กท.๒๙ ตู้เท้าสิงห์ (เลขที่เดิม ๔)
กท.๒๙ ตู้เท้าสิงห์ (เลขที่เดิม ๔)
ฝีมือช่าง สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติ เดิมเป็นของหอพุทธศาสนสังคหะ ได้มาแต่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ลักษณะลาย ตู้ไม้จำหลักประดับกระจกสี ด้านหน้า ด้านข้างขวาและด้านข้างซ้ายจำหลักลายนูนต่ำ
ลายก้านแย่งพุ่มข้าวบิณฑ์ใบเทศ พื้นลายลงทองทึบและประดับกระจกสีขาว น้ำเงิน และสีเขียว ส่วนพื้นหลังของลายลงรักแดงทึบ กรอบของบานประตูด้านหน้าจำหลักลายบัวและประดับกระจกสีขาวล้วน
ด้านหลัง ลงรักแดงทึบตลอดจากขอบบนลงมาจนถึงขาตู้
เสาขอบตู้ จำหลักลายรักร้อยพุ่มข้าวบิณฑ์ใบเทศและลายกรวยเชิงซึ่งลงทองทึบและประดับกระจกสีขาว ส่วนพื้นหลังของลายลงรักแดงทึบ
เสาขาตู้ จำหลักลายเป็นรูปหน้าสิงห์ แข้งและเล็บสิงห์ เหยียบอยู่บนลูกแก้วที่ลงรักแดงทึบ ที่ตาสิงห์ประดับกระจกสีดำ ฟันสิงห์ลายลงรักแดงทึบ
ท้องไม้ จำหลักลายประแจจีนลงทองทึบ และประดับกระจกสีเขียว จำหลักบัวหลังสิงห์เป็นลายบัวรวนและประดับกระจกสีขาวที่ใต้ท้องไม้
เชิงตู้ ทำเป็นรูปปากสิงห์เฉพาะด้านหน้าและด้านข้างขวาซ้ายจำหลักลายมังกร ๒ ตัว กำลังคาบแก้ว ซึ่งลอยอยู่ในตอนกลางเหนือจมูกสิงห์ บนดวงแก้วประดับกระจกสีขาว ตัวมังกรและพื้นหลังของลายลงรักแดงทึบเชิงตู้ทำต่อกับขาตู้
ตู้พระธรรม บนฐานสิงห์ เป็นตู้ไม้จำหลัก
ประดับกระจกสี (กท.๒๙)
ศิลปะ รัตนโกสินทร์
ไม้ จำหลัก ประดับกระจกสี
ขนาด สูง ๑๗๔ ซม. กว้าง ๙๗.๕ ซม.
ประวัติ ได้มาจากวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๖๕.
Manuscript Cabinet on lion-legged stand is carved and decorated with stained glass. [BK.29, 4]
Rattanakosin style
Wood carved inlaid with stained glassed
H. 174 cm. W. 97.5 cm.
From Wat Arun Ratchawararam Ratchamahawihan.
Bangkok to the National Library
on 4 July 1922