จารึกการสร้างรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุแช่แห้ง
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
เรื่อง “จารึกการสร้างรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุแช่แห้ง”
--- จารึกแผ่นไม้ วัดพระธาตุแช่แห้ง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้กระดาน รอบๆมีลวดลายฉลุ ลงรักปิดทอง ตั้งอยู่บนฐานไม้ ปรากฏจารึกทั้ง ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ จำนวน ๒๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ จำนวน ๑๓ บรรทัด จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน
--- เนื้อความโดยย่อกล่าวว่า ... เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๘๒ อดีตเจ้าเมืองเล็น และคณะ สมัยนั้นอยู่เมืองน่าน ได้สร้างวิหารมุงรอยพระพุทธบาท และสร้างรอยพระพุทธบาท ในช่วงเวลานั้น ได้ขุดพบไหบรรจุทองคำ ที่นอกกำแพงวัด เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๘๒ ได้ฉลองวิหารและรอยพระพุทธบาท และพุทธศักราช ๒๔๔๘ เจ้าอุปราชเมืองน่าน พร้อมทั้งครอบครัว ได้ซ่อมปฏิสังขรณ์วิหารรอยพระพุทธบาท
--- ปัจจุบันจารึกหลักนี้ ได้รับการจัดเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
--- เนื้อความจารึกด้านที่ ๑ “ศรีสวัสดี อภิวันทเคารพ นบพระรัตนไตรรัตนะ ในปฐมมหามูลศรัทธาหมายมี เจ้าพญาเมืองเล็น...นามชื่อว่า พญาศรีสิทธิไชย..............สิทธิ แลพร้อมกับด้วยนางอรรคชายาผู้มีชื่อว่า นางคำแก้ว เป็นเค้า และนางจอมและนางราชกัญญาผู้มีชื่อว่า นางคำมี ผู้ชื่อว่านางทิพย์ ราชบุตรผู้มีชื่อว่าเจ้าราชวงศา และเจ้าขัตติยศ เจ้าธนวงศ์ เจ้าอินปัน เจ้าบุญ...แสง เจ้าบุญนำ เจ้าธนบุตร เจ้าคำนาก เจ้าคำชง เจ้าจอมเมือง และราชบุตรีธิดาผู้มีชื่อว่า นางอุสสา วังสามิตรชื่อว่า นายมาชินวงศ์บุตรีผู้ ๑ ชื่อว่า นางคำเพียงใจ พร้อมกับด้วยสามิกผู้มีชื่อว่า นายขนานเทพวงศ์ และบุตรีผู้ ๑ ชื่อว่า นางขอดแก้ว ผู้ ๑ ชื่อว่า นางแท่นแก้ว พร้อมกับด้วยสามิกผู้มีชื่อว่า นายน้อยชื่อว่าชินวงศ์และนางบัวจิน นางบัวรภา นางคำอวน และขัตติยราชวงศานุวงศ์ จุ๊ตน และแสน หมื่น ท้าวหาญ และคามโภชกะ ช่างสิ่ว ช่างเหล็ก ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างแปลงวิหารที่ถาปนาไว้พระบาทเจ้า ชื่อว่าแสนมงคล เป็นผู้ริจนา หาญเพชร และหาญพระอาทิตย์ เป็นนายคุมคนทำการ
