...

หน้าต่างชาติพันธุ์
ภายใต้แนวคิดให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก 

เป็นเสมือนประตูเปิดสู่การเรียนรู้เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ผู้เข้าชมจะมีความเข้าใจในความคล้ายคลึง ความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม สร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทยบนพื้นฐานความเข้าใจ และการยอมรับซึ่งกันและกัน


หน้าต่างชาติพันธุ์ เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาพรวม เพื่อให้เห็นถึงความเหมือน และความต่างของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและเอเชียอาคเนย์  และบนผืนแผ่นดินไทยที่มีอยู่หลากหลายกว่า ๖๐ กลุ่ม 
 
 

โดยจำแนกเป็นหัวข้อย่อยเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
๑. “คนแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย” เพื่อตอบโจทย์"คนไทยมาจากไหน" จากหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ 
๒.  "คนดั้งเดิม" คือ ชาติพันธุ์ต่างๆ ในกลุ่มตระกูลภาษามอญ-เขมร ประกอบด้วย ๑๘ กลุ่มย่อย คือ ละเวือะ ดาระอางหรือปะหล่อง  มัลหรือปรัยหรือถิ่น ขมุ  บลาบรีหรือผีตองเหลือง คแมร-ลือ เยอ ปลัง กูย บรู โส้ ญัฮกูร ชอง ซัมเร มอญ เวียต เซมัง ซาไก
๓.  “ต้นตระกูล “ไท” คือ กลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ มี ๒๒ กลุ่มย่อย ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่ ไทดำ ลาวครั่ง ลาวหล่ม ไทเลย ลาวตี้ ลาวแง้ว ลาวเวียง ลาวพวน ไทเบิ้ง ญ้อ โย้ย กะเลิง ผู้ไท ไทลาว ไทยกลาง และ ไทยใต้
๔.  "ลูกทะเล"  คือกลุ่มชาติพันธุ์ อุรักละโว้ย มอแกน และ มลายู
๕.  "คนภูเขา" คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง มี ๑๑ กลุ่มย่อย  คือ จีน จีนฮ่อ คะฉิ่น อาข่า ลีซอ ลาหู่ กะเหรี่ยง อุก๋อง บิซู   ม้ง และ เมี่ยน
๑.๖.  “ต่างชาติต่างภาษา” กล่าวถึงกลุ่มชนจากตะวันตกที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับคนในแผ่นดิน ตั้งแต่ยุคแรกเข้ามาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยมาช้านาน ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย  ชาวโปรตุเกส และ ชาวญี่ปุ่น 

(จำนวนผู้เข้าชม 3329 ครั้ง)


Messenger