...

วัตถุชาติพันธุ์

     พวงปลา เครื่องประดับ กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู

     เครื่องประดับโลหะเงินสวมคอด้านหล้ง ทำเป็นสร้อยสี่เสา ประดับจี้และตุ้งติ้งขนาดใหญ่ห้วยยาวจนถึงกลางลำตัว

แบ่งเป็น 3 แถว แถวบนประกอบด้วย จี้ทรงกลม(คล้ายดอกเบญจมาศ)ห้อยกระพวน และตุ้งติ้งรูปน้ำเต้า แถวกลางเป็นจี้รูปผีเสื้อห้อยกระพวน ตุ้งติ้งรูปปลาและตุ้งติ้งรูปน้ำเต้าแถวล่างทำเป็นจี้รูปปลาห้อยกระพวน ตุ้งติ้งรูปปลาและตุ้งติ้งรูปน้ำเต้า

     การสื่อความหมายในเครื่องประดับ

     ดอกเบญจมาศ (จวี๋ฮวา) แทนคำว่าซิ่วหมายถึงความยั่งยืน

     ในความเชื่อของชาวจีนสื่อถึงความยั่งยืน

อ้างอิงhttps://www.baanlaesuan.com

     ดอกเบญจมาศ สื่อถึงความมีชีวิตชีวาและความเจริญรุ่งเรือง สัญลักษณ์ ของฤดูใบไม้ร่วง ในคติความเชื่อโบราณของจีน ดอกเบญจมาศคือความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนและความงามนิรันดร์ ดอกเบญจมาศ เป็นดอกไม้แห่งความรื่นเริงและความบริสุทธิ์ใจ ผู้ที่ชอบแสดงว่าเป็นคนมองโลกในแง่ดี หากอยากแสดงถึงความรื่นเริงชื่นบาน ให้ใช้ดอกไม้นี้มอบแก่ผู้รับ

     ดอกเบญจมาศสีแดง เป็นดอกไม้แห่งความรัก นิยมมอบดอกเบญจมาศสีแดง เพื่อแสดงถึงความรักใคร่ชอบพอ

ดอกเบญจมาศสีเหลือง เป็นดอกไม้แห่งความโชคดี นิยมมอบดอกเบญจมาศเหลืองแก่ผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนรู้จักกันเมื่อไปเยี่ยมเยียนหลังจากไม่ได้พบกันมานาน หรือเพิ่งไปมาหาสู่บ้านเขาเป็นคราวแรก (แสดงถึงรักที่บางเบา อ่อนไหว)

ดอกเบญจมาศสีขาว  ถือเป็นดอกไม้สูงศักดิ์ และทรงเกียรติ เป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ สามารถมอบดอกเบญจมาศสีขาวให้แก่ผู้ใดก็ได้ เพื่อแสดงความซื่อสัตย์ภักดี 

อ้างอิงhttps://www.fruitnflora.com/meaning-of-flower/

     ดอกเบญจมาศมีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นสื่อแทนความหมายได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น ตามความเชื่อของชาวจีน ดอกเบญจมาศ เป็นสัญลักษณ์ ของฤดูใบไม้ร่วงในเดือน 9 ของชาวจีน เปรียบได้กับตัวแทนของความงามและความยั่งยืน ชาวจีนจึงนิยมนำมาไหว้พระ ถ้าเป็นเบญจมาศขาวจะหมายถึง สัจจะและความซื่อสัตย์ ส่วนดอกเบญจมาศสำหรับชาวญี่ปุ่น เป็นดอกไม้ประจำราชวงศ์ ทั้งจีนและญี่ปุ่นมีเทศกาลชมดอกเบญมาศเหมือนกัน คือ ในเดือน 9 หรือเดือนกันยายน ตามความเชื่อที่ว่าเพื่อให้มีอายุยืนและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป

อ้างอิงhttps://www.panthachok.co.th

     ผีเสื้อสื่อถึงความงดงามและอุดมสมบูรณ์

ตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ผีเสื้อ เป็นสัญลักษณ์ของความรัก และความมีอิสระ เราสามารถนำรูปหรือสัญลักษณ์ผีเสื้อมาใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่นเดียวกับนก  เพราะทั้งนก และผีเสื้อ เป็นสัตว์ที่บินได้อย่างเสรี เป็นที่กล่าวถึงกันมานานแล้วว่า นกและผีเสื้อเป็นเครื่องหมายของความสุข ความมีอิสระในชีวิต ความใกล้ชิดกันสวรรค์ แต่ทั้งนี้ การใช้สัญลักษณ์ผีเสื้อนี้ จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของการนำมาใช้ และความสร้างสรรค์ด้วย ตามหลักฮวงจุ้ยจะใช้สัญลักษณ์ผีเสื้อเพื่อสื่อถึงความรักและความโรแมนติก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าความรักนั้นเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดออกมาเป็นความรู้สึกในลักษณะที่ว่า เมื่อมีความรัก ก็เหมือนได้โบยบินอย่างมีความสุข นอกจากนั้น ผีเสื้อยังให้ความรู้สึกถึงความอ่อนไหว การมีแรงบันดาลใจ ความสนุก ความสวยงามซึ่งก็เปรียบเสมือนความรู้สึกเมื่อมีความรัก

