สิบสามห้างแห่งกว่างตง
สิบสามห้างแห่งกว่างตง
เครื่องถ้วยจีน เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ไทยนำเข้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ มีรูปแบบและการตกแต่ง
ที่หลากหลายตามความนิยมในแต่ละสมัย โดยมีแรงบันดาลใจมาจากความเชื่อ ปรัชญาจีน บทกวี หรือแม้แต่ภาพทิวทัศน์ ภาพทิวทัศน์แบบหนึ่งที่นิยมวาดบนเครื่องถ้วยกันมากในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1636 – 1912) หรือพ.ศ. ๒๑๗๙ – ๒๔๕๕ คือ ภาพกลุ่มอาคารแบบตะวันตกประดับธงชาติต่าง ๆ ตั้งเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำ ในบางครั้งอาจมีตัวอักษรจีนเขียนกำกับไว้ ซึ่งบรรดากลุ่มผู้ศึกษาเครื่องถ้วยจีนต่างรู้จักกันดีในชื่อ ลายสิบสามห้าง
สิบสามห้าง (十三行 Shisan hang; The Thirteen Factories) หรือบางครั้งเรียกว่า สิบสามห้างแห่งกว่างตง (广州十三行Guangdong Shisan hang; The Canton Factories) เป็นชื่อย่านการค้าของจีนในสมัยราชวงศ์ชิงซึ่งตั้งขนานกับแม่น้ำจูเจียง นอกกำแพงเมืองกว่างโจว (Guangzhou) ทิศใต้ มณฑลกว่างตง (หรือกวางตุ้ง, Gaungdong) อันเป็นเพียงพื้นที่เดียวที่รัฐบาลราชวงศ์ชิงอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้า มาทำการค้ากับจีนได้จากเดิมที่เข้ามาได้ถึงแค่เกาะมาเก๊า และเนื่องจากมีพ่อค้าตะวันตกเข้ามาตั้งสำนักงานอยู่ ๑๓ แห่ง ผู้คนจึงพากันเรียกย่านนี้จนติดปากว่า สิบสามห้าง บริเวณดังกล่าวเป็นตลาดสำคัญของจีนในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 - 19 (พุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔) มีสินค้าเด่น คือ เครื่องกระเบื้อง ใบชา และผ้าไหม โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายจะได้รับอนุญาตให้เช่าพื้นที่ตั้งสำนักงานและโกดังเก็บของในย่านสิบสามห้าง แต่ไม่สามารถออกนอกเขตนี้ได้ พ่อค้าตะวันตกจึงริเริ่มว่าจ้างศิลปินจีนให้วาดภาพเมืองกว่างโจวเพื่อเป็นสื่อให้พวกเขาได้รู้จักเมืองส่วนอื่น ๆ มากขึ้น ซึ่งศิลปินมักจะใช้ภาพอาคารย่านสิบสามห้างเป็นแกนหลักแล้วเสริมด้วยภาพทิวทัศน์ของเมือง แม่น้ำจูเจียง ท่าเรือ และเรือที่เดินทางเข้ามา ภาพวาดสิบสามห้างนี้เป็นที่นิยมมากกระทั่งมีการส่งออกไปขายในโลกตะวันตกอย่างกว้างขวาง ชาวจีนจึงนำภาพดังกล่าวมาตกแต่งสินค้าส่งออกประเภทอื่นอย่างเครื่องกระเบื้องทำให้พบเครื่องถ้วยลายสิบสามห้างปรากฏในหลายพื้นที่ทั่วโลกเช่นเดียวกับสยามหรือประเทศไทย
ทว่าภายหลังจากที่จีนแพ้สงครามฝิ่นครั้งที่สอง (Arrow War) ใน ค.ศ. 1860 (พ.ศ. ๒๔๐๓) จีนถูกบังคับให้เปิดเมืองท่ามากขึ้น ย่านสิบสามห้างจึงถูกลดความสำคัญลง ประจวบกับก่อนหน้านั้นไม่นานได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อ ค.ศ. 1856 (พ.ศ. ๒๓๙๙) ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองจึงแทบไม่หลงเหลือหลักฐานความเจริญในยุคทองให้เห็น มีเพียงภาพวาด บันทึก และเครื่องถ้วยลายสิบสามห้างที่เป็นสิ่งยืนยันถึงย่านการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง
ที่มา :
- Johnathan A. Farris. (2007). “Thirteen Factories of Canton : An Architecture of Sino – Western Collaboration and Confrontation.” Buildings & Landscapes Journal of the Vernacular Architecture Forum 14 (1) : 66 – 83.
