มอญซ่อนสยาม
ชื่อเรื่อง : มอญซ่อนสยาม : จากสาละวินถึงถิ่นแม่กลอง (เล่ม 1)
ความผูกพันสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน (เล่ม 2)
ลุ่มน้ำจากเหนือจรดใต้ (เล่ม 3)
ผู้เขียน : บุญยงค์ เกศเทศ
สำนักพิมพ์ : กากะเยีย
ปีพิมพ์ : 2561
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-7661-57-5 (ล.1)/978-616-7661-58-2 (ล.2)/978-616-7661-59-9 (ล.3)
เลขเรียกหนังสือ : 305.89593 บ532ม ล.1- ล.3
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : ชาติพันธุ์มอญ เริ่มสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นราวพุทธศตวรรษที่ 12 ปรากฎชื่อเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี ทะละ ตะวันเต หรือทวันเท หงสาวดี หรือพะโค เมาะตะมะ ในแถบลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำอิระวดี ต่อมาขยับขยายอาณาบริเวณไปยังลุ่มน้ำต่างๆ และตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักรสยาม โดยชาวมอญมีความเชี่ยวชาญด้านการทำนา ทำสวน การประมง นอกจากนี้ยังมีความชำนาญในด้านศิลปกรรมหลากหลายแขนง เช่น การปั้นดิน ภาชนะดินเผา การปั้นอิฐ (อิฐมอญ) การขึ้นล่องทางเรือ เป็นต้น รวมถึงอาหารการกิน ศิลปะ ภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวมอญสืบทอดมาจากบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่องยาวนาน "มอญซ่อนสยาม" เป็นสารคดีว่าด้วยชาติพันธ์ุมอญในอาณาจักรสยาม ซึ่งผู้เขียนได้ลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลทุกภูมิภาค จากการพบปะพูดคุยกับชาวมอญเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาในหลากหลายสาระ โดยมอญซ่อนสยามได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เล่ม ประกอบด้วย "จากสาละวินถึงถิ่นแม่กลอง (เล่ม 1)" ได้แก่ พื้นภูมิความเป็นมา : ตำนานหินรูปหัวฤาษี ราชอาณาจักรมอญ มหาเจดีย์มุเตา ต้นบูซายัค เมืองมะละแหม่ง / ลุ่มน้ำแม่กลองตอนบน : สังขละบุรีหรือเมืองท่าขนุน ทองผาภูมิ มณีเมืองกาญจน์ ด่านเจดีย์สามองค์ บ้านม่วง ชุมชนมอญโบราณจากอดีตถึงปัจจุบัน / ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง : มอญ บางช้าง ปากคลองอัมพวา จิตรกรรมฝาผนังอันทรงคุณค่าในพระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม ถนนเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นที่ดอนกระเบื้อง "ความผูกพันกับสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน (เล่ม2)" ได้แก่ ความผูกพันกับสยาม ลุ่มน้พดจ้าพระยาและท่าจีน : ตำนานตุ่มสามโคก ชุมชนมอญวัดศาลาแดงเหนือเชียงรากน้อย เล่าย้อนมอญปากเกร็ด คลองบางหลวง วัดรามัญประดิษฐาราม ตำนานการสร้างเขื่อนนครเขื่อน ชุมชนมอญเสากระโดง วัดทองบ่อ ขนอนหลวง บางปะอิน / ลุ่มน้ำท่าจีน : วัดเกาะ ภูมิสถานคนมอญเมืองสมุทรสาคร ชุมชนกระทุ่มมืด วัดสโมสร คลองหม่อมแช่ม คลองบางกระดี่ แขวงแสมดำ บางขุนเทียน บางจะเกร็ง วัดศรัทธาธรรม เจ็ดริ้ว บ้านแพ้ว และ "ลุ่มน้ำจากเหนือจรดใต้ (เล่ม3)" ได้แก่ ลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก-ปิง-วัง-ยม-น่าน ได้แก่ ป่ามะม่วง ชุมชนมอญน้ำปิงสมัยพระยาตาก หลากหลายสกุลมอญในเมืองระแหง บ้านหนองดู่-บ่อคาว-หนองคอบ วัดนามอญ ศรีสำโรง สุโขทัย / ลุ่มน้ำตะวันตก-สะแกกรัง ได้แก่ มอญทุ่งเข็น ตำบลทุ่งคอก ชุมชนมอญบ้านเก่า หนองฉาง เมืองอุทัยธานี จากตำบล บางมอญ ผ่านบางนา ถึงบางสงบ / ลุ่มน้ำตะวันออก-ปราจีนบุรี-บางปะกง : ตำนานขุนอินทร์ นายกองมอญ บ้านพระเพลิง ตำบลนกออก บ้านพลับพลา เมืองกระโทก คุ้งตำหนัก บางตะบูน มอญปลายแม่น้ำเพชรบุรี หม้อตะนน และ หม้อตาล ศิลปะภูมิปัญญาของคนมอญ / ลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง : บ้านคนเมืองใน ที่ไผ่พระ ใต้โค้งทุ่งอ่าว เมืองพุนพิน สุราษฎร์ธานี ตำนานพญาท่าข้าม แม่น้ำสองสี ตาปี-พุมดวง คนมอญ ปรากฎในจารึกพงศาวดารเมืองนครฯ และวัดท่ามอญ ต้นตระกูลมอญ ตำบลท่าประตูช้าง ซึ่งทั้ง 3 เล่มมีเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงถึงกันทุกเล่มทุกเรื่องราวเสมือนเป็นบันทึกชุมชนมอญในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคที่น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของผู้คนชาวมอญที่ทรงคุณค่าควรแก่ศึกษาและถ่ายทอดสืบต่อไปของชาวมอญในประเทศไทย
(จำนวนผู้เข้าชม 1101 ครั้ง)