ธบ.๔ ตู้ขาหมู (เลขที่เดิม ๒๔)
ฝีมือช่าง สมัยธนบุรี
ประวัติ ได้มาแต่วัดจันทารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ลักษณะลาย ตู้ลายรดน้ำ
ด้านหลัง ลงรักดำทึบตลอด จากขอบบน เสาขอบตู้จนถึงขอบล่าง ขาตู้ด้านหลังลงรักแดงทึบ
เสาขอบตู้ ขอบบน ขอบล่าง ลงรักปิดทองทึบ
เสาขาตู้ ๓ ด้านเขียนรูปครุฑยุดนาค
เชิงตู้ ทำเป็นรูปหูช้าง เฉพาะด้านหน้าและด้านข้าง ขวาซ้ายจำหลักลายนูนสูงเป็นลายก้านขดลง
รักปิดทองทึบบนตัวลาย พื้นหลังของลายประดับกระจกสีเขียวเฉพาะด้านหน้า ส่วนด้านข้างขวาซ้ายใช้กระจกสีขาวประดับ
ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู เขียนรูปครุฑยุดนาค
เชิงตู้บางส่วนประดับกระจก (ธบ.๔)
ศิลปะ ธนบุรี
ไม้ ลายรดน้ำ
สูง ๑๖๙ ซม. กว้าง ๑๐๓ ซม.
ได้มาจากวัดจันทารามวรวิหารกรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔.
Manuscript Cabinet on pig-legged stand with image of garuda grasping nagas and inlaid with mirrored glass. [Tb.4, 24]
Thonburi style
Lacquered and gilded wood and the decorative technique called Lai Rot Nam (splashed water pattern)
H. 169 cm. W. 103 cm.
From Wat Cuntharam Worawihan, Bangkok, to the National Library on 23 August 1921