ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาและบรรยาย “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom”
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาและการบรรยายจากผู้บริหารองค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ของไทย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์มากกว่า 40 คน ที่จะมาร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ สู่สาธารณชน ในงาน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ในวาระครบรอบ 150 ปี แห่งการเริ่มต้นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2567 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
สำหรับการเสวนาและการบรรยาย ประกอบด้วย
วันที่ 19 กันยายน 2567
Session 1 : “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” การเสวนาเล่าเรื่องจุดเริ่มต้นของกิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย พัฒนาการ และทิศทางสู่อนาคต โดย สมลักษณ์ เจริญพจน์ อุปนายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) และนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ
Session 2 : “พิพิธพัฒนาการพิพิธภัณฑ์ไทย” การบรรยายเจาะลึกการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ไทยที่น่าสนใจ ประกอบด้วย “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ. สรรใจ แสงวิเชียร ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “๒๐ ปี พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” โดย สุชีรา เทวะ นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) “กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน” โดย ชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน
Session 3 : “พหุวัฒนธรรมการแต่งกาย” การเสวนาที่จะพาทุกคนไปสัมผัสวัฒนธรรมหลากหลายที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว กับประเด็น “พหุพัสตราภรณ์ ความหลากหลายแห่งแพรพรรณ” โดย ชนะภพ วัณณโอฬาร สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา “๑๕๐ ปี วิวัฒนาการผ่านผืนผ้า From westernized สู่ไทยพระราชนิยม” โดย ณชนก วงศ์ข้าหลวง พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “ผ้าราชสำนักในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” โดย ยุทธนาวรากร แสงอร่าม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Session 4 : “รากฐานความรู้ สู่การเป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ระดับวิชาการ“ การบรรยายเล่าเรื่องเบื้องหลัง การรวบรวมสิ่งสะสมที่พัฒนาเป็นองค์ความรู้ทางวิชาการ ประกอบด้วย “จากแผ่นสู่ห้องสมุดเสียงร้อยเรียงเป็นแหล่งเรียนรู้” โดย ถนิมรัตน์ แกล้วทนงค์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ “จากการสะสมวัตถุพยาน สู่พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้” โดย ชาตรี ชุ่มจิตร นักสื่อสารมวลชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน “จากสะสมสู่มิวเซียม: จุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด” โดย นิภาพร บุญทองใหม่ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด “กองทัพอากาศในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม” โดย นาวาอากาศเอก วีระชน เพ็ญศรี ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมสารบรรณทหารอากาศ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ “สิ่งสะสมส่วนตัวสู่คลังสมบัติชาติ: นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล กับการวางรากฐานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาไทย” โดย ชัยนุพล สุวรรณกุลไพศาล ศูนย์บริหารคลังตัวอย่างทางธรรมชาติวิทยาและสัตว์สตัฟฟ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง กับการจัดการผลงานโดยครอบครัวศิลปิน” โดย นวภู แซ่ตั้ง นักวิชาการศิลปะ ทายาทรุ่นที่ 3 ของศิลปิน จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ร่วมก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง
วันที่ 20 กันยายน 2567
Session 5 : “Museum as Soft Power” การบรรยายนำเสนอบทเรียนจากความสำเร็จการเป็นผู้นำด้าน Soft Power โดย ลี ซอนจู ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีแห่งประเทศไทย
Session 6 : “พิพิธภัณฑ์กับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว” การเสวนาร้อยเรียงกระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์เพื่อตอบรับการท่องเที่ยวกระแสหลัก โดย ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ณันท์นภัส โตพัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ พระนคร (ผู้ดำเนินรายการ)
Session 7 : “พิพิธภัณฑ์กับการแปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่การเรียนรู้” การบรรยายนำเสนอแนวทางการประยุกต์องค์ความรู้ที่เข้าถึงคนทุกวัย “บอร์ดเกมจากพิพิธภัณทสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์” โดย ชนน วัฒนะกูล ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
Session 8 : “พิพิธภัณฑ์กับวัฒนธรรมร่วมสมัย” การบรรยายเกี่ยวกับการตีความวัตถุทางวัฒนธรรมเพื่อสื่อสารในรูปแบบแฟชั่นดีไซน์ ประกอบด้วย “Redefining Ethnological Collections: Integrating Contemporary Indigenous Fashion.” โดย Yulun Huang Curatorial Assistant Researcher, National Museum of Prehistory, Taiwan “จากศิลปะ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดย ดร. วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร (Ph.D in Visual Art) หอศิลป์ศาลเจ้า
