นิทานอีสปในยุคแรกของไทย นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
#นิทานอีสปในยุคแรกของไทย
เมื่อเห็นประโยค “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า” คงพอจะเดากันได้ว่า มาจากนิทานอีสปนั่นเอง เมื่อนิทานจบ ก็จะมีข้อคิดแถมท้ายนิทานแต่ละเรื่อง นิทานอีสปเป็นนิทานสั้นๆ เนื้อเรื่องอ่านสนุกมีข้อคิด เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำนิทานอีสปมาแปลเป็นภาษาไทย โดยมีหลักฐานการเผยแพร่นิทานอีสปสู่ประเทศไทยที่ชัดเจน ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 6 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้นิทานอีสปได้รับความนิยมแพร่หลายในประเทศไทยในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ 3-4
นิทานอีสป ของ หมอบรัดเลย์
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ชื่อว่า จดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอ เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2387 และพบว่าในหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ 7 มีการเรียบเรียงนิทานอีสปลงพิมพ์ จำนวน 2 เรื่อง โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นนิทานอีสป แต่ได้ตั้งชื่อว่า คำเปรียบข้อหนึ่ง และ คำเปรียบข้อสอง และมีชื่อเรื่องนิทานภาษาอังกฤษกำกับไว้ หลังจากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2407 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ได้กลับมาออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอร์อีกครั้ง และได้เรียบเรียงนิทานอีสป ลงพิมพ์ด้วย รวมทั้งสิ้น 44 เรื่อง
สมัยรัชกาลที่ 5
อิศปปกรณัม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและชุมนุมกวี
มีการกล่าวถึงการแปลนิทานอีสปในพระราชวิราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2447 จึงคาดว่า นิทานอีสป หรือ อิศปปกรณัมนี้ คงจะแปลในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2447 โดยได้ทรงแปลนิทานอีสปจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยร่วมกับปราชญ์และกวีในราชสำนักอีกหลายท่าน อาทิ พระยาศรีสุนทรโวหาร พระยาราชสัมภารากร พระเทพกระวี กรมหลวงพิชิตปรีชา กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ขุนท่องสื่อ พระทิพยวินัย และขุนภักดีอาษา ซึ่งไม่ทราบว่าทรงแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษฉบับใด ลักษณะเป็นนิทานร้อยแก้วขนาดสั้น ท้ายนิทานแต่ละเรื่องด้วยจะมีการสรุปเนื้อหาข้อคิดจากนิทาน และประพันธ์โคลงสี่สุภาพ เพื่อเป็นสุภาษิตสอนใจ ในลักษณะ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” มีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อเป็นคติสอนใจและแนวทางแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง ปัจจุบันต้นฉบับตัวเขียนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อีสปปกรณัม เก็บรักษาอยู่ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ
สมัยรัชกาลที่ 6
นิทานอีสป ของ ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (พ.ศ. 2453)
นิทานอีสปสำนวนของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสหรือที่รู้จักกันในชื่อ ภราดา ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) นิทานอีสปสำนวนนี้ จัดพิมพ์แทรกอยู่ในหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของโรงเรียนอัสสัมชัญ ภายในเล่มมีการสอนการอ่าน การเขียน หลักเกณฑ์ของภาษา และนิทานต่างๆ เพื่อให้ เด็กได้ฝึกอ่าน รวมทั้งนิทานอีสปด้วย
นิทานอีสป ของพระจรัสชวนะพันธ์
หนังสือนิทานอีสปของพระจรัสชวนะพันธ์ หรือ มหาอำมาตย์โท พระยาเมธาธิบดี จัดทำขึ้นโดยได้รับคำแนะนำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ให้แปลและเรียบเรียงหนังสือนิทานอีสปเป็นภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2456) เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับหัดอ่านของเด็กชั้นมูลศึกษา (เทียบเท่าชั้นประถมศึกษาในปัจจุบัน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ จำนวนพิมพ์ 30,000 เล่ม ราคาเล่มละ 25 สตางค์ มีนิทานทั้งสิ้น 45 เรื่อง มีคติธรรมสอนใจ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” อยู่ท้ายนิทานทุกเรื่อง
บรรณานุกรม
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. อิศปปกรณำ: นิทานอีสป ฉบับสมุดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
ดาวรัตน์ ชูทรัพย์. อิศปปกรณัม: วรรณกรรมแปลจากตะวันตกยุคแรกของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2562.
