สวรรคโลก
“สวรรคโลก” ชื่อนี้มีที่มา
เรื่องราวของเมืองสวรรคโลกสืบย้อนไปได้ถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในนาม “เมืองเชลียง” ตามที่ปรากฏในเอกสารของล้านนาและพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง จนเมื่อมีการสถาปนากรุงสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ตั้งเมืองเชลียงหรือ “เมืองศรีสัชนาลัย” เป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองสำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย ก่อนที่จะมีการย้ายศูนย์กลางอำนาจของเมืองศรีสัชนาลัยไปยังบริเวณที่ราบติดเชิงเขาทางด้านเหนือซึ่งเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๑) เมืองศรีสัชนาลัยเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และมีพัฒนาการการผลิตเครื่องปั้นดินเผาจนกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในเวลาต่อมา กระทั่งอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ท่ามกลางการแผ่ขยายอำนาจระหว่างกรุงศรีอยุธยาและล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง อยุธยาได้เรียกขานเมืองศรีสัชนาลัยในนาม “เมืองสวรรคโลก” โดยพบหลักฐานปรากฏชื่อเมืองสวรรคโลกที่เก่าที่สุดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑) ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าชื่อเมืองสวรรคโลกอาจเป็นที่มาของคำว่า “สังคโลก” ที่เป็นชื่อเรียกเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัย อันเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาเรียกขานชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองเชียงชื่น”
แม้ชื่อเมืองสวรรคโลกจะมีมาอย่างยาวนาน แต่สถานที่ตั้งในปัจจุบันกลับไม่ได้เป็นที่ตั้งเดิมของเมืองสวรรคโลกในอดีตเนื่องจากภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองสวรรคโลกถูกทิ้งร้างไป ผู้คนอพยพหนีสงครามไปคนละทิศละทาง แม้จะมีความพยายามรวบรวมผู้คนกลับมาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในสมัยธนบุรีก็ตาม เมืองสวรรคโลกก็ยังมีผู้คนเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองได้อย่างเข้มแข็ง เหตุนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อพยพชาวเมืองมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าชัยระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายมายังบ้านวังไม้ขอนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ ซึ่งถือเป็นการตั้งบ้านตั้งเมืองอย่างถาวรและเรียกขานนามเมือง “สวรรคโลก” ตามถิ่นฐานเดิมที่อพยพโยกย้ายมาก่อนจะกลายมาเป็นจังหวัดสวรรคโลกและอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน
เรื่องราวของเมืองสวรรคโลกสืบย้อนไปได้ถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในนาม “เมืองเชลียง” ตามที่ปรากฏในเอกสารของล้านนาและพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง จนเมื่อมีการสถาปนากรุงสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ตั้งเมืองเชลียงหรือ “เมืองศรีสัชนาลัย” เป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองสำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย ก่อนที่จะมีการย้ายศูนย์กลางอำนาจของเมืองศรีสัชนาลัยไปยังบริเวณที่ราบติดเชิงเขาทางด้านเหนือซึ่งเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๑) เมืองศรีสัชนาลัยเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และมีพัฒนาการการผลิตเครื่องปั้นดินเผาจนกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในเวลาต่อมา กระทั่งอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ท่ามกลางการแผ่ขยายอำนาจระหว่างกรุงศรีอยุธยาและล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง อยุธยาได้เรียกขานเมืองศรีสัชนาลัยในนาม “เมืองสวรรคโลก” โดยพบหลักฐานปรากฏชื่อเมืองสวรรคโลกที่เก่าที่สุดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑) ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าชื่อเมืองสวรรคโลกอาจเป็นที่มาของคำว่า “สังคโลก” ที่เป็นชื่อเรียกเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัย อันเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาเรียกขานชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองเชียงชื่น”
แม้ชื่อเมืองสวรรคโลกจะมีมาอย่างยาวนาน แต่สถานที่ตั้งในปัจจุบันกลับไม่ได้เป็นที่ตั้งเดิมของเมืองสวรรคโลกในอดีตเนื่องจากภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองสวรรคโลกถูกทิ้งร้างไป ผู้คนอพยพหนีสงครามไปคนละทิศละทาง แม้จะมีความพยายามรวบรวมผู้คนกลับมาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในสมัยธนบุรีก็ตาม เมืองสวรรคโลกก็ยังมีผู้คนเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองได้อย่างเข้มแข็ง เหตุนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อพยพชาวเมืองมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าชัยระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายมายังบ้านวังไม้ขอนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ ซึ่งถือเป็นการตั้งบ้านตั้งเมืองอย่างถาวรและเรียกขานนามเมือง “สวรรคโลก” ตามถิ่นฐานเดิมที่อพยพโยกย้ายมาก่อนจะกลายมาเป็นจังหวัดสวรรคโลกและอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน
(จำนวนผู้เข้าชม 6176 ครั้ง)