปใช้ได้
.
อานิสงส์สลากภัต ผลของการทานสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เมื่อจุติจากสวรรค์มาเกิดในเมืองมนุษย์เป็นผู้มีพละกำลังมหาศาล ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีรูปร่างลักษณะงดงามและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รวมไปถึงเป็นผู้มีฐานะดี เสวยสมบัติอันมาก (เอกสารใบลานเรื่องอานิสงส์สลากภัตต์ ฉบับวัดบ้านท่อ ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่) เมื่อถึงการประกอบพิธีกรรมมักจะมีการเทศนาอานิสงส์สลากภัต กล่าวถึงตำนานความเป็นมา และผลบุญกุศลสลากภัต
.
เอกสารอ้างอิง
กินสลาก , กวยสลาก , กินกวยสลาก , งานทำบุญ , สลาก , สลากย้อม , สลากภัตต์ , กวย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒. เข้าถึงได้โดย https://db.sac.or.th/thailand-cultural-encyclopedia/result.php?region=0&term=สลาก&page=2
เอกลักษณ์น่าน. สำนักพิมพ์ MaxxPrint (ดาวคอมฟิวกราฟิก) : เชียงใหม่. ๒๕๔๙.
๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือ-สิบสองเป็ง)
สลากภัต หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า ตานก๋วยสลาก, กินสลาก, กินกวยสลาก, กินเข้าสลาก, ทานสลาก, ทานข้าวสลาก (ตาน-การถวายทาน, ก๋วย-ชะลอม ตะกร้า, สลาก-ชื่อเจ้าภาพที่เขียนบนใบลาน, ภัต-อาหารหรือสิ่งของบริวาร)
.
สลากภัต (บาลี: สลากภตฺต) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก คำว่า “สลากภัต” มาจากภาษาบาลี คือ สลาก + ภตฺต สองคำมารวมกันเป็น “สลากภัต” แปลว่า อาหารถวายพระภิกษุสงฆ์โดยวิธีจับสลาก นับเข้าในสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาวพืชผลทางการเกษตรมาถวายเป็นก๋วยสลากที่วัด หรือนิมนต์พระสงฆ์จากวัดใกล้เคียงมารับไทยธรรมสลาก การถวายสลากภัต ไม่ใช่การถวายจำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใดโดยเฉพาะ ซึ่งปราศจากความลำเอียง และที่สำคัญจุดประสงค์ของการถวายทาน ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับและเป็นการขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่เพื่อต้องการผลหรือหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทน
.
ประเพณีทานสลากหรือ "กิ๋นก๋วยสลาก" จะเริ่มในเดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐ ของภาคกลาง) หลังจากเข้าพรรษาได้ ๒ เดือน ในราวปลายเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน ๑๑ แรม ๑๕ ค่ำ) หากชุมชน หรือวัดใดอยู่ใกล้แม่น้ำน่านก็จะมีการแข่งเรือด้วย
.
โดยระยะเวลาดังกล่าวในภาคใต้จะมีประเพณีสารทเดือนสิบ วันแรม ๑ ค่ำ ถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ และภาคอีสานจะมีประเพณี บุญเดือนสิบ-บุญข้าวสาก [ข้าวสาก มาจากคำว่า ข้าวของสลากภัต] (แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐) โดยเฉพาะพื้นที่อีสานใต้ จะมีประเพณีสำคัญคือ "แซนโฎนตา" จัดขึ้นในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เช่นเดียวกับชาวอีสาน เพื่อสังเวยบวงสรวงและทำบุญทอดทานสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
.
เหตุปัจจัยเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวชาวบ้านว่างเว้นจากการทำนา ระหว่างรอการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ พืชผักผลไม้ออกผลผลิต เช่น กล้วย อ้อย มะไฟ ส้มโอ ส้มต่างๆ ชาวบ้านหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน พระสงฆ์จำพรรษาอย่างอย่างพรักพร้อม ได้โอกาสทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ สงเคราะห์คนยากจน และมีโอกาสหาปัจจัยบำรุงดูแลวัด
.
