ศิลปกรรมแห่งสายน้ำ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
องค์ความจากหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
เรื่อง "ศิลปกรรมแห่งสายน้ำ : เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์"
เรียบเรียงโดย นางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
กระบวนพยุหยาตราชลมารค [พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา-ชน-ละ-มาก] หมายถึง ริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวในสมัยโบราณเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบกันมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย กระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ได้จัดสืบทอดต่อมาทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบัน
การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้กล่าวได้ว่าได้วิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือ ในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมกองทัพ โดยที่เรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในกระบวนเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย (เรือพระราชพิธี, ๒๕๔๒)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเรือพระที่นั่งมาตั้งแต่รัชกาลพระมหาจักรพรรดิ คือ เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) มีเรือพระที่นั่งสุพรรษวิมานนาวา ซึ่งทรงใช้เพื่อเสด็จไปเมืองเพชรบุรีและสามร้อยยอด (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘)
ปัจจุบัน เรือพระราชพิธีนับเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจัดเก็บอยู่ในโรงเก็บเรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมศิลปากร ยกฐานะโรงเก็บเรือพระราชพิธีขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งเรือพระราชพิธีที่จัดเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑแห่งชาติฯ ขณะนี้มีด้วยกันรวม ๘ ลำ (เรือ วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มเจ้าพระยา, ๒๕๔๕) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ที่ถือว่ามีความงดงามในเชิงศิลปกรรม และเป็นเรือพระที่นั่งที่สำคัญที่สุดลำหนึ่งของชาติไทย
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
เรื่อง "ศิลปกรรมแห่งสายน้ำ : เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์"
เรียบเรียงโดย นางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
กระบวนพยุหยาตราชลมารค [พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา-ชน-ละ-มาก] หมายถึง ริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวในสมัยโบราณเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบกันมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย กระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ได้จัดสืบทอดต่อมาทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบัน
การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้กล่าวได้ว่าได้วิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือ ในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมกองทัพ โดยที่เรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในกระบวนเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย (เรือพระราชพิธี, ๒๕๔๒)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเรือพระที่นั่งมาตั้งแต่รัชกาลพระมหาจักรพรรดิ คือ เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) มีเรือพระที่นั่งสุพรรษวิมานนาวา ซึ่งทรงใช้เพื่อเสด็จไปเมืองเพชรบุรีและสามร้อยยอด (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘)
ปัจจุบัน เรือพระราชพิธีนับเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจัดเก็บอยู่ในโรงเก็บเรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมศิลปากร ยกฐานะโรงเก็บเรือพระราชพิธีขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งเรือพระราชพิธีที่จัดเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑแห่งชาติฯ ขณะนี้มีด้วยกันรวม ๘ ลำ (เรือ วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มเจ้าพระยา, ๒๕๔๕) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ที่ถือว่ามีความงดงามในเชิงศิลปกรรม และเป็นเรือพระที่นั่งที่สำคัญที่สุดลำหนึ่งของชาติไทย
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
(จำนวนผู้เข้าชม 465 ครั้ง)