ก่วมภูคา : ใบเมเปิ้ลเมืองน่าน
แผ่นไม้แกะสลักเล่าเรื่อง ทศชาติชาดก
พระครูสิริปุญญากร (คำปัน อนาลโย ป.ธ.๔) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
แผ่นไม้ทศชาติชาดกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ได้รับมอบมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นแผ่นภาพที่อยู่ในสภาพชำรุด
พบว่าเป็นแผ่นไม้แกะสลักปิดทอง มีตัวละครสำคัญที่ปรากฏในทศชาติชาดก ซึ่ง ทศชาติชาดกนี้ คือ ๑๐ พระชาติ สำคัญของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระชาติสุดท้ายคือพระเวสสันดรชาดกเป็นพระชาติสุดท้ายที่มีความนิยมแพร่หลายผ่านงานวรรณกรรม จิตรกรรมฝาผนังและบนผืนผ้าที่เรียกว่าพระบฏ หรือตุงค่าวธรรมในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ
สุวรรณสามชาดก
เป็นชาดกในพระชาติที่ ๓ ของพระพุทธเจ้าที่ประสูติเป็นพระสุวรรณสามซึ่งคอยปรนนิบัติดูแลบิดามารดาตาบอดจากการถูกพิษงู ในระหว่างที่ออกบวชในป่า ขณะที่พระสุวรรณสามออกไปหา พระเจ้ากบิลยักขราช กษัตริย์เมืองพาราณสี เสด็จออกล่าสัตว์ยิงศรอาบยาพิษต้องพระสุวรรณสามบาดเจ็บสาหัส เมื่อสอบถามเรื่องราวจึงทราบเรื่องราวของพระสุวรรณสามทั้งหมดและนำไปพบบิดามารดา บิดามารดาจึงอธิษฐานขอให้พระสุวรรณสามหายจากการต้องศรนี้ เมื่อพระสุวรรณสามฟื้นขึ้นมาจึงได้เทศนาโปรดแก่พพระเจ้ากบิลยักขราชและกลับไปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข
ภาพแกะสลักไม้เป็นภาพของพระสุวรรณสามขณะทูนหม้อน้ำนำไปให้บิดามารดาพร้อมกับฝูงกวางในป่านั้นเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นภาพแกะสลักรูปพระเจ้ากบิลยักขราชขณะกำลังแผลศร ซึ่งเป็นฉากที่พบได้ทั่วไปในงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีการวาดภาพทศชาติชาดก
อ้างอิง
ชาญคณิต อาวรณ์. จิตรกรรมล้านนา : พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๓.
นิดดา หงส์วิวัฒน์. ทศชาติชาดกกับจิตรกรรมฝาผนัง : มโหสถชาดก เตมิยชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก. กรุงเทพฯ : แสงแดดเพื่อนเด็ก, ๒๕๔๘.
พระครูสิริปุญญากร (คำปัน อนาลโย ป.ธ.๔) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
แผ่นไม้ทศชาติชาดกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ได้รับมอบมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นแผ่นภาพที่อยู่ในสภาพชำรุด
พบว่าเป็นแผ่นไม้แกะสลักปิดทอง มีตัวละครสำคัญที่ปรากฏในทศชาติชาดก ซึ่ง ทศชาติชาดกนี้ คือ ๑๐ พระชาติ สำคัญของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระชาติสุดท้ายคือพระเวสสันดรชาดกเป็นพระชาติสุดท้ายที่มีความนิยมแพร่หลายผ่านงานวรรณกรรม จิตรกรรมฝาผนังและบนผืนผ้าที่เรียกว่าพระบฏ หรือตุงค่าวธรรมในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ
สุวรรณสามชาดก
เป็นชาดกในพระชาติที่ ๓ ของพระพุทธเจ้าที่ประสูติเป็นพระสุวรรณสามซึ่งคอยปรนนิบัติดูแลบิดามารดาตาบอดจากการถูกพิษงู ในระหว่างที่ออกบวชในป่า ขณะที่พระสุวรรณสามออกไปหา พระเจ้ากบิลยักขราช กษัตริย์เมืองพาราณสี เสด็จออกล่าสัตว์ยิงศรอาบยาพิษต้องพระสุวรรณสามบาดเจ็บสาหัส เมื่อสอบถามเรื่องราวจึงทราบเรื่องราวของพระสุวรรณสามทั้งหมดและนำไปพบบิดามารดา บิดามารดาจึงอธิษฐานขอให้พระสุวรรณสามหายจากการต้องศรนี้ เมื่อพระสุวรรณสามฟื้นขึ้นมาจึงได้เทศนาโปรดแก่พพระเจ้ากบิลยักขราชและกลับไปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข
ภาพแกะสลักไม้เป็นภาพของพระสุวรรณสามขณะทูนหม้อน้ำนำไปให้บิดามารดาพร้อมกับฝูงกวางในป่านั้นเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นภาพแกะสลักรูปพระเจ้ากบิลยักขราชขณะกำลังแผลศร ซึ่งเป็นฉากที่พบได้ทั่วไปในงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีการวาดภาพทศชาติชาดก
อ้างอิง
ชาญคณิต อาวรณ์. จิตรกรรมล้านนา : พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๓.
นิดดา หงส์วิวัฒน์. ทศชาติชาดกกับจิตรกรรมฝาผนัง : มโหสถชาดก เตมิยชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก. กรุงเทพฯ : แสงแดดเพื่อนเด็ก, ๒๕๔๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 402 ครั้ง)