งานทานสลากนี้จะจัดเป็นสองวัน คือ วันดาสลาก และวันทานสลาก หรือวันกินสลาก ก่อนวันพิธี ๑ วันเรียกว่า วันดาสลาก, วันแต่งดา, วันดา, วันสุกดิบ ถือเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องปัจจัยไทยทาน ผู้ชายจะสานก๋วย (ตะกร้า) ซึ่งมีทั้งก๋วยเล็ก ก๋วยใหญ่ คือ ตะกร้าไม้ไผ่สำหรับเป็นภาชนะบรรจุสิ่งของที่จะถวายทาน ส่วนผู้หญิงจะจัดเตรียมห่อของจำพวก พริก เกลือ หอม กระเทียม อาหารคาวหวาน ผลไม้ และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ห่อข้าวต้ม ขนม จัดสวยดอก แล้วเอาตะกร้าไม้ไผ่มากรุด้วยใบตองหรือกระดาษเอาสิ่งของที่เตรียมไว้บรรจุลงไป ของบางอย่างที่มีน้ำหนักเบาเช่น ไม้ขีดไฟ บุหรี่ ยาซอง ก็เอาผูกติดกับเรียวไม้ไผ่ที่เหลาตกแต่งไว้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นที่สำคัญต้องมีไม้หนีบสำหรับเสียบ ยอด หรือธนบัตรจำนวนหนึ่งเสียบไว้กับกวยสลากนั้น ด้านหน้ากวยจะมีเส้นสลากหรือข้อเขียนคำจารึกชื่อผู้ถวายพร้อมทั้งระบุด้วยว่าถวายเพื่ออะไรหรือถวายสำหรับใคร เพราะบางคนจะถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปสะสมไว้เป็นส่วนกุศลของตนเพื่อวันข้างหน้า บางคนก็อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษหรือญาติมิตรผู้ล่วงลับ ซึ่งวันแต่งดาญาติพี่น้องจะมาช่วยกันจัดเตรียมสิ่งของ เรียก ฮอมสลาก ซึ่งจะนำสิ่งของ ปัจจัยมาร่วมทำบุญด้วย และช่วยตกแต่งสถานที่ วัดต่างๆ
.
กวยสลาก (อ่าน โก๋ยสะหลาก) คือ ตะกร้าที่สานขึ้นด้วยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายชะลอม เพื่อบรรจุเครื่องไทยทานซึ่งจะได้นำไปถวายพระ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นถังน้ำพลาสติกหรืออลูมิเนียม เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อ
.
สลาก คือ เส้น หรือใบ ซึ่งเป็นใบลานหรือใบตาล ในปัจจุบันบางที่ได้เปลี่ยนมาใช้กระดาษแทน ผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์สลากเขียนชื่อเจ้าภาพ และชื่อผู้ตายที่ต้องการอุทิศไปให้ นำไปรวมกันแล้วนับจำนวน เรียก สูนเส้นสลาก ให้พระภิกษุสงฆ์สุ่มจับ หรือถ้าหากมีจำนวนมาก นำจำนวนพระภิกษุ สามเณร หารแบ่งเท่ากัน ไม่มีการจับจองของผู้ใดเป็นการเฉพาะ จึงเรียกว่า สลาก หรือ การเสี่ยงโชคของผู้รับ
ก๋วยสลาก แบ่งออกเป็น ๒ แบบกว้าง ๆ คือ ก๋วยน้อย กับ ก๋วยใหญ่ สลากเมืองน่านแบ่งเป็น ๓ อย่าง (ชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น) คือ
-สลากน้อย, สลากจมปู, สลากซอง, ก๋วยน้อย คือ ภาชนะ หรือตะกร้าที่สานอย่างง่ายๆ ด้วยตอกไม้ไผ่เป็นรูปตะกร้าโปร่งทรงสูง (ก๋วยสลากขี้ปุ๋ม ป่องเหมือนขี้ปุ๋มหรือพุง) ปล่อยตอกให้พ้นจากตัวตะกร้าขึ้นไปรองด้วยใบขมิ้น หรือใบตอง แล้วบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง อาหารปรุงสุก พริก กะปิ น้ำปลา น้ำมันพืช หอม กระเทียม พริกแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค แล้วจึงรวบตอกที่พ้นขึ้นนั้นไปผูกติดกันเพื่อปิดปากกวย ด้านบนก๋วยสลากจะมีใบหมากผู้หมากเมีย พลู ไม้ดอกไม้ประดับมัดรวมกัน มีเทียน บุหรี่ มีไม้เสียบกวยหนีบธนบัตรไว้ด้านบน
