เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต
แนะนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ
นิทรรศการ “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์”
เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต
เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต ชนิดราคา ๑ สลึง
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๖
นายศักดิ์สิทธิ์ เพชรเภรี มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ในนามนายสำราญ – นางสมวงศ์ เพชรเภรี บิดามารดา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑
ลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน ขอบมีเฟือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางขวา ริมขอบซ้ายมีพระปรมาภิไธย “มหาวชิราวุธ” ริมขอบขวามีคำว่า “สยามินทร์” ด้านหลังเป็นรูปช้างเอราวัณ ริมขอบซ้ายมีคำว่า “สยามรัฐ” ริมขอบขวามีตัวเลข “๒๔๖๒” เป็นปีพุทธศักราชที่ผลิต ริมขอบล่างเป็นคำว่า “หนึ่งสลึง”
เหรียญชนิดนี้ประกอบด้วยราคาบาท สลึง และ ๒ สลึง สร้างในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ซึ่งราคาโลหะเงินเพิ่มสูงขึ้นมากจึงได้ลดส่วนผสมของเงินที่ใช้ผลิตไปเป็นอัตราส่วนเงิน ๖๕ ส่วน ต่อทองแดง ๓๕ ส่วน และในปีเดียวกันนี้เงินมีราคาสูงขึ้นไปอีกจึงได้ลดอัตราส่วนเงินกับทองแดงไปเป็น ๕๐ ส่วน ต่อ ๕๐ ส่วน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ต่อมาเมื่อสงครามโลกยุติลง ราคาโลหะเงินค่อยลดลง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของเหรียญเงินนี้เป็นเงินต่อทองแดง ๖๕ ต่อ ๓๕
นิทรรศการ “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์”
เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต
เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต ชนิดราคา ๑ สลึง
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๖
นายศักดิ์สิทธิ์ เพชรเภรี มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ในนามนายสำราญ – นางสมวงศ์ เพชรเภรี บิดามารดา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑
ลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน ขอบมีเฟือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางขวา ริมขอบซ้ายมีพระปรมาภิไธย “มหาวชิราวุธ” ริมขอบขวามีคำว่า “สยามินทร์” ด้านหลังเป็นรูปช้างเอราวัณ ริมขอบซ้ายมีคำว่า “สยามรัฐ” ริมขอบขวามีตัวเลข “๒๔๖๒” เป็นปีพุทธศักราชที่ผลิต ริมขอบล่างเป็นคำว่า “หนึ่งสลึง”
เหรียญชนิดนี้ประกอบด้วยราคาบาท สลึง และ ๒ สลึง สร้างในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ซึ่งราคาโลหะเงินเพิ่มสูงขึ้นมากจึงได้ลดส่วนผสมของเงินที่ใช้ผลิตไปเป็นอัตราส่วนเงิน ๖๕ ส่วน ต่อทองแดง ๓๕ ส่วน และในปีเดียวกันนี้เงินมีราคาสูงขึ้นไปอีกจึงได้ลดอัตราส่วนเงินกับทองแดงไปเป็น ๕๐ ส่วน ต่อ ๕๐ ส่วน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ต่อมาเมื่อสงครามโลกยุติลง ราคาโลหะเงินค่อยลดลง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของเหรียญเงินนี้เป็นเงินต่อทองแดง ๖๕ ต่อ ๓๕
(จำนวนผู้เข้าชม 362 ครั้ง)