มังกร จากความเชื่อในตำนานสู่สัญลักษณ์มงคล
“มังกร” จากความเชื่อในตำนานสู่สัญลักษณ์มงคล
มังกร (ภาษาอังกฤษ : Dragon, ภาษาจีน : 龙 อ่านว่า หลง) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสัตว์วิเศษในตำนานและวรรณกรรมของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกหากแต่มีลักษณะแตกต่างกันไปตาความเชื่อของแต่ละชนชาติโดยมังกรปรากฏเด่นชัดในดินแดนแถบเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวัฒนธรรมจีนให้ความสำคัญกับมังกรจนถึงกับยกย่องเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเลยทีเดียว
มังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียแตกต่างกันทั้งในแง่ของลักษณะและสัญลักษณ์โดยลักษณะของมังกรในดินแดนเอเชียตะวันออกเป็นสัตว์ผสมจากสัตว์ ๙ ชนิด จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีกแต่สามารถบินไปในอากาศได้ขณะที่มังกรของทางยุโรปจะมีขา มีปีก และสามารถพ่นไฟได้ ในแง่สัญลักษณ์ในคติความเชื่อของจีนซึ่งแผ่ขยายไปยังวัฒนธรรมเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนั้นจะถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนและแหล่งน้ำ มีสถานะเป็นเทพเจ้ารวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิซึ่งเป็นสมมติเทพดังจะเห็นได้จากการสงวนให้มังกร ๕ เล็บ ใช้ประดับตกแต่งบนข้าวของเครื่องใช้ของจักรพรรดิและรัชทายาทลำดับที่ ๑ - ๒ เท่านั้น สำหรับรัชทายาทในลำดับถัดมาหรือขุนนางในระดับต่าง ๆ จะจำแนกด้วยการประดับมังกรที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน นอกจากนี้มังกรยังถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออกในศาสตร์ฮวงจุ้ยอีกด้วย ขณะที่ตำนานทางยุโรปจะถือมังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้ายซึ่งเป็นคติที่สืบมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรปและยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษ ผู้ใดสามารถสังหารมังกรได้จะได้รับการยอมรับและขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เหตุนี้มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ทั้งที่มีตัวตนจริงและกษัตริย์ในตำนาน
จากความเชื่อในวัฒนธรรมจีน มังกรจึงติดตัวชาวจีนไปทุกหนทุกแห่งและได้แผ่ขยายความเชื่อไปยังดินแดนที่ไปถึงโดยปรากฏในงานศิลปกรรมจีนทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือแม้แต่ของใช้อย่างเครื่องถ้วยก็ตามซึ่งนอกจากจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อเสริมบารมีและความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของและผู้อยู่อาศัยเช่นกัน
มังกร (ภาษาอังกฤษ : Dragon, ภาษาจีน : 龙 อ่านว่า หลง) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสัตว์วิเศษในตำนานและวรรณกรรมของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกหากแต่มีลักษณะแตกต่างกันไปตาความเชื่อของแต่ละชนชาติโดยมังกรปรากฏเด่นชัดในดินแดนแถบเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวัฒนธรรมจีนให้ความสำคัญกับมังกรจนถึงกับยกย่องเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเลยทีเดียว
มังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียแตกต่างกันทั้งในแง่ของลักษณะและสัญลักษณ์โดยลักษณะของมังกรในดินแดนเอเชียตะวันออกเป็นสัตว์ผสมจากสัตว์ ๙ ชนิด จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีกแต่สามารถบินไปในอากาศได้ขณะที่มังกรของทางยุโรปจะมีขา มีปีก และสามารถพ่นไฟได้ ในแง่สัญลักษณ์ในคติความเชื่อของจีนซึ่งแผ่ขยายไปยังวัฒนธรรมเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนั้นจะถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนและแหล่งน้ำ มีสถานะเป็นเทพเจ้ารวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิซึ่งเป็นสมมติเทพดังจะเห็นได้จากการสงวนให้มังกร ๕ เล็บ ใช้ประดับตกแต่งบนข้าวของเครื่องใช้ของจักรพรรดิและรัชทายาทลำดับที่ ๑ - ๒ เท่านั้น สำหรับรัชทายาทในลำดับถัดมาหรือขุนนางในระดับต่าง ๆ จะจำแนกด้วยการประดับมังกรที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน นอกจากนี้มังกรยังถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออกในศาสตร์ฮวงจุ้ยอีกด้วย ขณะที่ตำนานทางยุโรปจะถือมังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้ายซึ่งเป็นคติที่สืบมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรปและยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษ ผู้ใดสามารถสังหารมังกรได้จะได้รับการยอมรับและขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เหตุนี้มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ทั้งที่มีตัวตนจริงและกษัตริย์ในตำนาน
จากความเชื่อในวัฒนธรรมจีน มังกรจึงติดตัวชาวจีนไปทุกหนทุกแห่งและได้แผ่ขยายความเชื่อไปยังดินแดนที่ไปถึงโดยปรากฏในงานศิลปกรรมจีนทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือแม้แต่ของใช้อย่างเครื่องถ้วยก็ตามซึ่งนอกจากจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อเสริมบารมีและความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของและผู้อยู่อาศัยเช่นกัน
(จำนวนผู้เข้าชม 606 ครั้ง)