ได้ก่อสร้างปกแปลง เดือน ๘ ขึ้น ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์ ยามแตรเที่ยง ตราบถึงวัน (ขึ้น) ๗ ค่ำ หลังบน วัน (ขึ้น) ๘ ค่ำ ได้ก่อเติ้ก และแท่นพระบาท วัน (ขึ้น) ๙ ค่ำ ได้ไหคำออกไห ๑ ได้กับ (ที่) ขุมเปิกนอกกำแพง ไกล (กำแพง) ๒ วา ๓ ศอก มี ๒๗ ลิ่ม น้ำหนัก ๖,๐๐๐ ปลาย ๒๐๐ ข้างฝ่ายขุนนาย.....ชื่อว่า หาญเพชรสงคราม ท้าวโองการ ท้าวสีลบาล ท้าวเขื่อนเมือง ท้าวสิงหฤทธิ์สงคราม หาญแสงพระอาทิตย์ เป็นนายคุมคนทำการ ขุนผู้ใหญ่มีพ่อเชา นายผู้ชื่อว่า คันธาศุภอักษร และแสน....อักษร แสนสิทธิโวหาร แสนหาญ แสนอาเกียร แสนกันทาฤาไชย แสนปัญญา แสนยศฤาไชย ท้าวโลกา ในวงศามีนายใหม่สิทธิวงศ์ และไพร่ทั้งหลายอันตกมาในเมืองน่านที่นี้ทั้งมวล จุ๊คน ก็ได้พร้อมกันเป็นฉันทะด้วยเจ้าแห่งตนจุ๊คนๆแล้ว จึงได้หา.....หลวงศุภอักษร มาริจนารูปลายรดลายคำอันมีในพระบาทเจ้า มีรูป ๑๐๘ จำพวก ก็เป็นที่บริบูรณ์บรมวล แล้วจึงได้หาสล่าวัฒกกรรม วิชาการสลัก สร้างแปงยังพระพุทธบาทอันบรมวลด้วยจักรลักษณะ ลายลักษณ์อันประจิตร ทาด้วยน้ำรักและหาง ติดด้วยสุวรรณชาติคำแดง ประดับแสงเรืองเรื่อบรมวลแล้ว ซ้ำบังเกิดมุญจนเจตนาดวงยิ่ง จึงปฏิสังขรณ์สร้างแปลงยังพระวิหารคันธกุฎีหลังนี้ ไว้เพื่อเป็นที่ถาปนาปฏิสันฐาน ตั้งไว้ยังพระพุทธบาทเจ้าดวงประเสิรฐ ไว้หื้อเป็นที่ไหว้และบูชาแก่เทวดา และสมณพราหมณ์และมนุษย์คนชายหญิงทั้งหลาย ตราบสิ้น ๕,๐๐๐ พระวรรษา เป็นที่บริบูรณ์บรมวลแล้ว
เข้ามาในตติยศักราช ได้ ๑๒๐๑ ตัว ในกุญชรฉนำกัมโพชขอมพิสัย เข้ามาในคิมหาฤดู เชษฐมาส ปัณณรัสมี พุธวารไถง ไทยภาษาว่าปีกัดไก๊ เดือน ๙ ทุติยะ เพ็ญ เม็ง (ว่า) วัน ๔ (วันพุธ)ไทย (ว่าวัน) กดเส็ด ดิถี ๑๕ นาที ๔๕ จันทจรณยุคติเสด็จเข้าเสวยนักขัตตฤกษ์ตัวถ้วน ๑๙ ชื่อมูลเทวตา นาที ๑ ปรากฏในธนูเตโชราศี อตีตพุทธศาสนาคลาล่วงไปแล้วได้ ๒๓๘๒ พระวรรษา ปลาย ๑ เดือน ปลาย ๑๕ วัน อนาคตศาสนา ยังจักมา”
--- เนื้อความจารึกด้านที่ ๒ “ภายหน้ายังมี ๒๖๑๗ พระวรรษา ปลาย ๑๐ เดือน ปลาย ๑๖ วัน จึงได้กระทำมงคลพุทธาภิเษก เบิกบายฉลอง ถวายไทยวัตถุทานเป็นทักขิโณทการ บรมวลแก่โทหรณ ปณิธานปรารถนา ในปีอันนี้ ในเดือนวันยามอันนี้ แท้ดีหลี
