...

กู่นางอุสา.

"กู่นางอุสา" ศาสนสถานสองกาลเวลา

เพิงหินขนาดเล็กกลางลานกว้างที่ถูกล้อมรอบด้วยหลักหิน หรือ "ใบเสมาหิน" ขนาดใหญ่ทั้ง 8 ใบ นั้นถูกเรียกชื่อตามนิทานอุสา-บารสว่า "กู่นางอุสา" อันเป็นสถานที่เก็บกระดูกของนางอุสาและพี่เลี้ยง

แต่ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานถึงหน้าที่การใช้งานของกู่นางอุสาได้ดังต่อไปนี้

>>> 3000-1500 ปีมาแล้ว "กู่นางอุสา" อาจยังไม่มีชื่อเรียก หรือมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่คนปัจจุบันลืมไปแล้ว รวมทั้งยังไม่มีการนำใบเสมามาปักล้อมรอบ เป็นเพียงเพิงหินรูปร่างแปลกตาที่มีคนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาทำพิธีกรรมบางอย่างโดยการ นำสีแดงมาวาดไว้ (ซึ่งภาพวาดที่ว่านี้ก็เหลือมาถึงปัจจุบัน เรียกว่า ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์)

>>>ราว 1000 ปีก่อน ตรงกับสมัยทวารวดี อันเป็นสมัยที่ประเทศไทยเริ่มรับศาสนาจากอินเดียเข้ามา (เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์) บริเวณพื้นที่ภูพระบาทก็ได้รับเอาศาสนาพุทธเข้ามาด้วยเช่นกัน ตอนนี้แหละที่กู่นางอุสาได้มีการนำเอาหลักหินหรือเสมาหินมาปักล้อมรอบทั้ง 8 ทิศ และเข้าใจว่า กู่นางอุสาก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนา (ถึงตรงนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า กู่นางอุสา เคยมีชื่อเรียกว่าอะไร)

>>>ราว 200-300 ปีก่อน ตรงกับช่วงปลายอยุธยา-สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีหลักฐานถึงการอพยพเข้ามาของชาวไทยพวนยังพื้นที่รอบๆภูพระบาท และได้นำเอานิทานอุสา-บารสเข้ามาเล่าเรื่องราวโบราณสถานบนภูพระบาท (เข้าใจว่าเป็นช่วงเวลาที่ เพิงหินขนาดเล็กเพิงนี้ ได้ชื่อว่า กู่นางอุสา)
ดาวน์โหลดไฟล์: กู่นางอุสา.pdf
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 1650 ครั้ง)


Messenger