-สลากโชค, ก๋วยโชค, ต้นโชค, ก๋วยใหญ่, ก๋วยสำรับ สลากที่มีความพิเศษเพียบพร้อมด้วยวัตถุ รวมถึงปัจจัยพิเศษ โดยอาจเป็นกระบุง ถังน้ำ ถังน้ำพลาสติก กะละมัง ขันน้ำ ตะกร้า เป็นต้น ก๋วยสานด้วยไม้ไผ่ เรียก ก๋วยตีนช้าง ปักด้วยต้นคาหรือหญ้าคาทำเป็นขา ปักไม้ไผ่ทำเป็นก้านยาวเพื่อแขวนสิ่งของต่างๆ หรือทำเป็นบ้านขนาดย่อมๆ หรือปราสาทแบบล้านนา นำข้าวของต่างๆใส่ในบ้าน
-สลากสร้อย ต้นสลากขนาดใหญ่ มีสิ่งของเกือบครบทุกอย่าง ทำมาจากโครงไม้ไผ่ทำจากและกระดาษ ปักสิ่งของต่างๆ ส่วนยอดบนสุดเป็นฉัตร หรือร่ม
นอกจากนี้ยังยังมีต้นสลากขนาดใหญ่ หรือต้นกัลปพฤกษ์ ที่ทำอย่างวิจิตร และมีขนาดใหญ่ ทำเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น ๓ ชั้น , ๕ ชั้น , ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น แต่ละชั้นนำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม คล้ายกับต้นสลากย้อมที่จังหวัดลำพูน ซึ่งหมายถึง กัปปรุกขา หรือต้นกัลปพฤกษ์ นอกจากจะมีเครื่องใช้ต่างๆ แล้วยังมี กระจก หวี น้ำหอม ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
.
สิ่งของที่บรรจุในก๋วยสลาก ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ พริก เกลือ กะปิ น้ำปลา หอมแห้ง กระเทียม ปลาแห้ง ปลากระป๋อง หมากพลู กล้วย อ้อย ส้มโอ ดอกไม้ธูปเทียน รวมเครื่องใช้อื่นๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก รวมไปถึงเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ ที่พระภิกษุสงฆ์สามารถนำไปใช้ได้
.
อานิสงส์สลากภัต ผลของการทานสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เมื่อจุติจากสวรรค์มาเกิดในเมืองมนุษย์เป็นผู้มีพละกำลังมหาศาล ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีรูปร่างลักษณะงดงามและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รวมไปถึงเป็นผู้มีฐานะดี เสวยสมบัติอันมาก (เอกสารใบลานเรื่องอานิสงส์สลากภัตต์ ฉบับวัดบ้านท่อ ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่) เมื่อถึงการประกอบพิธีกรรมมักจะมีการเทศนาอานิสงส์สลากภัต กล่าวถึงตำนานความเป็นมา และผลบุญกุศลสลากภัต
.
เอกสารอ้างอิง
กินสลาก , กวยสลาก , กินกวยสลาก , งานทำบุญ , สลาก , สลากย้อม , สลากภัตต์ , กวย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒. เข้าถึงได้โดย https://db.sac.or.th/thailand-cultural-encyclopedia/result.php?region=0&term=สลาก&page=2
เอกลักษณ์น่าน. สำนักพิมพ์ MaxxPrint (ดาวคอมฟิวกราฟิก) : เชียงใหม่. ๒๕๔๙.
(จำนวนผู้เข้าชม 16122 ครั้ง)