เมธาธิบดี, พระยา. แบบเรียนภาษาไทย นิทานอีสป. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก http://164.115.27.97/digital/items/show/10202
ฮีแลร์, ฟ. ดรุณศึกษา ตอนกลาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก
http://164.115.27.97/digital/items/show/19645
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
#นิทานอีสป
#บรรณารักษ์ชวนรู้
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เมื่อเห็นประโยค “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า” คงพอจะเดากันได้ว่า มาจากนิทานอีสปนั่นเอง เมื่อนิทานจบ ก็จะมีข้อคิดแถมท้ายนิทานแต่ละเรื่อง นิทานอีสปเป็นนิทานสั้นๆ เนื้อเรื่องอ่านสนุกมีข้อคิด เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำนิทานอีสปมาแปลเป็นภาษาไทย โดยมีหลักฐานการเผยแพร่นิทานอีสปสู่ประเทศไทยที่ชัดเจน ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 6 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้นิทานอีสปได้รับความนิยมแพร่หลายในประเทศไทยในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ 3-4
นิทานอีสป ของ หมอบรัดเลย์
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ชื่อว่า จดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอ เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2387 และพบว่าในหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ 7 มีการเรียบเรียงนิทานอีสปลงพิมพ์ จำนวน 2 เรื่อง โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นนิทานอีสป แต่ได้ตั้งชื่อว่า คำเปรียบข้อหนึ่ง และ คำเปรียบข้อสอง และมีชื่อเรื่องนิทานภาษาอังกฤษกำกับไว้ หลังจากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2407 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ได้กลับมาออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอร์อีกครั้ง และได้เรียบเรียงนิทานอีสป ลงพิมพ์ด้วย รวมทั้งสิ้น 44 เรื่อง
สมัยรัชกาลที่ 5
อิศปปกรณัม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและชุมนุมกวี
มีการกล่าวถึงการแปลนิทานอีสปในพระราชวิราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2447 จึงคาดว่า นิทานอีสป หรือ อิศปปกรณัมนี้ คงจะแปลในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2447 โดยได้ทรงแปลนิทานอีสปจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยร่วมกับปราชญ์และกวีในราชสำนักอีกหลายท่าน อาทิ พระยาศรีสุนทรโวหาร พระยาราชสัมภารากร พระเทพกระวี กรมหลวงพิชิตปรีชา กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ขุนท่องสื่อ พระทิพยวินัย และขุนภักดีอาษา ซึ่งไม่ทราบว่าทรงแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษฉบับใด ลักษณะเป็นนิทานร้อยแก้วขนาดสั้น ท้ายนิทานแต่ละเรื่องด้วยจะมีการสรุปเนื้อหาข้อคิดจากนิทาน และประพันธ์โคลงสี่สุภาพ เพื่อเป็นสุภาษิตสอนใจ ในลักษณะ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” มีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อเป็นคติสอนใจและแนวทางแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง ปัจจุบันต้นฉบับตัวเขียนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อีสปปกรณัม เก็บรักษาอยู่ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ
สมัยรัชกาลที่ 6
นิทานอีสป ของ ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (พ.ศ. 2453)
นิทานอีสปสำนวนของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสหรือที่รู้จักกันในชื่อ ภราดา ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) นิทานอีสปสำนวนนี้ จัดพิมพ์แทรกอยู่ในหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของโรงเรียนอัสสัมชัญ ภายในเล่มมีการสอนการอ่าน การเขียน หลักเกณฑ์ของภาษา และนิทานต่างๆ เพื่อให้ เด็กได้ฝึกอ่าน รวมทั้งนิทานอีสปด้วย
นิทานอีสป ของพระจรัสชวนะพันธ์
หนังสือนิทานอีสปของพระจรัสชวนะพันธ์ หรือ มหาอำมาตย์โท พระยาเมธาธิบดี จัดทำขึ้นโดยได้รับคำแนะนำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ให้แปลและเรียบเรียงหนังสือนิทานอีสปเป็นภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2456) เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับหัดอ่านของเด็กชั้นมูลศึกษา (เทียบเท่าชั้นประถมศึกษาในปัจจุบัน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ จำนวนพิมพ์ 30,000 เล่ม ราคาเล่มละ 25 สตางค์ มีนิทานทั้งสิ้น 45 เรื่อง มีคติธรรมสอนใจ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” อยู่ท้ายนิทานทุกเรื่อง
บรรณานุกรม
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. อิศปปกรณำ: นิทานอีสป ฉบับสมุดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
ดาวรัตน์ ชูทรัพย์. อิศปปกรณัม: วรรณกรรมแปลจากตะวันตกยุคแรกของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2562.
เมธาธิบดี, พระยา. แบบเรียนภาษาไทย นิทานอีสป. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก http://164.115.27.97/digital/items/show/10202
ฮีแลร์, ฟ. ดรุณศึกษา ตอนกลาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก
http://164.115.27.97/digital/items/show/19645
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
#นิทานอีสป
#บรรณารักษ์ชวนรู้
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 362 ครั้ง)