กี๋
ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมากในการผลิตเครื่องเคลือบสังคโลก คือ การเผา ซึ่งการเผาภาชนะที่เป็นเครื่องเคลือบหรือต้องการความสวยงามเป็นพิเศษ จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดหนึ่งที่ทำจากดินเผาหรือดินทนไฟ เรียกว่า กี๋ รองอยู่ที่ก้นภาชนะแต่ละใบที่จะนำเข้าเตาเผา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเคลือบจากเครื่องเคลือบเหล่านั้นไหลไปติดกับพื้นเตาหรือติดกันเอง และทำให้ภาชนะเสียหายได้
กี๋ที่พบจากแหล่งเตาที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเก่าสุโขทัย มี ๒ แบบ คือ กี๋งบน้ำอ้อย มีลักษณะเป็นแผ่นดินเผารูปกลมแบน มีขาด้านล่าง ๓ - ๘ ขา กว้างประมาณ ๕ - ๑๒ เซนติเมตร สูง ๑ - ๑.๕ เซนติเมตร และ กี๋ท่อ ซึ่งเป็นกี๋ทรงกระบอกที่มีโคนใหญ่ปลายเล็ก มีความสูงตั้งแต่ ๕ - ๔๐ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง ๔ - ๑๐ เซนติเมตร
การใช้กี๋ท่อจะทำโดยฝังกี๋ไว้ในพื้นเตาซึ่งเป็นพื้นทราย ประมาณ ๕ - ๑๐ เซนติเมตร เพื่อให้กี๋สามารถตั้งได้อย่างมั่นคง และวางภาชนะไว้บนกี๋เพียงชิ้นเดียว จึงมักใช้กับภาชนะที่ต้องการความสวยงาม ไม่ต้องการให้มีตำหนิ ทำให้แหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเน้นการผลิตเครื่องคลือบที่มีความสวยงาม นิยมใช้กี๋ท่อในการเผาภาชนะ ต่างจากเตาเผาที่เมืองสุโขทัยที่ต้องการผลิตภาชนะให้ได้จำนวนมาก จึงมักวางภาชนะในเตาเผาซ้อนกันหลายใบโดยใช้กี๋งบน้ำอ้อยคั่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีตำหนิเป็นรอยขากี๋ที่ด้านในของภาชนะ
การใช้กี๋ท่อจะทำโดยฝังกี๋ไว้ในพื้นเตาซึ่งเป็นพื้นทราย ประมาณ ๕ - ๑๐ เซนติเมตร เพื่อให้กี๋สามารถตั้งได้อย่างมั่นคง และวางภาชนะไว้บนกี๋เพียงชิ้นเดียว จึงมักใช้กับภาชนะที่ต้องการความสวยงาม ไม่ต้องการให้มีตำหนิ ทำให้แหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเน้นการผลิตเครื่องคลือบที่มีความสวยงาม นิยมใช้กี๋ท่อในการเผาภาชนะ ต่างจากเตาเผาที่เมืองสุโขทัยที่ต้องการผลิตภาชนะให้ได้จำนวนมาก จึงมักวางภาชนะในเตาเผาซ้อนกันหลายใบโดยใช้กี๋งบน้ำอ้อยคั่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีตำหนิเป็นรอยขากี๋ที่ด้านในของภาชนะ
(จำนวนผู้เข้าชม 2099 ครั้ง)