ธบ.๓ ตู้ขาหมู (เลขที่เดิม ๒๘)
ฝีมือช่าง สมัยธนบุรี
ประวัติ ได้มาแต่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ลักษณะลาย ตู้ลายรดน้ำกนกเปลวเครือเถาเคล้าภาพ
เสาขอบตู้ ด้านข้างขวาซ้ายและด้านหลังตกแต่งด้วยลายรักร้อยบัวร้อยและลายกาบพรหมศร
ส่วนด้านหน้าตกแต่งด้วยลายรักร้อยบัวร้อย และเขียนภาพท้าวเวสวัณทำเป็นรูปยักษ์ถือไม้คมแฝก ยืนอยู่เหนือบัลลังก์
ภายใต้ซุ้มเรือนแก้วที่เชิงเสาด้านหน้า
เสาขาตู้ ลงรักดำทึบ
ขอบบน ของด้านหน้า เขียนข้อความไว้บนพื้นหลังที่ลงทองทึบ ดังนี้ :-
๏ศุภมัสดุ พระพุทธศักราช ล่วงแล้วได้ ๒๓๒๐ พระวษาเศศสังขยาปัจจุบันวัน ๔ ฯ๕ ๑๒ ค่ำ ปีรกนพศก มหาแตง ตรุณพุทธบุตรมีวิสุทธิสัทธา สัมปยุตญาณนิยม ดำริว่าพระสานาไว้ให้ ๛ ปริยัดติสาศนาถาวรวัฑฒนาการ ขอปะนิธานธรรมูปนิไสยสำเร็จแก่พระพุทธญาณอริยสัจ อันจะตรัสรู้ด้วยดี ทรึ่งจตุราสีติ สหัศธรรมขันธ ใหได้พระอนันตนพโลกกุตตรโดยง่าย ดุทำนายพระไตรยลักษณในสาศนา สำนักนิสมเด็จพระศรีอาริยเมตตัยเจ้านันเถิดเสร็จสิ้นเป็นเงิน ๑๖ ๑ ๚๛
ข้อความทั้งหมดนี้อยู่เหนือลายบัวรวน ส่วนขอบบนของด้านข้างขวาซ้ายและด้านหลังตกแต่งด้วย
ลายเข้มขาบเถาเลื้อยเคล้าดอกสี่กลีบอยู่เหนือลายบัวรวน ขอบล่างทั้ง ๔ ด้านมี ๒ ชั้น ขอบล่างชั้นแรกตกแต่งด้วยลายประดิษฐ์อย่างใหม่คล้ายลายเกลียว อยู่เหนือลายบัวรวน ขอบล่างชั้นที่ ๒ ทำเป็นขอบลวดบัว และตกแต่งด้วยลายรักร้อยบัวร้อย
ท้องไม้ ลงรักดำทึบ และจะเห็นรักดำกะเทาะออกมามากจนเหลือเพียงรักแดง
ตู้พระธรรมบนฐานแบบขาหมูลายรดน้ำกนกเปลว
เครือเถาเคล้าภาพเขียนข้อความตรงขอบบนด้าน
หน้าระบุพุทธศักราช ๒๓๒๐ (ธบ.๓)
ศิลปะ ธนบุรี
ไม้ ลายรดน้ำ
สูง ๑๗๑ ซม. กว้าง ๑๑๓ ซม.
ได้มาจากวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารกรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๖๔.
Manuscript Cabinet on pig-legged stand with a trellis of flame motifs and scrolling vine pattern and write massage on the front edge that Buddhist era 2320
[Tb.3, 28]
Thonburi style
Lacquered and gilded wood and the decorative technique called Lai Rot Nam (splashed water pattern)
H. 171 cm. W. 113 cm.
From Wat Rakhang Khositaram woramahawihan,
Bangkok, to the National Library
on 2 September 1921
https://heritage.asean.org/view/NLT/NLT_TB3#mode=browse