Session 9 : “พิพิธภัณฑ์กับการสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้” การเสวนาว่าด้วยการออกแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ “บทเรียนจากพิพิธภัณฑ์...สู่การสร้างสรรค์เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร มิวเซียมสยาม อัศรินทร์ นนทิหทัย ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมการเรียนรู้ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ พีรัช ษรานุรักษ์ นักออกแบบการเรียนรู้ Wizards of Learning ชนน์ชนก พลสิงห์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม (ผู้ดําเนินรายการ)
วันที่ 21 กันยายน 2567
Session 10 : “เทคโนโลยีกับพิพิธภัณฑ์” การบรรยายนำเสนองานหลังบ้าน การวิเคราะห์โบราณวัตถุ และการจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วย “หน้าบ้านหลังบ้าน การใช้เทคโนโลยีในงานพิพิธภัณฑ์แบบทำได้จริง” โดย อานุภาพ สกุลงาม ผู้อำนวยการกองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “เทคโนโลยีกับการสร้างฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์โบราณวัตถุ” โดยเบญจวรรณ พลประเสริฐ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย “เทคโนโลยีกับการสร้างภาพจำใหม่ของโบราณวัตถุ” โดย นัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
Session 11 : “พิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน“ การเสวนาเล่าเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากคุณค่าวัตถุทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์: พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย กับวิทยากรกลุ่มเซียมไล้และตัวแทนน้องๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาจารย์ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินศิลปาธร 2557 สาขาเรขศิลป์ และผู้ก่อตั้งกลุ่มเซียมไล้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สมาชิกกลุ่มเซียมไล้ ทานตะวัน วัฒนะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์บันดาลไทย 2567 ทีมไทยเก๊ก ธนพล โลหชิตพิทักษ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์บันดาลไทย 2567 ทีมประกายมรกต วัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี (ผู้ดำเนินรายการ)
Session 12 : “พิพิธภัณฑ์เพื่อสังคม“ การบรรยายเล่าเรื่องความรู้ ภูมิปัญญา และงานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม ประกอบด้วย “บทบาทพิพิธภัณฑ์ในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” โดย พระปลัดประพจน์ สุปภาโต พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง “การส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ผ่านการเป็นอาสาสมัครเล่าเรื่องวัตถุตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” โดย มณีรัตน์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการกองวิชาการประวัติวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาไทย สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
Session 13 : “พลวัต (การศึกษา) สู่อนาคตพิพิธภัณฑ์ไทย”การบรรยายนำเสนอทิศทางของพิพิธภัณฑ์ไทยในนวัตกรรมแห่งความรู้ ในหัวข้อ “พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ของอนาคต” โดย พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ พิพิธภัณฑ์นักเขียนไทย “จากการสั่งสมโบราณวัตถุ สร้างสรรค์บทสนทนาสู่การสร้างนวัตกรรมกรรมทางสังคม A passage of Knowledge, Conversation and Innovation” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พธู คูศรีพิทักษ์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิพิธภัณฑศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Session 14 : “พิพิธภัณฑ์กับชุมชน” การเสวนานำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์พื้นที่ของวัฒนธรรมชุมชน “ศิลปะชุมชน พื้นที่ของวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์” โดย อาจารย์ชุมพล อักพันธานนท์ บ้านศิลปินคลองบางหลวง ดร. ไพโรจน์ ทองคำสุก ศูนย์ฝึกโขนวัดสุวรรณาราม ชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน (ผู้ดำเนินรายการ).
ทั้งนี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2567 สามารถเข้าร่วมรับฟังการเสวนาและการบรรยายได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยมีการปาฐกถาพิเศษ “มองอนาคตของพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษหน้า” โดย พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และวันที่ 20 - 21 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษกับวัตถุสะสมชิ้นพิเศษจากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย 24 แห่ง การออกร้านกิจกรรมพิเศษและการจำหน่ายของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายอีก 20 แห่ง ตลาดสินค้าสร้างสรรค์ประเภทอาร์ตทอย นอกจากนี้ในช่วงค่ำยังจัดให้มีกิจกรรม Museum Talk ยามค่ำ และกิจกรรม Night Museum เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์รอบพิเศษให้ทุกท่านเข้าชมนิทรรศการและความสวยงามของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยามค่ำคืน ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึง 20.00 น.
ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ใน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” ได้ทาง Facebook: Thai Museum Day และ Office of National Museums, Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทร. 0 2164 2501-02 ต่อ 8045
(จำนวนผู้เข้าชม 627 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน