เรือเสือทะยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์
เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม) เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต
เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม) เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต เรือแต่ละลำวาดลงสีรูปเสือไว้ที่หัวเรือซึ่งมีช่องที่มีปืนใหญ่ยื่นออกมา ถือเป็นเรือพิทักษ์กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคด้วย จึงต้องให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารเป็นผู้นั่งประจำในคฤห์ (เก๋ง) ของเรือทั้งสองลำนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231)
เรือนำหน้ากระบวนพยุหยาตราชลมารคประกอบด้วย เรือพิฆาต 3 ลำ และเรือแซ 5 ลำ ทหารมีฝีมือประจำบนเรือพิฆาต อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารประจำบนเรือแซ
ชื่อเรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธ์ุ ปรากฏชื่อในลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคแลทางชลมารคในพุทธศักราช 2387 แต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เรือทั้งสองลำนี้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2534
เรือทั้ง 2 ลำ ภายในท้องเรือทาสีแดง มีความยาว 22.23 เมตร กว้าง 1.75 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 70 เซนติเมตร กินน้ำลึก 2.45 เมตร มีกำลังพลประกอบด้วย คนนั่งประจำคฤห์ 3 คน ฝีพาย 26 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
(จำนวนผู้เข้าชม 177 ครั้ง)