นิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้แบ่งการจัดแสดงเป็น ๘ เรื่อง
๑.ชุมพรวันนี้
๒.สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชุมพรปัจจุบันโดยชนกลุ่มดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่างๆซึ่งเหลือให้เห็นในรูปของโบราณวัตถุเช่นเครื่องมือหินและภาชนะดินเผาเป็นต้นนอกจากนี้ยังมีภาพเขียนสีตามริมเพิงผาวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นของกลุ่มชนใน
สังคมแบบดั้งเดิมที่ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์หลังจากนั้นในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายมีการพัฒนาไปจนถึงระดับที่รู้จักการนำโลหะมาใช้ในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักเป็นแหล่งอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในสังคมและกลุ่มชนในช่วงต้นประวัติศาสตร์
๓.พัฒนาการแรกเริ่มประวัติศาสตร์
กล่าวถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาในชุมชนโบราณเช่นชุมชนโบราณเขาสามแก้วชุมชนโบราณบริเวณลำน้ำตะเภาลำน้ำชุมพรรวมไปจนถึงลำน้ำหลังสวนในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้สันนิษฐานว่าชุมพรเป็นเมืองในเส้นทางข้ามคาบสมุทรเชื่อมต่อเส้นทางการค้าระหว่างซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตกช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐พบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเลอาทิลูกปัดประเภทต่างๆที่ใช้วัสดุจากถิ่นและลูกปัดที่มีตัวอักษรปัลลวะหรือโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งชุมชนโบราณอื่นๆเช่นกลองมโหระทึกเป็นต้น
๔.ประวัติศาสตร์ในชุมพร กล่าวถึงบทบาทของชุมพรในสมัยประวัติศาสตร์ไทยเริ่มตั้งแต่มีชื่อเป็นเมือง๑๒นักษัตรในตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชจากตำนานนี้จึงเชื่อได้ว่ามีเมืองชุมพรก่อนปีพ.ศ.๑๗๑๙และในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเมืองชุมพรอีกว่าครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นตีเมืองแถบลาวเหนือได้กวาดต้อนครัวลาวมาไว้ยังเมืองปะทิวและเมืองชุมพรและยังมีชื่อเมืองชุมพรต่อมาในประวัติศาสตร์ไทย จนถึงปัจจุบันอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นเมืองมาแต่โบราณแต่เมืองชุมพรก็ไม่สามรถค้นพบหลักฐานที่แสดงถึงถิ่นที่ตั้งเมืองได้ย่างชัดเจนว่าเป็นที่ใดกันแน่
๕.ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ และวีรกรรมของยุวชนทหาร เป็นการจัดแสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ที่ก่อให้เกิดวีรกรรมของยุวชนทหารที่ทำการปกป้องการรุกล้ำอธิปไตยจากกองทัพญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพรในช่วงเช้าของวันที่๘ธันวาคมพ.ศ.๒๔๘๔
๖.ชุมพรกับการเป็นเมืองในเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่นเกย์ จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเกิดพายุไต้ฝุ่นในจังหวัดชุมพรโดยสร้างฉากจำลองเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้เสมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์วันที่๔พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๒
๗.ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร กล่าวถึงมรดกดีเด่นในชุมพรทั้งทางธรรมชาติทั้งทางธรรมชาติและทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น
๘.พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ท่านและคุณูปการที่มีต่อแผ่นดินไทยและจังหวัดชุมพร
(จำนวนผู้เข้าชม 2004 ครั้ง)