อ้างอิง https://www.sanook.com

 

     ปลาถือเป็นสัตว์มงคลสำหรับชาวจีน ความหมายส่วนใหญ่จะเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง การมีเงินทองล้นหลาม ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ ความมั่งคั่งและแข็งแกร่ง สัญลักษณ์ของผลกำไรหรือผลประโยชน์จากการทำธุรกิจ ดังนั้น ชาวจีนที่ทำธุรกิจการค้าขายจึงมักชอบเลี้ยงปลา หรือมีของประดับตกแต่งที่ทำงาน บ้านเกี่ยวกับปลา ซึ่งสื่อถึงความมั่งมีและอุดมสมบูรณ์

อ้างอิง http://www.dmodernart.com

     ปลา เป็นสัตว์มงคล เพราะคำว่า หยู ที่หมายถึงปลา พ้องเสียงกับคำว่า หยู ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ปลาจึงเป็นสัญลัษณ์ของความมั่งคั่ง เด็กกับปลา จะหมายถึง “ขอให้จงมีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์จากลูกชายที่ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น”   ปลาคาร์ฟ มาจากคำว่า “หลี่” หมายถึง ผลกำไรหรือประโยชน์ ปลาคาร์ฟ จึงเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาจะได้ผลกำไรหรือประโยชน์จากการทำธุรกิจ

     ปลาคาร์ฟข้ามซุ้มประตูมังกร ปลาหลี่ฮื้อ หรือหลี่อวี๋ หมายถึง ความสำเร็จ โดยมีตำนานว่า ปลาหลี่ฮื้อตัวใดสามารถว่ายมาถึงประตูมังกรที่ปากทางสวรรค์ แล้วกระโดดข้ามไปได้ จะกลายเป็น "ปลามังกร" ซึ่งเป็นคติสอนใจชาวจีนว่า คนจนก็มีสิทธิ์รวยได้ ถ้ามีความมุ่งมั่นและพยายามเหมือนปลาหลี่ฮื้อ ที่เพียรว่ายน้ำมาจนถึงปากทางสวรรค์ และใช้แรงพยายามสุดชีวิตเพื่อให้เข้าประตูมังกรได้สำเร็จ ซึ่งจะได้เปลี่ยนเป็นปลาที่มีเกียรติยศสง่างาม ถ้าปลาตัวใดกระโดดข้ามไม่ได้ก็ยังคงเป็นปลาหลี่ฮื้อตามเดิม จึงนิยมใช้ปลาหลี่ฮื้อแทนคำอวยพรที่ว่า "ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และให้มีเพียงพอ"

อ้างอิง http://www.richystar.com

 

     น้ำเต้า สื่อถึง ความเชื่อ เก่าแก่ ที่เชื่อว่า คน ถือกำเนิดมาจากน้ำเต้า จากเรื่องเล่าสืบต่อกันมา จากตำนานน้ำเต้าปุง

บรรพชนคนพื้นเมืองในดินแดนตั้งแต่แม่น้ำแยงซี (ฉางเจียง) ลงมาจนถึงอุษาคเนย์ทั้งภาคพื้นดินและภาคสมุทร มีรากเหง้าอารยธรรมร่วมกันคือ วิถีชีวิตเพาะปลูกข้าว, การเคารพบูชาน้ำเต้า และผีฟ้า (แถน)

คนพื้นเมืองกลุ่มนี้เป็นคนละชาติพันธุ์กับชาวหัวเซี่ย-บรรพชนของชนชาติฮั่น (จีนแท้) ชาวฮั่นเรียกพวกเขาว่า กลุ่มชนไป่ผู (ชาวผูร้อยจำพวก) ต่อมาเรียกเป็นไป่เยวี่ย (พวกเยวี่ยร้อยจำพวก หรือพวกเวียดร้อยจำพวก) กลุ่มชนเหล่านี้มีคติความเชื่อดั้งเดิมตรงกันอย่างหนึ่งคือ บูชาน้ำเต้า

