กลุ่มเครื่องมือหินกะเทาะ

         กลุ่มเครื่องมือหินกะเทาะ

         ลักษณะ : เป็นเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว คือมีการกะเทาะผิวหินออกทั้งหมดด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านเป็นผิวหินเดิม เรียกเครื่องมือลักษณะนี้ว่า เครื่องมือหินแบบโฮบินเนียน (Hoabinian) โดยมี การกะเทาะให้เป็นรูปทรงตามแต่ที่ผู้กะเทาะจะใช้งาน ได้แก่ การสับ ตัด หั่น หรือทุบ อาหารหรือไม้ อาจจะมีการเข้าด้ามกับไม้ แต่ไม่หลงเหลือหลักฐานเพราะมีการย่อยสลายแล้ว

         นอกจากการพบเครื่องมือหินกะเทาะ อันเป็นหลักฐานที่แสดงความเก่าแก่ของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่ถ้ำองบะ จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือหินเหล่านี้ยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึง ความร่วมมือของนักโบราณคดีไทย และนักโบราณคดี ผู้วิจัยจากหลากหลายประเทศ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างไทย และเดนมาร์ก ภายหลังจากการค้นพบเครื่องมือหินระหว่างการเป็นเชลยศึกของ ดร.เอช อาร์ ฟาน เฮเกอเรน (Dr. H.R. Van Heekeran) นักโบราณคดีชาวดัชต์ (เนเธอร์แลนด์) โครงการความร่วมมือนี้เป็นการดำเนินงานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีมาตรฐานครั้งแรกในประเทศไทย และส่งผลให้การดำเนินงานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเป็นที่สนใจ เกิดการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในหลายภูมิภาค เช่น แหล่งโบราณคดีศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

         ขนาด : ชิ้นที่ 3 ยาว 10.5 ก.8

         ชนิด : หิน

         อายุ/สมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 12,000 – 4,000 ปีมาแล้ว

         ประวัติ/ตำนาน : ก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 12,000 – 4,000 ปีมาแล้ว

 

 

แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=51727

 

ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th

(จำนวนผู้เข้าชม 11 ครั้ง)

Messenger