ในสมัยก่อนเพนียดคล้องช้างเป็นสถานที่สำหรับการจับช้างหน้าพระที่นั่ง ช้าง จึงเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและเป็นพาหนะของชนชั้นสูง สำหรับพระราชดำเนินทางบกในการที่พระมหากษัตริย์ได้เสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างและถือเป็นโอกาสในการคัดเลือกช้าง ถ้าเป็นช้างเผือกด้วยยิ่งแล้วถือว่าเป็นสิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้นำมาเลี้ยงพร้อมประดับยศศักดิ์ให้กับช้างเผือกอีกด้วย
ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ สมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทำการฟื้นฟู พิธีคล้องช้างขึ้น เป็นการริเริ่มของคณะนายทหารค่ายพระนารายณ์มหาราช เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวลพบุรี และหารายได้จากการเก็บเงินค่าผ่านประตูเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะนำรายได้ทั้งหมดไปบำรุงกิจการทหาร ทั้งนี้พิธีคล้องช้างจัดขึ้นที่เขาสำมะลึง (ปัจจุบันเรียกเขาเอราวัณ) บริเวณค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี และเป็นการจัดงานพิธีคล้องช้างครั้งสำคัญของประเทศไทย
เรียบเรียงและรวบรวมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง :
ตามรอยวัดเก่า ลุ่มน้ำลพบุรี. งานคล้องช้าง ณ เขาสำมะลึง จ.ลพบุรี ภาพถ่ายเก่ายุค ๒๔๘๑ ภาพถ่ายโดย เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕,
จาก https://www.youtube.com/watch?v=MbiX3pLhph8, ๒๕๖๕.
มูลนิธิวิกิมีเดีย. เพนียดคล้องช้าง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เพนียดคล้องช้าง.
ศิลปวัฒนธรรม. ทุ่ง ป่า และภู เพื่อล่าโพนช้าง ของสมเด็จพระนารายณ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_10553, ๒๕๖๔.
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). คล้องช้าง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก https://www.fapot.or.th/main/heritage/view/4.
(จำนวนผู้เข้าชม 1447 ครั้ง)