หีบพระธรรม วัดสถารศ
เรื่อง “หีบพระธรรม วัดสถารศ”
--- หีบพระธรรม วัดสถารศ เป็นหีบพระธรรมไม้ ลงรักปิดทอง ขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๗๖ เซนติเมตร สูง ๗๕ เซนติเมตร มีจารึกบริเวณขอบปากของหีบพระธรรม จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๑ ด้าน ๖ บรรทัด ระบุปีที่จารึก พุทธศักราช ๒๓๘๓ ลักษณะเป็นหีบทรงลุ้ง ช่วงล่างคอดและผายออกทางด้านบน ส่วนลำตัวมีการเขียนภาพทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าเขียนภาพบุคคลสองคนในลักษณะท่าทางคล้ายร่ายรำ ด้านหลังเขียนภาพบุคคลสองคนในท่าเดินประนมมือ ด้านข้างทั้งสองด้านเขียนภาพลายหม้อดอก หรือลายปูรณฆฏะ
ความในจารึกกล่าวถึงหนานดวง และนางแพงภริยา พร้อมด้วยบุตร มีศรัทธาร่วมใจกันสร้างหีบพระธรรมไว้เป็นทาน
--- คำแปลจารึก
บรรทัดที่๑ ศรีส (วั) สติอภิวันทนเคารพ ผู้ข้าจักนบพระพุทธาธิรัตนตรัย ในปถมมูลศรัทธา หมายมีหนานดวงเป็นเค้า แลภริยา บุตตา บุตตี ชู่ผู้ชู่คน ได้
บรรทัดที่๒ ปฏิสังขาริก สร้างยังหรีดธรรมลูกนี้ ไว้เป็นทานเป็นทักขิโณทการ ป่างให้ในเดิน ๓ เพ็ง เม็งวัน ๗ ไทย เบิกสัน ฤกษ์ได้ ๒๑ ตัว ชื่อว่า อุตตรสาฒฯ อดีตวรพุทธศาสนา
บรรทัดที่๓ คาล่วงแล้วได้ ๒๓๘๓ พระวัสสา อนาคตวรพุทธศาสนา อันจักมาภายหน้ายัง ๒๖๑๗ พระวัสสา เป็นเขตเหตุนั้นปถมมูลศรัทธา หมายมีหนานดวงเป็นเค้า แลภริยาผู้ชื่อว่านางแพง แล
บรรทัดที่๔ บุตตาบุตตี นัตตานตี ทาสาทาสี สัมพันธกุลวงศา ทั้งมวล จึงมาริจนา ยังหรีดธรรมลูกนี้ไว้ อันขีดเขียนไปด้วยรักหางอย่าง เอาจิ๋มใหม่ สุวรรณคำแดงแสงเรืองเรื่อ...เพื่อจักไว้ให้สถิต
บรรทัดที่๕ ทรงธรรมกถา ริจนา ในปีกัดไก๊ จุลศักราชได้ ๑๒๒๐ ปลายตัว ริจนาไว้ค้ำชูศาสนา ให้เป็นโสมนัฏฐา ตราบสิ้นวิฏฐิติกาล ยาวนานแท้จริงแล เทพสรภิกขุเป็น
บรรทัดที่๖ ผู้ริจนา คำจ้อ แท้จริงแล ที่ไว้เหลือเหตุบ่ช่าง
--- ปัจจุบัน หีบพระธรรม วัดสถารศ จัดแสดงให้เยี่ยมชมอยู่ชั้นบนอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ที่มาข้อมูล :
- กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
--- หีบพระธรรม วัดสถารศ เป็นหีบพระธรรมไม้ ลงรักปิดทอง ขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๗๖ เซนติเมตร สูง ๗๕ เซนติเมตร มีจารึกบริเวณขอบปากของหีบพระธรรม จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๑ ด้าน ๖ บรรทัด ระบุปีที่จารึก พุทธศักราช ๒๓๘๓ ลักษณะเป็นหีบทรงลุ้ง ช่วงล่างคอดและผายออกทางด้านบน ส่วนลำตัวมีการเขียนภาพทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าเขียนภาพบุคคลสองคนในลักษณะท่าทางคล้ายร่ายรำ ด้านหลังเขียนภาพบุคคลสองคนในท่าเดินประนมมือ ด้านข้างทั้งสองด้านเขียนภาพลายหม้อดอก หรือลายปูรณฆฏะ
ความในจารึกกล่าวถึงหนานดวง และนางแพงภริยา พร้อมด้วยบุตร มีศรัทธาร่วมใจกันสร้างหีบพระธรรมไว้เป็นทาน
--- คำแปลจารึก
บรรทัดที่๑ ศรีส (วั) สติอภิวันทนเคารพ ผู้ข้าจักนบพระพุทธาธิรัตนตรัย ในปถมมูลศรัทธา หมายมีหนานดวงเป็นเค้า แลภริยา บุตตา บุตตี ชู่ผู้ชู่คน ได้
บรรทัดที่๒ ปฏิสังขาริก สร้างยังหรีดธรรมลูกนี้ ไว้เป็นทานเป็นทักขิโณทการ ป่างให้ในเดิน ๓ เพ็ง เม็งวัน ๗ ไทย เบิกสัน ฤกษ์ได้ ๒๑ ตัว ชื่อว่า อุตตรสาฒฯ อดีตวรพุทธศาสนา
บรรทัดที่๓ คาล่วงแล้วได้ ๒๓๘๓ พระวัสสา อนาคตวรพุทธศาสนา อันจักมาภายหน้ายัง ๒๖๑๗ พระวัสสา เป็นเขตเหตุนั้นปถมมูลศรัทธา หมายมีหนานดวงเป็นเค้า แลภริยาผู้ชื่อว่านางแพง แล
บรรทัดที่๔ บุตตาบุตตี นัตตานตี ทาสาทาสี สัมพันธกุลวงศา ทั้งมวล จึงมาริจนา ยังหรีดธรรมลูกนี้ไว้ อันขีดเขียนไปด้วยรักหางอย่าง เอาจิ๋มใหม่ สุวรรณคำแดงแสงเรืองเรื่อ...เพื่อจักไว้ให้สถิต
บรรทัดที่๕ ทรงธรรมกถา ริจนา ในปีกัดไก๊ จุลศักราชได้ ๑๒๒๐ ปลายตัว ริจนาไว้ค้ำชูศาสนา ให้เป็นโสมนัฏฐา ตราบสิ้นวิฏฐิติกาล ยาวนานแท้จริงแล เทพสรภิกขุเป็น
บรรทัดที่๖ ผู้ริจนา คำจ้อ แท้จริงแล ที่ไว้เหลือเหตุบ่ช่าง
--- ปัจจุบัน หีบพระธรรม วัดสถารศ จัดแสดงให้เยี่ยมชมอยู่ชั้นบนอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ที่มาข้อมูล :
- กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 602 ครั้ง)