ท้อ สัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืนยาว
“ท้อ” สัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืนยาว
“ลูกท้อ” หรือ “ลูกพีช” ในการรับรู้ของชาวตะวันตก (ภาษาจีน : 桃子 เถาจื่อ, ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus persica) เป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ก่อนจะแพร่หลายไปยังยุโรปผ่านพ่อค้าชาวเปอร์เซีย และไปถึงทวีปอเมริกาพร้อมนักเดินเรือชาวสเปนในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลูกท้อจึงกลายเป็นผลไม้ที่รู้จักกันทั่วโลกนับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากความสำคัญในฐานะสมุนไพรที่มีสรรพคุณต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่ายแล้ว ลูกท้อยังมีบทบาทต่อวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างมากซึ่งถือว่าลูกท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาวและความเป็นอมตะ และถูกใช้เป็นตัวแทนของเทพเจ้าโซ่ว ๑ ใน ๓ เทพแห่งดวงดาวของลัทธิเต๋า ฝู ลู่ โซ่ว (หรือที่คนไทยคุ้นเคยกันในชื่อ ฮก ลก ซิ่ว) นอกจากนี้ ลูกท้อยังหมายถึงฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากดอกท้อจะบานในเดือนมีนาคมซึ่งเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอันเป็นฤดูกาลที่พืชพรรณต่าง ๆ เริ่มผลิดอกออกผลหลังผ่านพ้นฤดูหนาวที่แห้งแล้ง อีกทั้งชาวจีนยังมีความเชื่อว่าต้นท้อสามารถป้องกันขับไล่ปีศาจได้ จึงนิยมนำต้นท้อหรือกิ่งท้อมาประดับตกแต่งภายในบ้าน ไม่เพียงเท่านั้น ลูกท้อยังปรากฏในตำนานเทพและวรรณกรรมหลายเรื่องของจีน เช่น เชื่อกันว่าพระแม่ซีหวังหมู่ ราชินีสวรรค์ผู้ปกครองเทพฝ่ายหญิง มีสวนท้อวิเศษอยู่บนเขาคุนหลุนที่มีสรรพคุณทำให้ผู้รับประทานเป็นอมตะ ดังที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่ซุนหงอคงได้แอบกินลูกท้อในสวนของพระแม่ซีหวังหมู่จนหมดและกลายเป็นอมตะ หรือในบทประพันธ์ เรื่อง “สามก๊ก” ได้กล่าวว่าเล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยสาบานเป็นพี่น้องกันในสวนท้อของเตียวหุย ซึ่งสวนท้อนั้นอาจจะเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงมิตรภาพของทั้งสามที่มีความยั่งยืนยาวนานดุจลูกท้อ รวมไปถึงซาลาเปาที่ปั้นและแต้มสีแดงให้เหมือนกับลูกท้ออย่างโซ่วเถา (壽桃, ภาษาแต้จิ๋ว : ซิ่วท้อ) อันเป็นอาหารที่ชาวจีนนิยมมอบให้ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุในโอกาสสำคัญ เพื่อเป็นการอวยพรให้มีอายุยืนยาว
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ต้นท้อจึงมีอิทธิพลกับความเชื่อของชาวจีนเป็นอย่างมากเพราะมิได้ปรากฏอยู่แค่ในงานศิลปกรรม งานวรรณศิลป์เท่านั้น หากยังแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีนอีกด้วย เมื่อจีนมีการติดต่อกับดินแดนต่าง ๆ ดินแดนเหล่านั้นก็พลอยได้รับอิทธิพลทางความเชื่อเหล่านี้ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี หรือแม้แต่ประเทศไทยนั่นเอง
“ลูกท้อ” หรือ “ลูกพีช” ในการรับรู้ของชาวตะวันตก (ภาษาจีน : 桃子 เถาจื่อ, ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus persica) เป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ก่อนจะแพร่หลายไปยังยุโรปผ่านพ่อค้าชาวเปอร์เซีย และไปถึงทวีปอเมริกาพร้อมนักเดินเรือชาวสเปนในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลูกท้อจึงกลายเป็นผลไม้ที่รู้จักกันทั่วโลกนับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากความสำคัญในฐานะสมุนไพรที่มีสรรพคุณต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่ายแล้ว ลูกท้อยังมีบทบาทต่อวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างมากซึ่งถือว่าลูกท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาวและความเป็นอมตะ และถูกใช้เป็นตัวแทนของเทพเจ้าโซ่ว ๑ ใน ๓ เทพแห่งดวงดาวของลัทธิเต๋า ฝู ลู่ โซ่ว (หรือที่คนไทยคุ้นเคยกันในชื่อ ฮก ลก ซิ่ว) นอกจากนี้ ลูกท้อยังหมายถึงฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากดอกท้อจะบานในเดือนมีนาคมซึ่งเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอันเป็นฤดูกาลที่พืชพรรณต่าง ๆ เริ่มผลิดอกออกผลหลังผ่านพ้นฤดูหนาวที่แห้งแล้ง อีกทั้งชาวจีนยังมีความเชื่อว่าต้นท้อสามารถป้องกันขับไล่ปีศาจได้ จึงนิยมนำต้นท้อหรือกิ่งท้อมาประดับตกแต่งภายในบ้าน ไม่เพียงเท่านั้น ลูกท้อยังปรากฏในตำนานเทพและวรรณกรรมหลายเรื่องของจีน เช่น เชื่อกันว่าพระแม่ซีหวังหมู่ ราชินีสวรรค์ผู้ปกครองเทพฝ่ายหญิง มีสวนท้อวิเศษอยู่บนเขาคุนหลุนที่มีสรรพคุณทำให้ผู้รับประทานเป็นอมตะ ดังที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่ซุนหงอคงได้แอบกินลูกท้อในสวนของพระแม่ซีหวังหมู่จนหมดและกลายเป็นอมตะ หรือในบทประพันธ์ เรื่อง “สามก๊ก” ได้กล่าวว่าเล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยสาบานเป็นพี่น้องกันในสวนท้อของเตียวหุย ซึ่งสวนท้อนั้นอาจจะเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงมิตรภาพของทั้งสามที่มีความยั่งยืนยาวนานดุจลูกท้อ รวมไปถึงซาลาเปาที่ปั้นและแต้มสีแดงให้เหมือนกับลูกท้ออย่างโซ่วเถา (壽桃, ภาษาแต้จิ๋ว : ซิ่วท้อ) อันเป็นอาหารที่ชาวจีนนิยมมอบให้ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุในโอกาสสำคัญ เพื่อเป็นการอวยพรให้มีอายุยืนยาว
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ต้นท้อจึงมีอิทธิพลกับความเชื่อของชาวจีนเป็นอย่างมากเพราะมิได้ปรากฏอยู่แค่ในงานศิลปกรรม งานวรรณศิลป์เท่านั้น หากยังแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีนอีกด้วย เมื่อจีนมีการติดต่อกับดินแดนต่าง ๆ ดินแดนเหล่านั้นก็พลอยได้รับอิทธิพลทางความเชื่อเหล่านี้ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี หรือแม้แต่ประเทศไทยนั่นเอง
(จำนวนผู้เข้าชม 317 ครั้ง)