กท.๔๗ ตู้ขาหมู (เลขที่เดิม ๙๙)
กท.๔๗ ตู้ขาหมู (เลขที่เดิม ๙๙)
ฝีมือช่าง สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติ เดิมอยู่วัดนางชี กรุงเทพมหานคร
ลักษณะลาย ตู้ลายรดน้ำ เขียนภาพพุทธประวัติและภาพเล่าเรื่อง ทศชาติ ด้านหลังเขียนภาพสีวิจิตร
ตอนบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำและทรงซักผ้าในสระน้ำ ตอนล่างเป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงปลงอสุภกรรมฐาน
เสาขอบตู้ เขียนลายก้านแย่งพุ่มข้าวบิณฑ์และลายเชิงเฉพาะด้านหน้าและด้างข้างขาวซ้าย ส่วนด้านหลังเขียนลายรักร้อยพุ่มข้าวบิณฑ์ใบเทศและลายเชิงเสาขาตู้ เขียนลายกรวยเชิง
ขอบบน ขอบล่าง ด้านหน้าและด้านข้างขวาซ้ายเขียนลายประจำยามสลับกับลายดอก ๘ กลีบเขียนอยู่เหนือลายบัวกนก ส่วนด้านหลังลงทองทึบ
เชิงตู้ ทำเป็นรูปปากสิงห์ทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้าเขียนลายก้านขดออกเถาราชสีห์ คชสีห์ เคล้าภาพจับพระรบกับยักษ์ และลิงรบกับเสนายักษ์ ๒ คู่ เขียนภาพยักษ์และลิงยืนโดดเดี่ยวอยู่ที่ด้านข้างของเชิงตู้ และเขียนภาพเทพนมอยู่ในพุ่มทรงข้าวบิณฑ์อยู่เหนือจมูกสิงห์ ด้านข้างซ้ายเขียนภาพลายก้านขดออกเถาเทพนม และเขียนภาพเทพนมครึ่งองค์อยู่เหนือจมูกสิงห์ ด้านข้างขวาเขียนลายช่อกนกเปลวครุฑคาบเคล้าภาพนรปักษาไกรสรชายหญิง ๑ คู่และเขียนภาพหน้าขบอยู่เหนือจมูกสิงห์ ด้านหลังเขียนภาพพุ่มข้าวบิณฑ์อยู่เหนือจมูกสิงห์มีดารารายอยู่ข้างละ ๒ ดวง
ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู เขียนภาพพุทธประวัติและภาพเล่าเรื่อง ทศชาติ (กท.๔๗)
ศิลปะ รัตนโกสินทร์
ไม้ ลายรดน้ำ
ขนาด สูง ๑๕๑.๕ ซม. กว้าง ๙๘ ซม.
ประวัติ ได้มาจากวัดนางชีโชติการาม เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๔
Manuscript Cabinet on pig-legged stand with scenes from the Life of the Buddha and scenes from the ten previous lives of the Buddha. [BK.47, 99]
Rattanakosin style
Lacquered and gilded wood and the decorative technique called Lai Rot Nam (splashed water pattern)
H. 151.5 cm. W. 98 Cm.
From Wat Nang Chi, Bangkok to the National
Library in 1921