เมืองโบราณสมัยทวารวดี
การสํารวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบหลักฐานแหล่งโบราณคดี สมัยทวารวดีประมาณ ๑๐๖ แหล่ง ราว ๗๐ แหล่ง อยู่ในเขตที่ราบลุ่ม ภาคกลางตามลําน้ําเจ้าพระยา และภาคตะวันออก ส่วนที่เหลือ อยู่ในภาค อีสานประมาณ ๓๐ แหล่ง นอกเหนือจากนั้นอยู่ในเขตภาคเหนือ ๒ - ๓ แหล่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มใกล้ลําน้ําสําคัญ สามารถติดต่อกับ ชุมชนอื่นได้สะดวก โดยเริ่มจากบริเวณเมืองท่าใกล้ชายฝั่งทะเล หรือตาม เส้นทางการค้าในสมัยโบราณ
การสํารวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบหลักฐานแหล่งโบราณคดี สมัยทวารวดีประมาณ ๑๐๖ แหล่ง ราว ๗๐ แหล่ง อยู่ในเขตที่ราบลุ่ม ภาคกลางตามลําน้ําเจ้าพระยา และภาคตะวันออก ส่วนที่เหลือ อยู่ในภาค อีสานประมาณ ๓๐ แหล่ง นอกเหนือจากนั้นอยู่ในเขตภาคเหนือ ๒ - ๓ แหล่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มใกล้ลําน้ําสําคัญ สามารถติดต่อกับ ชุมชนอื่นได้สะดวก โดยเริ่มจากบริเวณเมืองท่าใกล้ชายฝั่งทะเล หรือตาม เส้นทางการค้าในสมัยโบราณ
ผังของเมืองโบราณ
เมืองโบราณในสมัยทวารวดีมีแผนผังไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต มีทั้งที่ เป็นรูปวงกลม วงรี และเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ตัว เมืองด้านหนึ่งมักตั้งอยู่ติดกับลําน้ํา มีคูน้ําและคันดินล้อมรอบ โดยทั่วไป มีเพียงชั้นเดียว อาจใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันอุทกภัย การสาธารณูปโภค หรือการป้องกันศัตรู ไม่พบหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ เป็นฐานเจดีย์ หรืออาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ทั้งภายในและนอกเขตกําแพง เมือง แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณนั้นอยู่กระจายกันออกไปมิได้อยู่อาศัย เฉพาะภายในเขตกําแพงเมือง
สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี
สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี ล้วนแล้วแต่เป็นศาสนสถานทั้งสิ้น อาจ จําแนกได้ ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ํา และศาสนสถาน กลางแจ้ง
ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ํา การใช้ถ้ําเป็นศาสนสถานน่าจะเกิดจากความ ต้องการใช้พื้นที่ธรรมชาติประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ด้วยการสร้าง ประติมากรรมรูปเคารพไว้ภายใน หรือสลักเป็นภาพนูนต่ําไว้บนผนังถ้ํา ก็ ถือว่าเป็นศาสนสถานได้ หรืออาจได้รับคติสืบทอดมาจากกลุ่มชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ตอนปลายที่ใช้ถ้ําสําหรับประกอบพิธีกรรม หรือได้รับอิทธิพล มาจากการใช้ถ้ําเป็นศาสนสถานของอินเดียที่เรียกว่า “เจติยสถาน” เป็น ถ้ําที่เจาะเข้าไปโดยฝีมือมนุษย์ ตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๓ - ๖ และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในสมัยคุปตะ เช่น ถ้ําอชันตา ถ้ํา เอลโลรา เป็นต้น ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ําสมัยทวารวดีในภาคกลางมีอยู่หลาย แห่งด้วยกัน อาทิ ถ้ําฤาษี เขางู จังหวัดราชบุรี ถ้ําพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี ถ้ําเขาถมอรัตน์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และถ้ําคูหาสวรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาคใต้ เป็นต้น
ศาสนสถานกลางแจ้ง คือสถาปัตยกรรมที่พบอยู่โดยทั่วไป ทุกเมือง โบราณในสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ เหลือเพียง ส่วนฐานเท่านั้น อาจเป็นส่วนฐานของสถูปหรือเจดีย์ ส่วนใหญ่มีแผนผังรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีรูปแบบพิเศษแตกต่างออกไปพบ บ้างเป็นจํานวนน้อย ได้แก่ ผังแปดเหลี่ยม และผังกลม
(จำนวนผู้เข้าชม 16385 ครั้ง)