- Peter C. Procedure. (2023) Rise & Fall of the Canton Trade System III. Accessed April 26. available from https://visualizingcultures.mit.edu/rise.../cw_essay01.html
- พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. (๒๕๕๐). กระเบื้องถ้วยกะลาแตก. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
- สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี. (๒๕๖๔). สิบสามห้าง: ย่านการค้าในประวัติศาสตร์จากกวางตุ้งถึงบางลำพู. เข้าถึงเมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก http://banglamphumuseum.treasury.go.th/download/article/ article_20210514151702.pdf
เครื่องถ้วยจีน เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ไทยนำเข้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ มีรูปแบบและการตกแต่ง
ที่หลากหลายตามความนิยมในแต่ละสมัย โดยมีแรงบันดาลใจมาจากความเชื่อ ปรัชญาจีน บทกวี หรือแม้แต่ภาพทิวทัศน์ ภาพทิวทัศน์แบบหนึ่งที่นิยมวาดบนเครื่องถ้วยกันมากในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1636 – 1912) หรือพ.ศ. ๒๑๗๙ – ๒๔๕๕ คือ ภาพกลุ่มอาคารแบบตะวันตกประดับธงชาติต่าง ๆ ตั้งเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำ ในบางครั้งอาจมีตัวอักษรจีนเขียนกำกับไว้ ซึ่งบรรดากลุ่มผู้ศึกษาเครื่องถ้วยจีนต่างรู้จักกันดีในชื่อ ลายสิบสามห้าง
สิบสามห้าง (十三行 Shisan hang; The Thirteen Factories) หรือบางครั้งเรียกว่า สิบสามห้างแห่งกว่างตง (广州十三行Guangdong Shisan hang; The Canton Factories) เป็นชื่อย่านการค้าของจีนในสมัยราชวงศ์ชิงซึ่งตั้งขนานกับแม่น้ำจูเจียง นอกกำแพงเมืองกว่างโจว (Guangzhou) ทิศใต้ มณฑลกว่างตง (หรือกวางตุ้ง, Gaungdong) อันเป็นเพียงพื้นที่เดียวที่รัฐบาลราชวงศ์ชิงอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้า มาทำการค้ากับจีนได้จากเดิมที่เข้ามาได้ถึงแค่เกาะมาเก๊า และเนื่องจากมีพ่อค้าตะวันตกเข้ามาตั้งสำนักงานอยู่ ๑๓ แห่ง ผู้คนจึงพากันเรียกย่านนี้จนติดปากว่า สิบสามห้าง บริเวณดังกล่าวเป็นตลาดสำคัญของจีนในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 - 19 (พุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔) มีสินค้าเด่น คือ เครื่องกระเบื้อง ใบชา และผ้าไหม โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายจะได้รับอนุญาตให้เช่าพื้นที่ตั้งสำนักงานและโกดังเก็บของในย่านสิบสามห้าง แต่ไม่สามารถออกนอกเขตนี้ได้ พ่อค้าตะวันตกจึงริเริ่มว่าจ้างศิลปินจีนให้วาดภาพเมืองกว่างโจวเพื่อเป็นสื่อให้พวกเขาได้รู้จักเมืองส่วนอื่น ๆ มากขึ้น ซึ่งศิลปินมักจะใช้ภาพอาคารย่านสิบสามห้างเป็นแกนหลักแล้วเสริมด้วยภาพทิวทัศน์ของเมือง แม่น้ำจูเจียง ท่าเรือ และเรือที่เดินทางเข้ามา ภาพวาดสิบสามห้างนี้เป็นที่นิยมมากกระทั่งมีการส่งออกไปขายในโลกตะวันตกอย่างกว้างขวาง ชาวจีนจึงนำภาพดังกล่าวมาตกแต่งสินค้าส่งออกประเภทอื่นอย่างเครื่องกระเบื้องทำให้พบเครื่องถ้วยลายสิบสามห้างปรากฏในหลายพื้นที่ทั่วโลกเช่นเดียวกับสยามหรือประเทศไทย
ทว่าภายหลังจากที่จีนแพ้สงครามฝิ่นครั้งที่สอง (Arrow War) ใน ค.ศ. 1860 (พ.ศ. ๒๔๐๓) จีนถูกบังคับให้เปิดเมืองท่ามากขึ้น ย่านสิบสามห้างจึงถูกลดความสำคัญลง ประจวบกับก่อนหน้านั้นไม่นานได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อ ค.ศ. 1856 (พ.ศ. ๒๓๙๙) ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองจึงแทบไม่หลงเหลือหลักฐานความเจริญในยุคทองให้เห็น มีเพียงภาพวาด บันทึก และเครื่องถ้วยลายสิบสามห้างที่เป็นสิ่งยืนยันถึงย่านการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง
ที่มา :
- Johnathan A. Farris. (2007). “Thirteen Factories of Canton : An Architecture of Sino – Western Collaboration and Confrontation.” Buildings & Landscapes Journal of the Vernacular Architecture Forum 14 (1) : 66 – 83.
- Peter C. Procedure. (2023) Rise & Fall of the Canton Trade System III. Accessed April 26. available from https://visualizingcultures.mit.edu/rise.../cw_essay01.html
- พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. (๒๕๕๐). กระเบื้องถ้วยกะลาแตก. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
- สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี. (๒๕๖๔). สิบสามห้าง: ย่านการค้าในประวัติศาสตร์จากกวางตุ้งถึงบางลำพู. เข้าถึงเมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก http://banglamphumuseum.treasury.go.th/download/article/ article_20210514151702.pdf
(จำนวนผู้เข้าชม 582 ครั้ง)