สิงโตในวัฒนธรรมจีน
สิงโตในวัฒนธรรมจีน
หากได้มีโอกาสไปเที่ยวชมตามวัดหรือศาลเจ้าจีน เรามักจะพบประติมากรรมรูปสัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างประหลาดเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้าซึ่งชาวจีนจะเรียกสัตว์ดังกล่าวว่า สิงโต (狮, Shi) อันเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมจีนมาช้านานแม้จะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนก็ตาม ทำให้ชวนสงสัยว่าชาวจีนได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับสิงโตมาจากที่ไหน
มีนักวิชาการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสิงโตไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นอิทธิพลของพุทธศาสนา
จากอินเดีย บ้างก็เชื่อว่ามาจากการติดต่อค้าขายกับชาวเปอร์เซียผ่านเส้นทางสายไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๓๔๑ – ๕๕๑) ซึ่งมีการนำสิงโตมาถวายเป็นบรรณาการดังปรากฏในบันทึกสมัยนั้น ชาวจีนได้ผสมผสานความเชื่อจากดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นลักษณะทางศิลปกรรมของสิงโตจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและผิดแผกไปจากสิงโตในป่า ทั้งนี้ ชาวจีนเชื่อว่าสิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ การปกปักษ์คุ้มครอง ความมั่งคั่ง และช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย จึงมักพบประติมากรรมรูปสิงโตทำหน้าที่เป็นทวารบาลเฝ้าอยู่หน้าทางเข้า ศาสนสถาน อาคารสำคัญ หรือบ้านเรือนของชาวจีนมาช้านาน โดยนิยมสร้างเป็นรูปสิงโตตัวผู้และตัวเมียคู่กันซึ่งแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้จะมีลูกบอลอยู่ใต้อุ้งเท้าขวา ส่วนตัวเมียจะมีลูกสิงโตอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สื่อถึง หยิน – หยาง พลังงานสองขั้วของจักรวาลตามหลักปรัชญาจีน ไม่เพียงเท่านั้น สิงโตยังปรากฏในงานศิลปะแขนงอื่นของจีนอีกด้วย อาทิ การเชิดสิงโต หรือแม้แต่ในการผลิตเครื่องถ้วยซึ่งเริ่มนำสิงโตมาใช้ตกแต่งเครื่องลายครามตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) เป็นต้นมา
ความเชื่อและงานศิลปะเกี่ยวกับสิงโตของจีนเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ผ่านการติดต่อค้าขายและการแลกเปลี่ยนของผู้คน จึงไม่น่าแปลกที่เราจะพบงานศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสิงโตจีนในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนมาแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน
หากได้มีโอกาสไปเที่ยวชมตามวัดหรือศาลเจ้าจีน เรามักจะพบประติมากรรมรูปสัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างประหลาดเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้าซึ่งชาวจีนจะเรียกสัตว์ดังกล่าวว่า สิงโต (狮, Shi) อันเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมจีนมาช้านานแม้จะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนก็ตาม ทำให้ชวนสงสัยว่าชาวจีนได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับสิงโตมาจากที่ไหน
มีนักวิชาการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสิงโตไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นอิทธิพลของพุทธศาสนา
จากอินเดีย บ้างก็เชื่อว่ามาจากการติดต่อค้าขายกับชาวเปอร์เซียผ่านเส้นทางสายไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๓๔๑ – ๕๕๑) ซึ่งมีการนำสิงโตมาถวายเป็นบรรณาการดังปรากฏในบันทึกสมัยนั้น ชาวจีนได้ผสมผสานความเชื่อจากดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นลักษณะทางศิลปกรรมของสิงโตจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและผิดแผกไปจากสิงโตในป่า ทั้งนี้ ชาวจีนเชื่อว่าสิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ การปกปักษ์คุ้มครอง ความมั่งคั่ง และช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย จึงมักพบประติมากรรมรูปสิงโตทำหน้าที่เป็นทวารบาลเฝ้าอยู่หน้าทางเข้า ศาสนสถาน อาคารสำคัญ หรือบ้านเรือนของชาวจีนมาช้านาน โดยนิยมสร้างเป็นรูปสิงโตตัวผู้และตัวเมียคู่กันซึ่งแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้จะมีลูกบอลอยู่ใต้อุ้งเท้าขวา ส่วนตัวเมียจะมีลูกสิงโตอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สื่อถึง หยิน – หยาง พลังงานสองขั้วของจักรวาลตามหลักปรัชญาจีน ไม่เพียงเท่านั้น สิงโตยังปรากฏในงานศิลปะแขนงอื่นของจีนอีกด้วย อาทิ การเชิดสิงโต หรือแม้แต่ในการผลิตเครื่องถ้วยซึ่งเริ่มนำสิงโตมาใช้ตกแต่งเครื่องลายครามตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) เป็นต้นมา
ความเชื่อและงานศิลปะเกี่ยวกับสิงโตของจีนเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ผ่านการติดต่อค้าขายและการแลกเปลี่ยนของผู้คน จึงไม่น่าแปลกที่เราจะพบงานศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสิงโตจีนในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนมาแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน
(จำนวนผู้เข้าชม 1397 ครั้ง)