แนะนำหนังสือหายาก จดหมายจางวางหร่ำ
แนะนำหนังสือหายาก
จดหมายจางวางหร่ำเล่มนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์เอก พระยาเกษตรรักษา (เจียง โปษะกฤษณะ)
เป็นพระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นวรรณกรรมคำสอนในรูปแบบของจดหมายจากพ่อ คือ นายจางวางหร่ำ เศรษฐีเมืองฉะเชิงเทรา ไปถึงลูกชาย นายสนธิ์ ผู้ออกไปเรียนวิชาอยู่ในเมืองอังกฤษ จดหมาย 7 ฉบับ ที่ถ้อยคำในเล่มแม้สำนวนจะดูเก่าตามยุคสมัย เนื่องจากผ่านกาลเวลามายาวนาน แต่เนื้อหาคำสอนยังคงไม่ล้าสมัย ให้ข้อคิดเตือนใจในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การใช้เงิน การมีครอบครัวได้จนถึงปัจจุบัน
จดหมายฉบับที่ 1 ถึงนายสนธิ์ บุตร์ ผู้ออกไปเปนนักเรียนอยู่ในประเทศอังกฤษ
จดหมายฉบับที่ 2 มีถึงบุตร์ชาย เมื่อได้เห็นใช้เงินฟุ่มเฟือยนัก
จดหมายฉบับที่ 3 ถึงนายสนธิ์ ผู้บุตร์ ผู้ได้บอกว่าจะขอไปเรียนยุนิเวอร์ซิตี เมื่อไล่ได้เปน บี.เอ. แล้วจึงจะกลับ
จดหมายฉบับที่ 4 มีถึงนายสนธิ์ผู้บุตร์ เมื่อนายสนธิ์บอกเข้ามาว่าเวลากลับจากยุโรป จะขออ้อมกลับทางอเมริกาแลญี่ปุ่น ด้วยการเที่ยวดูภูมิฐานบ้านเมืองต่างประเทศ ย่อมนับว่าเปนการเรียนวิชาประเภทหนึ่งเหมือนกัน
จดหมายฉบับที่ 5 เขียนถึงนายสนธิ์ ผู้บัตร์ เมื่อนายสนธิ์ขอถอนคำเรื่องที่คิดจะกลับอ้อมทางอเมริกาและญี่ปุ่น อนึ่งเมื่อได้เขียนจดหมายฉบับที่ 4 ไปถึงบุตร์ชายแล้ว จางวางหร่ำก็ออกจากฉะเชิงเทราไปธุระทางเชียงใหม่ นายสนธิ์กลับมาจากยุโรปยังไม่ได้พบกับบิดา แต่ได้เข้าทำการในบริษัทไม่สู้พอใจอยู่บ้าง จึงเขียนหนังสือฟ้องไปยังบิดา
จดหมายฉบับที่ 6 เขียนถึงนายสนธิ์ ผู้บัตร์ เมื่อได้ทราบว่าลูกชายคิดจะมีเมีย
จดหมายฉบับที่ 7 (ฉบับที่ผู้แต่งเขียนเพิ่มขึ้น)
"การที่จะเรียนวิชาได้ด้วยวิธีใดนั้นไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่กับตัวผู้เรียนต่างหาก เปรียบเหมือนแตงกวาจะดองด้วยน้ำซ่มฝรั่งก็ได้ ดองด้วยน้ำกระเทียมก็ได้ เมื่อดองแล้วอร่อยทั้งสองอย่าง ข้อสำคัญคือ แตงกวาที่เอาลงดองจะต้องเปนแตงที่ยังไม่เน่า บุคคลที่สืบเสาะร่ำเรียนวิชาก็เหมือนแตงกวาดอง ถ้านิสัยใจคอมันเน่าเสียแล้วถึงจะร่ำเรียนด้วยวิธีใด มันก็คงไม่เปนเรื่องทั้งสิ้น"
สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่ออ่านในรูปแบบ e-book ได้ค่ะ