     สมมุติฐานเรื่องทำไมคนบูชาน้ำเต้า มีสองสมมุติฐาน

     สมมุติฐานแรกเสนอว่า “น้ำเต้า” คือสิ่งเคารพศักดิ์สิทธิ์แรกเริ่มเลยของมนุษย์ (ก่อนจะนับถือโทเทม totem นับถือเทพเจ้า) “น้ำเต้า” เป็นสัญลักษณ์ของ “กายแม่” การบูชาน้ำเต้าก็คือการเคารพบูชาแม่ (ทางโลกตะวันตก ยุคหินใหม่มีรูปเคารพหินสลักเป็นรูปผู้หญิง คนปัจจุบันเรียกกันว่า “ตุ๊กตาวีนัส”) คนมาจากน้ำเต้าและกลับคืนสู่น้ำเต้าเมื่อตาย ดังนั้นวัฒนธรรมของชนกลุ่มนี้จึงมีเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของน้ำเต้า บรรเลงในพิธีศพ เช่น แคนน้ำเต้า, ปี่น้ำเต้า, กลองมโหระทึก และฝังศพครั้งที่สอง (กระดูก) ในไหหิน, ไหดินเผา, กลองมโหระทึก, โกศ (สัญลักษณ์ของน้ำเต้า)

ที่มา เว็ปไซด์/https://e-shann.com

     น้ำเต้าทั่วไปมีรูปทรงกลมป่อง ดูเหมือนท้องแม่ใกล้คลอดลูก แต่คอดตรงกลาง คนแต่ก่อนจินตนาการว่าเหมือนมดลูกของแม่ที่ให้กำเนิดลูกทุกคน น้ำเต้ามีเมล็ดมากอยู่ข้างใน ถ้าแม่มีลูกมากเหมือนเมล็ดน้ำเต้าจะทำมาหากินได้ผลผลิตมาก เพราะมีลูกช่วยทำ

     ลูกน้ำเต้ามีรูปต่าง ๆ หลากหลาย มีทั้งกลมทั้งแป้น ตั้งกับพื้นได้ มีคอคอดหรือไม่มีก็ได้ จนถึงมีรูปทรงรีหรือยาว และมีเมล็ดมาก เมื่อแห้งผิวกร้านแข็ง น้ำเต้าแห้งมีพื้นที่ข้างในกว้าง ใส่น้ำไปกินเมื่อเดินทางไกลได้ (โบราณว่าใครกินน้ำในน้ำเต้าทุกวันจะมีอายุยืนยาว) ใส่ของสำคัญบางอย่างก็ได้ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ บางกลุ่มชาติพันธุ์แขวนหรือวางน้ำเต้าแห้งไว้ในบ้าน เป็นเครื่องรางป้องกันผีร้าย โรคภัยไข้เจ็บ

     ภาชนะยุคแรก ๆ ทำเลียนแบบรูปทรงน้ำเต้า แล้วส่งอิทธิพลให้ภาชนะหล่อด้วยสำริดทำตาม

     น้ำเต้าให้กำเนิดคน

สามัญชนชาวบ้านเชื่อว่าคนทั้งสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์เกิดจากน้ำเต้าปุง (ปุง หมายถึง ภาชนะใส่ของ) เป็นพี่น้องท้อง (น้ำเต้าปุง) เดียวกัน 5 คน สองคนแรกออกมาก่อนเป็น ข้า สามคนหลังออกตามมาเป็น ไทย (หมายถึง ไม่เป็น ข้า และไม่ใช่คนไทย อย่างปัจจุบัน ไทย คำนี้ แปลว่า คน, ชาว เป็นคำร่วมสุวรรณภูมิ ในภาษาลาว, เขมร ก็มี) ทั้งหมดล้วนเป็นไพร่ของผู้เป็นนาย

ความเชื่อของสามัญชนยุคดึกดำบรรพ์ ว่าคน 5 จำพวกเกิดจากน้ำเต้าปุงเดียวกัน ย่อมเป็นเครือญาติพี่น้องท้องเดียวกัน เหมือนคนที่เกิดจากท้องแม่เดียวกัน คน 5 จำพวกเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ ทั้งผืนแผ่นดินใหญ่แม่น้ำลำคลอง กับชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะ ได้แก่ คนในตระกูลมอญ-เขมร, ตระกูลมาเลย์-จามหรือชวา-มลายู, ตระกูลม้ง-เย้า, ตระกูลไทย-ลาว-เวียดนาม, ฯลฯ เรื่องนี้อาจอธิบายความหมายเป็นตระกูลอื่นต่างไปก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงกัน

อ้างอิง

“คนเกิดจากน้ำเต้า”. จากหนังสือ“วัฒนธรรมร่วม อุษาคเนย์ในอาเซียน”. โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ. สำนักพิมพ์นาตาแฮก. 2559

(จำนวนผู้เข้าชม 4029 ครั้ง)


Messenger