กาน้ำบังกะรีเงิน
กาน้ำบังกะรีเงิน
ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ ๒๔ หรือประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว
เครื่องยศของพระเหมสมาหาร (เพิ่ม) นางเหมสมาหาร (ผึ่ง) เมืองนครราชสีมา มอบให้
เครื่องบังกะรี เป็นเครื่องใช้โลหะที่คนไทยนำเข้าจากอินเดียจึงมีรูปทรงและลวดลายที่แตกต่างจากภาชนะของไทย แต่ก็พบว่าบางส่วนเป็นงานที่สั่งทำตามรูปทรงภาชนะแบบไทย เช่น กาน้ำ ขันน้ำพานรอง
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เครื่องบังกะรีเป็นเครื่องโลหะที่พระมหากษัตริย์พระราชทานเป็นเครื่องยศแก่ข้าราชการชั้นหัวหมื่นนายเวรมหาดเล็ก ตามประวัติกาน้ำใบนี้เป็นเครื่องยศของพระเหมสมาหาร (เพิ่ม) เมืองนครราชสีมา
เทคนิค “บังกะรี” (Bidri work) เป็นเทคนิคการฝังเส้นหรือฝังแผ่นโลหะลงบนผิวโลหะผสมของสังกะสีกับทองแดง จากนั้นนำไปชุบลงในน้ำที่ต้มกับน้ำประสานดีบุก (เกลือแอมโมเนียคลอไรด์) เพื่อให้ผิวโลหะเปลี่ยนเป็นสีดำต่างกับเส้นเงินหรือทองเหลืองที่ฝังลงไป เมื่อเกิดรอยชำรุดจึงเห็นชัดว่าโลหะที่ฝังนั้นเป็นแผ่นโลหะที่บอบบาง และเนื่องจากตัวภาชนะเป็นโลหะผสมของสังกะสีและทองแดงที่ขึ้นรูปด้วยการหล่อแม่พิมพ์ จึงทำให้มีน้ำหนักมากกว่าเครื่องใช้โลหะชนิดอื่น
(จำนวนผู้เข้าชม 2000 ครั้ง)