เสื้อยันต์
องค์ความรู้ เรื่อง เสื้อยันต์
เรียบเรียงโดย นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
การสักคาถาอาคมหรือเลขยันต์ต่างๆ ลงบนผิวหนังจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในอดีต แต่การสักเป็นเรื่องที่เจ็บปวดและต้องใช้เวลานาน ดังนั้นในสมัยต่อมามีการคิดเปลี่ยนแปลงแทนที่จะสักลงบนผิวหนังมาใช้วิธีการเขียนลงบนผ้าทำเป็น “เสื้อยันต์สวมใส่” จึงได้เกิดมีเสื้อยันต์ขึ้น โดยเฉพาะในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองปรากฏว่าเสื้อยันต์เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งเสื้อยันต์สีแดงและสีขาว (ส. พลายน้อย, ๒๕๓๙, น.๑๓๖)
คำว่า “เสื้อยันต์” หมายถึง (น.) แผ่นผ้าลงยันต์ที่ทำเป็นรูปเสื้ออย่างหลวมๆ สวมเพื่อป้องกันอาวุธยามศึก (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๗, น.๗๖๔) ผ้ายันต์หรือประเจียดคือการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ บนผืนผ้าใช้เป็นเครื่องรางโดยการโพกศีรษะ ผูกแขน หากลงที่เสื้อจะเรียกว่า “เสื้อยันต์” การทำผ้ายันต์ต้องเป็นผ้าที่บริสุทธิ์ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลย้อมด้วยน้ำว่าน ถ้าเป็นยันต์ที่มีคุณทางด้านคงกระพันต้องย้อมด้วยว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ถ้าเป็นผ้ายันต์ทางเมตตาต้องย้อมด้วยว่านเสน่ห์จันทร์ แล้วลงอักขระด้วยน้ำหมึกที่ผสมด้วยดีสัตว์ ๕ ชนิด ได้แก่ ดีไก่ดำ ดีงู ดีเต่า ดีวัว และดีเสือ อานุภาพของผ้ายันต์หรือผ้าประเจียดจะมีตามยันต์ที่ลง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหจะมีอานุภาพทางป้องกันภูตผีปีศาจกันคุณไสย ยันต์ปิโยจะมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เมื่อพกไปที่ใดจะเป็นที่รักใคร่เมตตาของคนทั้งหลาย (คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ๒๕๕๓) ดังนั้นเสื้อยันต์และเสื้อยันต์ยันต์ก่าสะท้อน เป็นยันต์ที่ให้ผลทางป้องกันอาวุธ (วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ๒๕๕๘, น.๑๙)
*ตัวอย่างเสื้อยันต์ ที่จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่**
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เรียบเรียงโดย นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
การสักคาถาอาคมหรือเลขยันต์ต่างๆ ลงบนผิวหนังจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในอดีต แต่การสักเป็นเรื่องที่เจ็บปวดและต้องใช้เวลานาน ดังนั้นในสมัยต่อมามีการคิดเปลี่ยนแปลงแทนที่จะสักลงบนผิวหนังมาใช้วิธีการเขียนลงบนผ้าทำเป็น “เสื้อยันต์สวมใส่” จึงได้เกิดมีเสื้อยันต์ขึ้น โดยเฉพาะในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองปรากฏว่าเสื้อยันต์เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งเสื้อยันต์สีแดงและสีขาว (ส. พลายน้อย, ๒๕๓๙, น.๑๓๖)
คำว่า “เสื้อยันต์” หมายถึง (น.) แผ่นผ้าลงยันต์ที่ทำเป็นรูปเสื้ออย่างหลวมๆ สวมเพื่อป้องกันอาวุธยามศึก (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๗, น.๗๖๔) ผ้ายันต์หรือประเจียดคือการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ บนผืนผ้าใช้เป็นเครื่องรางโดยการโพกศีรษะ ผูกแขน หากลงที่เสื้อจะเรียกว่า “เสื้อยันต์” การทำผ้ายันต์ต้องเป็นผ้าที่บริสุทธิ์ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลย้อมด้วยน้ำว่าน ถ้าเป็นยันต์ที่มีคุณทางด้านคงกระพันต้องย้อมด้วยว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ถ้าเป็นผ้ายันต์ทางเมตตาต้องย้อมด้วยว่านเสน่ห์จันทร์ แล้วลงอักขระด้วยน้ำหมึกที่ผสมด้วยดีสัตว์ ๕ ชนิด ได้แก่ ดีไก่ดำ ดีงู ดีเต่า ดีวัว และดีเสือ อานุภาพของผ้ายันต์หรือผ้าประเจียดจะมีตามยันต์ที่ลง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหจะมีอานุภาพทางป้องกันภูตผีปีศาจกันคุณไสย ยันต์ปิโยจะมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เมื่อพกไปที่ใดจะเป็นที่รักใคร่เมตตาของคนทั้งหลาย (คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ๒๕๕๓) ดังนั้นเสื้อยันต์และเสื้อยันต์ยันต์ก่าสะท้อน เป็นยันต์ที่ให้ผลทางป้องกันอาวุธ (วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ๒๕๕๘, น.๑๙)
*ตัวอย่างเสื้อยันต์ ที่จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่**
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 8132 ครั้ง)