น้ำถุ้ง
องค์ความรู้ เรื่อง น้ำถุ้ง
เรียบเรียงโดย พิมพ์สวาท จิตวรรณา
เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
น้ำถุ้ง เป็นภาชนะที่ใช้ตักน้ำจากบ่อน้ำ ทำด้วยไม้ไผ่ มีรูปทรงกรวยป้าน ก้นแหลม มีงวงหรือหูจับทำด้วยไม้ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เป็นการออกแบบที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาของชาวชนบทภาคเหนือ สำหรับการใช้งานตามความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากชาวล้านนามักจะขุดบ่อน้ำไว้ใช้สำหรับใช้ในครัวเรือน บ่อน้ำที่ขุดมีความลึกเกินกว่าที่จะเอื้อมมือตักได้ จึงจำเป็นต้องใช้ภาชนะสำหรับตักน้ำขึ้นมาใช้ การสานน้ำถุ้ง เริ่มที่การทำแบบไม้รูปทรงคล้ายน้ำถุ้งคว่ำหรือบางรายก็ใช้น้ำถุ้งเก่าเป็นแม่แบบ ใช้ตอกแบนเป็นโครงเส้นยืนวางทับไขว้กันบนแบบในลักษณะรัศมีออกจากศูนย์กลาง ใช้ตอกส่วนผิวเส้นเล็กสานขัดวนขึ้นมาแบบลายก้นหอยจากศูนย์กลางส่วนก้น ๔-๕ รอบแล้วสลับเส้นที่บางแต่กว้างกว่ามาสานต่ออีกจนได้ระดับความสูงประมาณ ๑๕ เซนติเมตร จึงตัดปลายตอก เมื่อได้โครงไม้ไผ่เสร็จแล้วก็ทามูลควายเป็นการอุดรูรั่วไว้ชั้นหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงติดงวงแล้วนำไปลงชัน ทางภาคเหนือเรียกว่า “ขี้หย้า” ซึ่งเป็นยางไม้ที่เกิดจากแมลงตัวเล็ก ๆ สีแดงคล้ายแมงหวี่ ก่อรังตามต้นเหียง ต้นรัง และต้นแงะ(ต้นเต็ง) ลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวหม่นก่อนทาต้องนำมาตำแล้วร่อนเอาผงละเอียดผสมกับน้ำมันยางหรือน้ำมันก๊าดทาเคลือบผิวหรือหากต้องการความรวดเร็วอาจจะไม่ลงมูลสัตว์แต่ต้องใช้ผงชันผสมน้ำมันก๊าดทาทับผิว ก็จะได้น้ำถุ้งที่ไม่มีรูรั่ว ทนน้ำ หรือบางบ้านก็อาจนำสังกะสีมาดัดแปลงแทนไม้ไผ่ซึ่งมีความคงทนแต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ อาจเกิดสนิมได้ รูปทรงของน้ำถุ้ง ที่เป็นกรวยป้าน คือปากกว้าง ก้นแหลมโค้งมน ทำให้น้ำถุ้งจมผ่านผิวน้ำได้เร็วขึ้น หูที่ทำจากไม้ไขว้กันก็จะเพิ่มน้ำหนักช่วยกดปากน้ำถุ้งให้จมลงและน้ำเข้าได้ง่ายเมื่อโยนลงไปในบ่อน้ำ ปัจจุบัน การใช้น้ำถุ้งเป็นภาชนะตักน้ำจากบ่อแทบไม่มีให้เห็น แต่ละบ้านมีการใช้น้ำประปาแทนการตักน้ำจากบ่อน้ำ น้ำถุ้งจึงเปลี่ยนบทบาทจากภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นภาชนะที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่เพื่อความสวยงาม
#องค์ความรู้
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เรียบเรียงโดย พิมพ์สวาท จิตวรรณา
เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
น้ำถุ้ง เป็นภาชนะที่ใช้ตักน้ำจากบ่อน้ำ ทำด้วยไม้ไผ่ มีรูปทรงกรวยป้าน ก้นแหลม มีงวงหรือหูจับทำด้วยไม้ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เป็นการออกแบบที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาของชาวชนบทภาคเหนือ สำหรับการใช้งานตามความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากชาวล้านนามักจะขุดบ่อน้ำไว้ใช้สำหรับใช้ในครัวเรือน บ่อน้ำที่ขุดมีความลึกเกินกว่าที่จะเอื้อมมือตักได้ จึงจำเป็นต้องใช้ภาชนะสำหรับตักน้ำขึ้นมาใช้ การสานน้ำถุ้ง เริ่มที่การทำแบบไม้รูปทรงคล้ายน้ำถุ้งคว่ำหรือบางรายก็ใช้น้ำถุ้งเก่าเป็นแม่แบบ ใช้ตอกแบนเป็นโครงเส้นยืนวางทับไขว้กันบนแบบในลักษณะรัศมีออกจากศูนย์กลาง ใช้ตอกส่วนผิวเส้นเล็กสานขัดวนขึ้นมาแบบลายก้นหอยจากศูนย์กลางส่วนก้น ๔-๕ รอบแล้วสลับเส้นที่บางแต่กว้างกว่ามาสานต่ออีกจนได้ระดับความสูงประมาณ ๑๕ เซนติเมตร จึงตัดปลายตอก เมื่อได้โครงไม้ไผ่เสร็จแล้วก็ทามูลควายเป็นการอุดรูรั่วไว้ชั้นหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงติดงวงแล้วนำไปลงชัน ทางภาคเหนือเรียกว่า “ขี้หย้า” ซึ่งเป็นยางไม้ที่เกิดจากแมลงตัวเล็ก ๆ สีแดงคล้ายแมงหวี่ ก่อรังตามต้นเหียง ต้นรัง และต้นแงะ(ต้นเต็ง) ลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวหม่นก่อนทาต้องนำมาตำแล้วร่อนเอาผงละเอียดผสมกับน้ำมันยางหรือน้ำมันก๊าดทาเคลือบผิวหรือหากต้องการความรวดเร็วอาจจะไม่ลงมูลสัตว์แต่ต้องใช้ผงชันผสมน้ำมันก๊าดทาทับผิว ก็จะได้น้ำถุ้งที่ไม่มีรูรั่ว ทนน้ำ หรือบางบ้านก็อาจนำสังกะสีมาดัดแปลงแทนไม้ไผ่ซึ่งมีความคงทนแต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ อาจเกิดสนิมได้ รูปทรงของน้ำถุ้ง ที่เป็นกรวยป้าน คือปากกว้าง ก้นแหลมโค้งมน ทำให้น้ำถุ้งจมผ่านผิวน้ำได้เร็วขึ้น หูที่ทำจากไม้ไขว้กันก็จะเพิ่มน้ำหนักช่วยกดปากน้ำถุ้งให้จมลงและน้ำเข้าได้ง่ายเมื่อโยนลงไปในบ่อน้ำ ปัจจุบัน การใช้น้ำถุ้งเป็นภาชนะตักน้ำจากบ่อแทบไม่มีให้เห็น แต่ละบ้านมีการใช้น้ำประปาแทนการตักน้ำจากบ่อน้ำ น้ำถุ้งจึงเปลี่ยนบทบาทจากภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นภาชนะที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่เพื่อความสวยงาม
#องค์ความรู้
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 1236 ครั้ง)