ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมูมีลิ้นชัก (ตู้ทรงอายัด) ภาพพระนารายณ์และ ภาพสัตว์ลายกนก (ธบ.๒)



ธบ.๒ ตู้ขาหมูมีลิ้นชัก (ตู้ทรงอายัด) (เลขที่เดิม ๕๑)

ฝีมือช่าง          สมัยธนบุรี

ประวัติ             เดิมอยู่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดสุพรรณบุรี มีข้อความที่บันทึกไว้คู่กับตู้นี้ความว่าตู้ใบนี้เดิมเป็นของพระยาธรรมปรีชา (บุญ) เมื่อบวชเป็นพระราชาคณะอยู่วัดเทพธิดา ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระยาธรรมปรีชาลาสิกขา พระผู้เป็นศิษย์พาไปกับหนังสือแล ตู้อื่นรวมเป็น ๘ ตู้ด้วยกัน เอาไปไว้ที่วัดโพธิ์ชัย ในแขวงจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่มาจนรัชกาลที่ ๕ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี พระยาธรรมปรีชา (บุญ) ทูลถึงเรื่องหนังสือกับตู้ที่ได้ยินว่าไปตกอยู่วัดโพธิ์ชัย จึงเสด็จแวะไปทอดพระเนตร ไปพบทั้งตู้และหนังสืออยู่บริบูรณ์ทรงนำความมาบอกแก่พระยาธรรมปรีชา พระยาธรรมปรีชาทูลถวายตู้และหนังสือนั้น แต่กรมพระยาดำรงฯ จึงโปรดให้รับมายังกรุงเทพฯ ถวายหนังสือทั้งปวงแก่หอพุทธศาสนสังคหะ แต่ตู้ใบนี้ทรงเห็นลายงามจึงตั้งไว้ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทอดพระเนตรเห็น มีรับสั่งอายัดไว้แก่กรมพระยาดำรงฯ ว่าอย่าให้ให้แก่ใครไปเสียจึงได้เรียกตู้ใบนี้ว่า “ตู้ทรงอายัด” เป็นนามสืบมาฯ

ลักษณะลาย      ตู้ลายรดน้ำ

 

                    ด้านหลัง  เป็นประตูตู้ทำด้วยกระจกซึ่งทำขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อใช้

เปิดปิดแทนด้านหน้า เป็นการป้องกันมิให้ภาพลายทองหมอง

                      เสาขอบตู้  ๓ ด้านคือ ด้านหน้า ด้านข้างขวา และด้านข้างซ้าย เขียนลายก้านขดออกเถาเทพบุตร

กึ่งกลางเสา เขียนลายประจำยามรัดอกตกแต่งเชิงเสาด้วยลายกาบพรหมศร หัวเสาตกแต่งด้วยลายกระจังปฏิญาณซึ่ง

ยอดตกลงแบบกระจังรวน

เสาขาตู้  ตกแต่งด้วยภาพครุฑยุดนาคอยู่เหนือภาพสิงโตที่นั่งชันเข่า ทั้งหมดเป็นภาพครึ่งซีกอยู่ตรง

มุมเสาซึ่งสืบเนื่องกับอีกด้านหนึ่งของเสา

ขอบบน ขอบล่าง  เขียนลายประจำยามลูกฟักก้ามปูใบเทศอยู่เหนือลายบัว ขอบบนและขอบล่าง

ของด้านข้างซ้ายลายทองลบเลือนมาก โดยเฉพาะขอบล่างซึ่งคงเหลือลวดลายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

กรอบลิ้นชักและลิ้นชัก  จำหลักลายสังวาลเพชรพวง และประดับกระจกสีขาวแกมเขียว ลงรักแดง

บนพื้นหลังของลาย

ขอบลวดและลูกตั้ง  เขียนลายเถาเลื้อยพันธุ์พฤกษาและลายบัว

เชิงตู้  ทำเป็นรูปปากสิงห์ จำหลักลายพันธุ์พฤกษาดอกและใบเทศ ประดับกระจกสีขาวแกมเขียว และลงรักแดงบนพื้นหลังของลาย


ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมูมีลิ้นชัก (ตู้ทรงอายัด)

ภาพพระนารายณ์และ ภาพสัตว์ ลายกนก (ธบ.๒)

ศิลปะ ธนบุรี

ไม้ ลายรดน้ำ

สูง ๑๗๕.๕ ซม. กว้าง ๑๐๙ ซม.

 

ได้มาจากวัดโพธิ์ชัย จังหวัดสุพรรณบุรี สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕. (สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ อยู่ วัดเทพธิดารามเป็นของพระยาธรรมปรีชา (บุญ) เมื่อลาสิกขาลูกศิษย์นำ ไปไว้ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ กรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดให้รับมายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร รับสั่งอายัดว่า อย่าให้ใครไป จึงเรียกตู้ใบนี้ว่าตู้ทรงอายัด)

 


Manuscript Cabinet with drawers on pig-legged stand with image of Narayana, animals and a trellis of flame motifs (Thai: Kanok). [Tb.2, 51]

Thonburi style

Lacquered and gilded wood and the decorative technique called Lai Rot Nam (splashed water patter)

H. 175.5 cm. W. 109 cm.

From Wat Phochai, Suphanburi, in the reign of King Chulalongkorn or  King Rama V. (In the reign of King Rama II, It was custodian of Phraya Thammaprecha (Boon) at Wat Thepthidaram. When he was leave the Buddhist monkhood, his attendant take this cabinet to Wat  Phochai, Suphanburi. In the reign of King Rama V, when HRH Prince Ditsawarakuman Damrong rajanubhab took this cabinet to Bangkok, King Rama V saw it and order that "don't give this cabinet to another")

https://heritage.asean.org/view/NLT/NLT_TB2#mode=browse



Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

Messenger