พุดตาน ดอกไม้เทศแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุดตาน : ดอกไม้เทศแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุดตาน เป็นชื่อที่คนสยามเรียกลวดลายดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยกันติดปาก แต่แท้จริงแล้วพุดตานเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hibicus mutabilis L. และมีชื่อในภาษาจีนว่า 芙蓉花 (ฝูหรงฮวา) ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๕ เมตร ออกดอกตลอดทั้งปี กลีบดอกซ้อนกันใหญ่สวยงาม ลักษณะพิเศษอีกอย่าง คือ กลีบดอกจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิในแต่ละวัน โดยตอนเช้าจะเป็นสีขาว กลางวันเป็นสีชมพู และกลางคืนจะกลายเป็นสีชมพูเข้มหรือแดงเข้ม ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย และยังนำมาใช้เป็นเครื่องหมายมงคลเนื่องจากชื่อของดอกไม้ชนิดนี้ออกเสียงพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายมงคลในด้านความมั่งคั่ง ความร่ำรวย และยศถาบรรดาศักดิ์ คนจีนจึงนิยมวาดดอกพุดตานลงในภาพวาด ใช้ตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มทั้งที่เป็นของใช้ตนเองและมอบให้เป็นของขวัญแทนคำอวยพรแด่ผู้รับ รวมทั้งในปรัชญาจีนยังได้นำลักษณะการบานของดอกพุดตานมาใช้เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบกับวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ทำให้พุดตานเป็นไม้ที่ผูกพันในวิถีชีวิตของคนจีนมาช้านานและแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่คนจีนเดินทางไปถึง
มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า พุดตานน่าจะเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผ่านทางคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายกับสยาม แต่ในด้านงานศิลปกรรมไทยที่ปรากฏลวดลายดอกพุดตานหรือที่ช่างไทยนิยมเรียกว่า ลายดอกฝ้ายเทศ นั้น มีแนวคิดเกี่ยวกับที่มาอยู่ ๒ แนวคิด ได้แก่ แนวคิดที่ ๑ คือ ได้รับอิทธิพลมาจากดอกฝูหรงที่นำเข้ามาจากจีน ส่วนแนวคิดที่ ๒ คือ เป็นลายเดียวกันกับลายดอกโบตั๋นหรือพัฒนาขึ้นมาจากลายดอกโบตั๋นเดิม อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อถือกันว่าลายดอกพุดตานอาจเกิดขึ้นจากการเลียนแบบเครื่องลายครามของจีน ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานไว้ โดยลายดอกพุดตานที่พบในประเทศไทยมักเป็นลวดลายตกแต่งภาชนะ เช่น เครื่องลายครามที่พ่อค้าจีนนำติดตัวมาหรือนำมาขาย และเครื่องเบญจรงค์ หรือพบในงานจิตรกรรม งานประดับสถาปัตยกรรมที่ เรียกว่า ลายพุดตานก้านแย่งฺ ซึ่งเป็นที่นิยมมากตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เป็นต้นมา
พุดตาน เป็นชื่อที่คนสยามเรียกลวดลายดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยกันติดปาก แต่แท้จริงแล้วพุดตานเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hibicus mutabilis L. และมีชื่อในภาษาจีนว่า 芙蓉花 (ฝูหรงฮวา) ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๕ เมตร ออกดอกตลอดทั้งปี กลีบดอกซ้อนกันใหญ่สวยงาม ลักษณะพิเศษอีกอย่าง คือ กลีบดอกจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิในแต่ละวัน โดยตอนเช้าจะเป็นสีขาว กลางวันเป็นสีชมพู และกลางคืนจะกลายเป็นสีชมพูเข้มหรือแดงเข้ม ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย และยังนำมาใช้เป็นเครื่องหมายมงคลเนื่องจากชื่อของดอกไม้ชนิดนี้ออกเสียงพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายมงคลในด้านความมั่งคั่ง ความร่ำรวย และยศถาบรรดาศักดิ์ คนจีนจึงนิยมวาดดอกพุดตานลงในภาพวาด ใช้ตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มทั้งที่เป็นของใช้ตนเองและมอบให้เป็นของขวัญแทนคำอวยพรแด่ผู้รับ รวมทั้งในปรัชญาจีนยังได้นำลักษณะการบานของดอกพุดตานมาใช้เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบกับวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ทำให้พุดตานเป็นไม้ที่ผูกพันในวิถีชีวิตของคนจีนมาช้านานและแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่คนจีนเดินทางไปถึง
มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า พุดตานน่าจะเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผ่านทางคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายกับสยาม แต่ในด้านงานศิลปกรรมไทยที่ปรากฏลวดลายดอกพุดตานหรือที่ช่างไทยนิยมเรียกว่า ลายดอกฝ้ายเทศ นั้น มีแนวคิดเกี่ยวกับที่มาอยู่ ๒ แนวคิด ได้แก่ แนวคิดที่ ๑ คือ ได้รับอิทธิพลมาจากดอกฝูหรงที่นำเข้ามาจากจีน ส่วนแนวคิดที่ ๒ คือ เป็นลายเดียวกันกับลายดอกโบตั๋นหรือพัฒนาขึ้นมาจากลายดอกโบตั๋นเดิม อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อถือกันว่าลายดอกพุดตานอาจเกิดขึ้นจากการเลียนแบบเครื่องลายครามของจีน ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานไว้ โดยลายดอกพุดตานที่พบในประเทศไทยมักเป็นลวดลายตกแต่งภาชนะ เช่น เครื่องลายครามที่พ่อค้าจีนนำติดตัวมาหรือนำมาขาย และเครื่องเบญจรงค์ หรือพบในงานจิตรกรรม งานประดับสถาปัตยกรรมที่ เรียกว่า ลายพุดตานก้านแย่งฺ ซึ่งเป็นที่นิยมมากตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เป็นต้นมา
(จำนวนผู้เข้าชม 11367 ครั้ง)