อิมินา ปุญฺญเตเชน ยถภเวชาโต ติกฺขปญฺโญ มหาธโน มหาโภโค ยสฺสโสภมาโน อภิรูปา มธุรสปิยา เทวเทวา เตกุเลนปจฺจยุ สมิชนฺตุเม อิมินา พุทฺธสาสเน นิพฺพานํ ปาปเนยฺยมฺหิสจฺเจ อปฺปกมฺมสมฺภารํ นิพฺพานํ นาธิคเสยฺย ปญฺญาวสฺมึ วิสารโท สงฺสารนฺโต ปิสํสาเรกุเล อุตฺตมเก อหํลทา อริยเมตฺเตยฺโย พุทฺโธเหสติ อนาคเต อยมฺปิสาสเน ชาโตปพฺพชิสํว สนฺติเก ปญฺญาว อิทฺธิสมฺปนฺโน นปากโต เยว จนฺทิมาธาเรยฺย ปิฏกตเย สานิยานิเกติ นิจฺจํ ธุวํ แท้ดีหลี
ถึงศักราช ๑๒๖๗ ตัว ปีดับไส้ เดือน ๖ โหรา ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ (วันพุธ) ราชศรัทธาหมายมีเจ้ามหาอุปราช นราธิบดีศรีสุวรรณ ฝ่ายหน้าหอคำมหาดไทย เป็นเค้า และอรรคราชชายามีชื่อว่า แม่เจ้าศรีสุภา และราชบุตร ราชบุตรี ราชนัตตา นัตตรี ทาสา ทาสี ไวยาวัจกร ทั้งหลาย จุ๊ผู้จุ๊คน ได้ปฏิสังขรณ์เลิกยก (วิหารของรอยพระพุทธบาท) ขึ้นอีกใหม่ ให้วุฒิรุ่งเรือง ถวายหื้อเป็นทาน ไว้ค้ำพระพุทธศาสนาพระโคดมเจ้า เพื่อหื้อเป็นที่ไหว้สักการบูชาตราบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา แท้ดีหลี นิจฺจํ ธุวํ”
ที่มาข้อมูล : ฮันส์ เพนธ์และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๕ : จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และจารึกเมืองน่านที่น่าสนใจ,หน้า ๑๓๑ -
เรื่อง “จารึกการสร้างรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุแช่แห้ง”
--- จารึกแผ่นไม้ วัดพระธาตุแช่แห้ง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้กระดาน รอบๆมีลวดลายฉลุ ลงรักปิดทอง ตั้งอยู่บนฐานไม้ ปรากฏจารึกทั้ง ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ จำนวน ๒๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ จำนวน ๑๓ บรรทัด จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน
--- เนื้อความโดยย่อกล่าวว่า ... เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๘๒ อดีตเจ้าเมืองเล็น และคณะ สมัยนั้นอยู่เมืองน่าน ได้สร้างวิหารมุงรอยพระพุทธบาท และสร้างรอยพระพุทธบาท ในช่วงเวลานั้น ได้ขุดพบไหบรรจุทองคำ ที่นอกกำแพงวัด เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๘๒ ได้ฉลองวิหารและรอยพระพุทธบาท และพุทธศักราช ๒๔๔๘ เจ้าอุปราชเมืองน่าน พร้อมทั้งครอบครัว ได้ซ่อมปฏิสังขรณ์วิหารรอยพระพุทธบาท
--- ปัจจุบันจารึกหลักนี้ ได้รับการจัดเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
