กท.๙๔ ตู้เท้าคู้ (เลขที่เดิม ๘๔, ๖)
กท.๙๔ ตู้เท้าคู้ (เลขที่เดิม ๘๔, ๖)
ฝีมือช่าง สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติ เดิมอยู่วัดหิรัญรูจีวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ลักษณะลาย ตู้ลายรดน้ำ กนกเปลวเครือเถาไขว้เคล้าภาพสัตว์ ภาพจับและภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์
ด้านหลัง ลงรักแดงทึบเสาขอบตู้ ๓ ด้านตกแต่งด้วยลายรักร้อย ตอนล่างของเสาตกแต่งด้วยลายกาบพรหมศร
เสาขาตู้ ลงรักปิดทองทึบใต้เชิงตู้เล็กน้อย นอกนั้นลงรักแดงทึบ
เชิงตู้ ทำเป็นรูปปากสิงห์หน้าตัด ตกแต่งด้วยลายก้านขดทั้ง ๓ ด้าน แต่ด้านหน้ามีรูปคนไว้ผมยาวอยู่ทางมุมล่างทั้งขวาและซ้ายของปากสิงห์
หลังตู้ มีเสาหัวเม็ดสี่เหลี่ยม ๔ เสาลงรักแดงทึบ
ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู ภาพเล่าเรื่อง
รามเกียรติ์ ภาพสัตว์ และลายกนก
เปลวเครือเถาไขว้ (กท.๙๔)
ศิลปะ รัตนโกสินทร์
ไม้ ลายรดน้ำ
ขนาดสูง ๑๖๘ ซม. กว้าง ๑๑๗.๕ ซม.
ประวัติได้มาจากวัดหิรัญรูจีวรวิหาร กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๔๖๕Manuscript Cabinet on pig-legged stand with scene from the Ramakien and a trellis of flame motifs and scrolling vine patterns interlocking bay. [BK.94, 84, 6]
Rattanakosin style
Lacquered and gilded wood and the
decorative technique called Lai Rot Nam
(splashed water pattern)
H. 168 cm. W. 117.5 cm.
From Wat Hiran Ruchi Worawihan,
Bangkok to the National Library
on 30 October 1921