เกวียน (ระแทะ)

         เกวียน (ระแทะ)

         ลักษณะ : เกวียน หรือ ระแทะ เป็นยานพาหนะเทียมวัว/ควาย สำหรับเดินทางไกลของของคนในอดีต ทั้งยังเป็นยานพาหนะสำหรับขนสิ่งของ ที่จะนำไปขายค้า หรือย้ายถิ่นฐาน เกวียนสองเล่มนี้เป็นของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เจ้าเมืองพระตะบอง ที่น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียนมีการแกะสลักลวดลายให้มีความวิจิตรมากกว่าเกวียนทั่วไป เกวียนเล่มที่ ๑ เป็นเกวียนสำหรับบรรทุกสิ่งของ ส่วนเกวียนเล่มที่ ๒ เป็นเกวียนสำหรับคนนั่ง มีหลังคาทรงประทุน คลุมเพื่อกันแดดกันฝน ท้ายของประทุนทำเป็นบานหน้าต่างเปิดปิด

         ขนาด : ๒. สูง ๑๗๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๒๓๔ เซนติเมตร ยาว ๔๔๓ เซนติเมตร

         ชนิด : ไม้ แกะสลัก

         อายุ/สมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕

         ประวัติ : ระแทะเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้มาจากเมืองพระตะบอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕

 

แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=52919

 

ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th

(จำนวนผู้เข้าชม 9 ครั้ง)

Messenger