--- เนื้อความจารึกด้านที่ ๑ “ศรีสวัสดี อภิวันทเคารพ นบพระรัตนไตรรัตนะ ในปฐมมหามูลศรัทธาหมายมี เจ้าพญาเมืองเล็น...นามชื่อว่า พญาศรีสิทธิไชย..............สิทธิ แลพร้อมกับด้วยนางอรรคชายาผู้มีชื่อว่า นางคำแก้ว เป็นเค้า และนางจอมและนางราชกัญญาผู้มีชื่อว่า นางคำมี ผู้ชื่อว่านางทิพย์ ราชบุตรผู้มีชื่อว่าเจ้าราชวงศา และเจ้าขัตติยศ เจ้าธนวงศ์ เจ้าอินปัน เจ้าบุญ...แสง เจ้าบุญนำ เจ้าธนบุตร เจ้าคำนาก เจ้าคำชง เจ้าจอมเมือง และราชบุตรีธิดาผู้มีชื่อว่า นางอุสสา วังสามิตรชื่อว่า นายมาชินวงศ์บุตรีผู้ ๑ ชื่อว่า นางคำเพียงใจ พร้อมกับด้วยสามิกผู้มีชื่อว่า นายขนานเทพวงศ์ และบุตรีผู้ ๑ ชื่อว่า นางขอดแก้ว ผู้ ๑ ชื่อว่า นางแท่นแก้ว พร้อมกับด้วยสามิกผู้มีชื่อว่า นายน้อยชื่อว่าชินวงศ์และนางบัวจิน นางบัวรภา นางคำอวน และขัตติยราชวงศานุวงศ์ จุ๊ตน และแสน หมื่น ท้าวหาญ และคามโภชกะ ช่างสิ่ว ช่างเหล็ก ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างแปลงวิหารที่ถาปนาไว้พระบาทเจ้า ชื่อว่าแสนมงคล เป็นผู้ริจนา หาญเพชร และหาญพระอาทิตย์ เป็นนายคุมคนทำการ
ได้ก่อสร้างปกแปลง เดือน ๘ ขึ้น ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์ ยามแตรเที่ยง ตราบถึงวัน (ขึ้น) ๗ ค่ำ หลังบน วัน (ขึ้น) ๘ ค่ำ ได้ก่อเติ้ก และแท่นพระบาท วัน (ขึ้น) ๙ ค่ำ ได้ไหคำออกไห ๑ ได้กับ (ที่) ขุมเปิกนอกกำแพง ไกล (กำแพง) ๒ วา ๓ ศอก มี ๒๗ ลิ่ม น้ำหนัก ๖,๐๐๐ ปลาย ๒๐๐ ข้างฝ่ายขุนนาย.....ชื่อว่า หาญเพชรสงคราม ท้าวโองการ ท้าวสีลบาล ท้าวเขื่อนเมือง ท้าวสิงหฤทธิ์สงคราม หาญแสงพระอาทิตย์ เป็นนายคุมคนทำการ ขุนผู้ใหญ่มีพ่อเชา นายผู้ชื่อว่า คันธาศุภอักษร และแสน....อักษร แสนสิทธิโวหาร แสนหาญ แสนอาเกียร แสนกันทาฤาไชย แสนปัญญา แสนยศฤาไชย ท้าวโลกา ในวงศามีนายใหม่สิทธิวงศ์ และไพร่ทั้งหลายอันตกมาในเมืองน่านที่นี้ทั้งมวล จุ๊คน ก็ได้พร้อมกันเป็นฉันทะด้วยเจ้าแห่งตนจุ๊คนๆแล้ว จึงได้หา.....หลวงศุภอักษร มาริจนารูปลายรดลายคำอันมีในพระบาทเจ้า มีรูป ๑๐๘ จำพวก ก็เป็นที่บริบูรณ์บรมวล แล้วจึงได้หาสล่าวัฒกกรรม วิชาการสลัก สร้างแปงยังพระพุทธบาทอันบรมวลด้วยจักรลักษณะ ลายลักษณ์อันประจิตร ทาด้วยน้ำรักและหาง ติดด้วยสุวรรณชาติคำแดง ประดับแสงเรืองเรื่อบรมวลแล้ว ซ้ำบังเกิดมุญจนเจตนาดวงยิ่ง จึงปฏิสังขรณ์สร้างแปลงยังพระวิหารคันธกุฎีหลังนี้ ไว้เพื่อเป็นที่ถาปนาปฏิสันฐาน ตั้งไว้ยังพระพุทธบาทเจ้าดวงประเสิรฐ ไว้หื้อเป็นที่ไหว้และบูชาแก่เทวดา และสมณพราหมณ์และมนุษย์คนชายหญิงทั้งหลาย ตราบสิ้น ๕,๐๐๐ พระวรรษา เป็นที่บริบูรณ์บรมวลแล้ว
