พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง นครศรีธรรมราช
จำนวนผู้เข้าชม 1915


พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง นครศรีธรรมราช : www.virtualmuseum.finearts.go.th/nakhonsithammarat

    การจัดตั้งประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากการที่หน่วยศิลปากรที่ 8 กรมศิลปากร สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช(ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลโบราณสถานในเขตภาคใต้ตอนบนในปี พุทธศักราช 2507 ดำเนินการขุดแต่งบูรณะเจดีย์ยักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชระหว่างปี พุทธศักราช 2509 ถึง พุทธศักราช 2510 ได้โบราณวัตถุเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีสถานที่เก็บรักษานอกจากนั้นยังมีโบราณวัตถุที่ได้จากกการสำรวจขุดค้นในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต รวม 7 จังหวัด
    รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่าง ๆ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ไว้ในที่แห่งเดียวกันและจัดตั้งแสดงตามหลักสากลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าของนักเรียนักศึกษาและบรรดาผู้สนใจจึงอนุมัติงบประมาณให้กรมศิลปากรจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
    เมื่อปี พุทธศักราช 2513 โดยมีบริษัทพาณิชย์การไม้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในปี พุทธศักราช 2517 ใช้งบประมาณเป็นเงิน 2,100,000 บาท ค่าจัดทำรั้วและถนนเป็นเงิน 500,000  บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน 2,600,000 (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) สถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายไพรัช ชุติกุล นายช่างพิเศษกองสถาปัตยกรรมผู้จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุ คือ นางจิรา จงกล ภัณฑารักษ์เอก นางสาวณัฏฐภัทร นาวิกชีวิน ภัณฑารักษ์ตรี นายเอกจารี พลกร ช่างตรี และนายอิทธิ ศาสตร์วิเศษวงษาช่างศิลปะตรีกองโบราณคดีกรมศิลปากร
    เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดากิติวัฒนาดุลยโสภาคย์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี)ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชนับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภูมิภาคแห่งที่ 6 ที่ทรงประกอบพิธีเปิด (แห่งแรกคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทศิลปะโบราณคดี
    ปีพุทธศักราช 2539 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ต่อเติมในส่วนที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,800,000 บาท ก่อสร้างโดยบริษัทดำรงก่อสร้างวิศวจำกัดแล้วเสร็จสิ้นในปีพุทธศักราช 2540 ใช้เป็นอาคารสำนักงานอาคารอเนกประสงค์จัดแสดงนิทรรศการพิเศษและกิจกรรมต่างๆ
    ปีพุทธศักราช 2543 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคลังพิพิธภัณฑ์ ค.ส.ล. 2 ชั้น พื้นที่ประมาณ 260 ตารางเมตร 1 หลังและอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุกลางแจ้ง ค.ส.ล. ชั้นเดียวพื้นที่ประมาณ 144 ตารางเมตร 1 หลังด้วยเงินงบประมาณ 3,596,000 บาท (สามล้านห้าแสนเก้าหมื่นหกพันบาทถ้วน) ก่อสร้างโดยบริษัทมงคลวิทย์จำกัด
    ปีพุทธศักราช 2552 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับงบประมาณ (เงินเหลือ - จ่าย) ปรับปรุงทาสีอาคารเป็นเงิน 1,320,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดวรรัตน์ค้าไม้
    ปีพุทธศักราช 2553 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับเงินงบประมาณเพื่อจัดทำแผนแม่บทการจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เป็นเงิน 450,000 บาท โดยบริษัทซิต้านีออนดิสเพลส์แอนด์คอนสตั๊คชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    ปีพุทธศักราช 2554 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับงบประมาณโครงการปรับปรุงการจัดนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ห้องก่อนประวัติศาสตร์เป็นเงิน 3,990,000 บาท (สามล้านเก้าแสนบาทถ้วน) โดยบริษัทเซียมเวิร์คจำกัด
    ปีพุทธศักราช 2556 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับงบประมาณปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ห้องศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นเงิน 5,780,000 บาท (ห้าล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) โดยบริษัทเซียมเวิร์คจำกัดปีพุทธศักราช 2558 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับงบประมาณปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ห้องศาสนาพุทธเป็นเงิน 15,000,000 บาท โดยบริษัทเซียมเวอร์คสจำกัด
    ปีพุทธศักราช 2558 พิพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราชได้รับงบประมาณปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ห้องศาสนาพุทธ เป็นเงิน 15,000,000 บาท โดยบริษัท เซียมเวอร์คส จำกัด
    ปีพุทธศักราช 2559 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับงบประมาณปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ห้องประณีตศิลป์ห้องพระรัตนธัชมุนีห้องบรรยายสรุปพร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นเงิน 14,489,947 บาท (สิบสี่ล้านสี่แสนแปดหมื่นเก้าพันเก้าร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) โดยบริษัทเซียมเวอร์คสจำกัด