มรดกพื้นถิ่น
ชื่อเรื่อง : มรดกพื้นถิ่น
ผู้เขียน : บุญยงค์ เกศเทศ
สำนักพิมพ์ : กากะเยีย
ปีพิมพ์ : 2558
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-7661-38-4
เลขเรียกหนังสือ : 333.7 บ532ม
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : มรดกพื้นถิ่น อาจเป็นเหมือนมรดกที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าบุคคลใดที่จะเป็นทายาทสืบทอดอันพึงได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงดังเช่นมรดกส่วนตัวหรือมรดกของครอบครัว หากแต่คือ มรดกที่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของ และช่วยกันปกป้องรักษาสืบทอดให้ยั่งยืนสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น การปลูกฝังภูมิปัญญาผ่านตำนาน เรื่องเล่า จารีตประเพณี พิธีกรรมต่างๆ แม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเรือน ยารักษาโรค งานหัตถกรรม จักสาน ผ้าทอต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่ามหาศาล เพราะที่สุดแล้วมรดกพื้นถิ่นก็จะมีคุณค่าทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ด้วยทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด "มรดกพื้นถิ่น" เป็นการรวบรวมเรื่องราวมรดกความรู้ทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้บอกเล่าเรื่องราวสืบสานต่อกันมาอันเป็นเหมือนสมบัติธรรมชาติที่บรรพชนได้อนุรักษ์ไว้ เพื่อลูกหลานได้มีกินมีใช้ในภายภาคหน้า โดยมีเนื้อหาที่นำเสนอมากมายหลากหลายเรื่องมรดกภูมิปัญญาพื้นถิ่นทั่วทุกภาคของประเทศ อาทิ (1) ลูกต๋าว ถิ่นลั๊วะ ดงผาปูน บ่เกลือ เมืองน่าน (2) สาคู พืชชุ่มน้ำเมืองใต้ ดินแดนตำบลนาเสีย (3) แกง มะตาด แอ๊ปเปิ้ลมอญ หมากส่าน ของคนไท-ลาว (4) ปูเปี้ยว อีกหนึ่งภูมิปัญญาในการรักษาท้องทะเลและป่าชายเลน (5)ชาติพันธุ์ชอง บ้านคลองแสง ผลิตผลป่า สร้างค่าคนชุมชน (6) ภูเซิม เขาไม้ไผ่ที่นากลาง หนองบัวลำภู (7) ข้าวปุ้นซาว เคล้าน้ำยาดอของชาวพนมไพร (8) กวานฮาล็อก ปลาร้าคนมอญ คลองบางปรอก เมืองปทุมธานี (9) ปลาย่าง วังเวียง มรดกภูมิปัญญาของคนไท-ลาว (10) เสื่อ สาด วิถีการผลิตวัสดุธรรมชาติที่สืบทอดจากบรรพชน (11) หัวแฮด บ่อเกลือท่าสะอาด ลุ่มน้ำสงคราม (12) ข้าวฮาง อาหารพื้นบ้าน ภูมิปัญญาผู้ไท วาริชภูมิ (13) แควพระปรง ศูนย์เรียนรู้ยางนาบนพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี (14) กุดทิง พื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งล่าสุด บึงกาฬ (15) พื้นที่ชุ่มน้ำ ชุมชนโนนยาง ป่าวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งในอีสานใต้ ซึ่งมรดกพื้นถิ่นเหล่านี้นับว่าเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรแก่อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตราบนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อคนรุ่นหลังและธำรงค์ไว้ซึ่งความเป็นชาติอันมีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์สืบต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 719 ครั้ง)