เข้ามาในตติยศักราช ได้ ๑๒๐๑ ตัว ในกุญชรฉนำกัมโพชขอมพิสัย เข้ามาในคิมหาฤดู เชษฐมาส ปัณณรัสมี พุธวารไถง ไทยภาษาว่าปีกัดไก๊ เดือน ๙ ทุติยะ เพ็ญ เม็ง (ว่า) วัน ๔ (วันพุธ)ไทย (ว่าวัน) กดเส็ด ดิถี ๑๕ นาที ๔๕ จันทจรณยุคติเสด็จเข้าเสวยนักขัตตฤกษ์ตัวถ้วน ๑๙ ชื่อมูลเทวตา นาที ๑ ปรากฏในธนูเตโชราศี อตีตพุทธศาสนาคลาล่วงไปแล้วได้ ๒๓๘๒ พระวรรษา ปลาย ๑ เดือน ปลาย ๑๕ วัน อนาคตศาสนา ยังจักมา”
--- เนื้อความจารึกด้านที่ ๒ “ภายหน้ายังมี ๒๖๑๗ พระวรรษา ปลาย ๑๐ เดือน ปลาย ๑๖ วัน จึงได้กระทำมงคลพุทธาภิเษก เบิกบายฉลอง ถวายไทยวัตถุทานเป็นทักขิโณทการ บรมวลแก่โทหรณ ปณิธานปรารถนา ในปีอันนี้ ในเดือนวันยามอันนี้ แท้ดีหลี
อิมินา ปุญฺญเตเชน ยถภเวชาโต ติกฺขปญฺโญ มหาธโน มหาโภโค ยสฺสโสภมาโน อภิรูปา มธุรสปิยา เทวเทวา เตกุเลนปจฺจยุ สมิชนฺตุเม อิมินา พุทฺธสาสเน นิพฺพานํ ปาปเนยฺยมฺหิสจฺเจ อปฺปกมฺมสมฺภารํ นิพฺพานํ นาธิคเสยฺย ปญฺญาวสฺมึ วิสารโท สงฺสารนฺโต ปิสํสาเรกุเล อุตฺตมเก อหํลทา อริยเมตฺเตยฺโย พุทฺโธเหสติ อนาคเต อยมฺปิสาสเน ชาโตปพฺพชิสํว สนฺติเก ปญฺญาว อิทฺธิสมฺปนฺโน นปากโต เยว จนฺทิมาธาเรยฺย ปิฏกตเย สานิยานิเกติ นิจฺจํ ธุวํ แท้ดีหลี
ถึงศักราช ๑๒๖๗ ตัว ปีดับไส้ เดือน ๖ โหรา ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ (วันพุธ) ราชศรัทธาหมายมีเจ้ามหาอุปราช นราธิบดีศรีสุวรรณ ฝ่ายหน้าหอคำมหาดไทย เป็นเค้า และอรรคราชชายามีชื่อว่า แม่เจ้าศรีสุภา และราชบุตร ราชบุตรี ราชนัตตา นัตตรี ทาสา ทาสี ไวยาวัจกร ทั้งหลาย จุ๊ผู้จุ๊คน ได้ปฏิสังขรณ์เลิกยก (วิหารของรอยพระพุทธบาท) ขึ้นอีกใหม่ ให้วุฒิรุ่งเรือง ถวายหื้อเป็นทาน ไว้ค้ำพระพุทธศาสนาพระโคดมเจ้า เพื่อหื้อเป็นที่ไหว้สักการบูชาตราบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา แท้ดีหลี นิจฺจํ ธุวํ”
ที่มาข้อมูล : ฮันส์ เพนธ์และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๕ : จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และจารึกเมืองน่านที่น่าสนใจ,หน้า ๑๓๑ -
(จำนวนผู้เข้าชม 949 ครั้ง)