บทกวีผาแดง
บทกวีผาแดง
จีนเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยอารยธรรมที่สืบทอดกันมาหลายพันปี นอกจากขนบธรรมเนียมประเพณี แนวคิดหลักปรัชญาแล้ว จีนยังเต็มไปด้วยความรุ่มรวยทางศิลปกรรมหลากหลายแขนง เช่นเดียวกับงานวรรณกรรม ในประวัติศาสตร์จีนจึงพบกวีได้ในทุกยุคสมัย แม้บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์หลายคนก็เป็นกวีที่มีฝีมือจับตัวได้ยาก และกวีนิพนธ์ที่หลงเหลืออยู่นั้นได้ถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะมากมายในเวลาต่อมา เฉกเช่น บทกวีผาแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในบทกวียอดนิยมที่ผู้คนยังคงกล่าวขวัญถึงกระทั่งปัจจุบัน
บทกวีผาแดง (赤壁賦 ชื่อปี้ฟู่ ; Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๐๘๒ (พ.ศ. ๑๖๒๒) โดย ซูซื่อ (苏轼) หรือซูตงโพ (東坡) กวีที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งของราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. ๑๐๓๗ – ๑๑๐๑ หรือ พ.ศ. ๑๕๘๐ – ๑๖๔๔) ขณะที่เขาโดนลดตำแหน่งไปเป็นขุนนางที่เมืองหวงโจว มณฑลหูเป่ย (อยู่ในเขตเมืองหวงกังปัจจุบัน) บทกวีดังกล่าวแบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนที่หนึ่ง เรียกว่า เฉียนชื่อปี้ฟู่ (前赤壁賦; Former Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นในเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ เล่าถึงครั้งซูซื่อและเพื่อนเดินทางเที่ยวชมแก่งกลางน้ำชื่อปี้ (ผาแดง) ในแม่น้ำแยงซีเกียง นอกเมืองหวงโจว โดยนำเรื่องราวของสามก๊กตอนยุทธการที่ผาแดง (หรือตอนโจโฉแตกทัพเรือ) มาเปรียบเปรยว่าทุกสิ่งไม่จีรัง สิ่งใดที่ไม่ใช่ของตนย่อมไม่สามารถครอบครองได้ บทกวีตอนที่สอง เรียกว่า โฮ่วชื่อปี้ฟู่ (後赤壁賦; Latter Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นสามเดือนให้หลังเมื่อซูซื่อและเพื่อนเดินทางไปยังแก่งกลางน้ำชื่อปี้อีกครั้ง ระหว่างทางกลับพวกเขาพบนกกระเรียนตัวหนึ่งบินผ่านไป และในคืนนั้นซูซื่อได้ฝันว่ากระเรียนตัวนั้นคือนักพรตในลัทธิเต๋าแปลงกายมา
บทกวีผาแดงทั้งสองตอนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศจีนและเป็นต้นแบบให้กับงานศิลปกรรมในสมัยหลังมากมาย อาทิ ภาพวาด การแสดง รวมไปถึงการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วย เราจึงพบความนิยมในการตกแต่งเครื่องกระเบื้องจีนด้วยตัวอักษรในบทกวีผาแดง ซึ่งนอกจากสร้างความสวยงามให้กับวัตถุแล้ว ยังเป็นการสืบทอดมรดกทางวรรณกรรมให้ดำรงอยู่ต่อไปอีกทางหนึ่ง
จีนเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยอารยธรรมที่สืบทอดกันมาหลายพันปี นอกจากขนบธรรมเนียมประเพณี แนวคิดหลักปรัชญาแล้ว จีนยังเต็มไปด้วยความรุ่มรวยทางศิลปกรรมหลากหลายแขนง เช่นเดียวกับงานวรรณกรรม ในประวัติศาสตร์จีนจึงพบกวีได้ในทุกยุคสมัย แม้บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์หลายคนก็เป็นกวีที่มีฝีมือจับตัวได้ยาก และกวีนิพนธ์ที่หลงเหลืออยู่นั้นได้ถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะมากมายในเวลาต่อมา เฉกเช่น บทกวีผาแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในบทกวียอดนิยมที่ผู้คนยังคงกล่าวขวัญถึงกระทั่งปัจจุบัน
บทกวีผาแดง (赤壁賦 ชื่อปี้ฟู่ ; Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๐๘๒ (พ.ศ. ๑๖๒๒) โดย ซูซื่อ (苏轼) หรือซูตงโพ (東坡) กวีที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งของราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. ๑๐๓๗ – ๑๑๐๑ หรือ พ.ศ. ๑๕๘๐ – ๑๖๔๔) ขณะที่เขาโดนลดตำแหน่งไปเป็นขุนนางที่เมืองหวงโจว มณฑลหูเป่ย (อยู่ในเขตเมืองหวงกังปัจจุบัน) บทกวีดังกล่าวแบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนที่หนึ่ง เรียกว่า เฉียนชื่อปี้ฟู่ (前赤壁賦; Former Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นในเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ เล่าถึงครั้งซูซื่อและเพื่อนเดินทางเที่ยวชมแก่งกลางน้ำชื่อปี้ (ผาแดง) ในแม่น้ำแยงซีเกียง นอกเมืองหวงโจว โดยนำเรื่องราวของสามก๊กตอนยุทธการที่ผาแดง (หรือตอนโจโฉแตกทัพเรือ) มาเปรียบเปรยว่าทุกสิ่งไม่จีรัง สิ่งใดที่ไม่ใช่ของตนย่อมไม่สามารถครอบครองได้ บทกวีตอนที่สอง เรียกว่า โฮ่วชื่อปี้ฟู่ (後赤壁賦; Latter Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นสามเดือนให้หลังเมื่อซูซื่อและเพื่อนเดินทางไปยังแก่งกลางน้ำชื่อปี้อีกครั้ง ระหว่างทางกลับพวกเขาพบนกกระเรียนตัวหนึ่งบินผ่านไป และในคืนนั้นซูซื่อได้ฝันว่ากระเรียนตัวนั้นคือนักพรตในลัทธิเต๋าแปลงกายมา
บทกวีผาแดงทั้งสองตอนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศจีนและเป็นต้นแบบให้กับงานศิลปกรรมในสมัยหลังมากมาย อาทิ ภาพวาด การแสดง รวมไปถึงการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วย เราจึงพบความนิยมในการตกแต่งเครื่องกระเบื้องจีนด้วยตัวอักษรในบทกวีผาแดง ซึ่งนอกจากสร้างความสวยงามให้กับวัตถุแล้ว ยังเป็นการสืบทอดมรดกทางวรรณกรรมให้ดำรงอยู่ต่อไปอีกทางหนึ่ง
(จำนวนผู้เข้าชม 605 ครั้ง)