...

การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๕
การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๕
เงินพดด้วง
          เป็นเงินตราที่ชาวไทผลิตขึ้นใช้ต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
          โดยการตัดโลหะเงินเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ได้น้ำหนักตามต้องการแล้วนำไปหลอมจากนั้นเทโลหะที่ละลายดีแล้วลงเบ้าไม้ที่แช่อยู่ในน้ำ จากนั้นนำมาทำให้งอโดยตอกแบ่งครึ่งด้วยสิ่วสองคม แล้วทุบปลายทั้งสองข้างเข้าหากันจนขดงอคล้ายตัวด้วง เงินพดด้วงที่ตีด้วยค้อนจนเข้ารูปแล้วจะถูกนำไปวางบนทั่งเหล็กหรือกระดูกขาช้าง เพื่อตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงบนตัวเงิน เนื่องจากเงินพดด้วงเป็นเงินตราที่ใช้มาตราน้ำหนักเป็นมาตรฐานพิกัดราคา จึงไม่มีการระบุพิกัดราคาไว้บนตัวเงิน
          เงินพดด้วงถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนในล้านนา จากการติดต่อค้าขายกับสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังคงมีการนำเงินพดด้วงมาใช้ในล้านนา 
          โดยเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน และมีตราอุณาโลม ครุฑ ปราสาทและมหามงกุฎประทับลงบนพดด้วง
เอกสารอ้างอิง
เงินตราล้านนา : นวรัตน์ เลขะกุล/ธนาคารแห่งประเทศไทย นพบุรีการพิมพ์ เชียงใหม่, ๒๕๕๕
เงินตราล้านนาและผ้าไท : ธนาคารแห่งประเทศไทย อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓
เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗

(จำนวนผู้เข้าชม 1051 ครั้ง)


Messenger