จดหมายจางวางหร่ำเล่มนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์เอก พระยาเกษตรรักษา (เจียง โปษะกฤษณะ)
เป็นพระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นวรรณกรรมคำสอนในรูปแบบของจดหมายจากพ่อ คือ นายจางวางหร่ำ เศรษฐีเมืองฉะเชิงเทรา ไปถึงลูกชาย นายสนธิ์ ผู้ออกไปเรียนวิชาอยู่ในเมืองอังกฤษ จดหมาย 7 ฉบับ ที่ถ้อยคำในเล่มแม้สำนวนจะดูเก่าตามยุคสมัย เนื่องจากผ่านกาลเวลามายาวนาน แต่เนื้อหาคำสอนยังคงไม่ล้าสมัย ให้ข้อคิดเตือนใจในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การใช้เงิน การมีครอบครัวได้จนถึงปัจจุบัน
จดหมายฉบับที่ 1 ถึงนายสนธิ์ บุตร์ ผู้ออกไปเปนนักเรียนอยู่ในประเทศอังกฤษ
จดหมายฉบับที่ 2 มีถึงบุตร์ชาย เมื่อได้เห็นใช้เงินฟุ่มเฟือยนัก
จดหมายฉบับที่ 3 ถึงนายสนธิ์ ผู้บุตร์ ผู้ได้บอกว่าจะขอไปเรียนยุนิเวอร์ซิตี เมื่อไล่ได้เปน บี.เอ. แล้วจึงจะกลับ
จดหมายฉบับที่ 4 มีถึงนายสนธิ์ผู้บุตร์ เมื่อนายสนธิ์บอกเข้ามาว่าเวลากลับจากยุโรป จะขออ้อมกลับทางอเมริกาแลญี่ปุ่น ด้วยการเที่ยวดูภูมิฐานบ้านเมืองต่างประเทศ ย่อมนับว่าเปนการเรียนวิชาประเภทหนึ่งเหมือนกัน
จดหมายฉบับที่ 5 เขียนถึงนายสนธิ์ ผู้บัตร์ เมื่อนายสนธิ์ขอถอนคำเรื่องที่คิดจะกลับอ้อมทางอเมริกาและญี่ปุ่น อนึ่งเมื่อได้เขียนจดหมายฉบับที่ 4 ไปถึงบุตร์ชายแล้ว จางวางหร่ำก็ออกจากฉะเชิงเทราไปธุระทางเชียงใหม่ นายสนธิ์กลับมาจากยุโรปยังไม่ได้พบกับบิดา แต่ได้เข้าทำการในบริษัทไม่สู้พอใจอยู่บ้าง จึงเขียนหนังสือฟ้องไปยังบิดา
จดหมายฉบับที่ 6 เขียนถึงนายสนธิ์ ผู้บัตร์ เมื่อได้ทราบว่าลูกชายคิดจะมีเมีย
จดหมายฉบับที่ 7 (ฉบับที่ผู้แต่งเขียนเพิ่มขึ้น)
"การที่จะเรียนวิชาได้ด้วยวิธีใดนั้นไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่กับตัวผู้เรียนต่างหาก เปรียบเหมือนแตงกวาจะดองด้วยน้ำซ่มฝรั่งก็ได้ ดองด้วยน้ำกระเทียมก็ได้ เมื่อดองแล้วอร่อยทั้งสองอย่าง ข้อสำคัญคือ แตงกวาที่เอาลงดองจะต้องเปนแตงที่ยังไม่เน่า บุคคลที่สืบเสาะร่ำเรียนวิชาก็เหมือนแตงกวาดอง ถ้านิสัยใจคอมันเน่าเสียแล้วถึงจะร่ำเรียนด้วยวิธีใด มันก็คงไม่เปนเรื่องทั้งสิ้น"
สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่ออ่านในรูปแบบ e-book ได้ค่ะ
(จำนวนผู้เข้าชม 896 ครั้ง)