เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เหรียญกษาปณ์โรมัน จักรพรรดิวิคโตรินุส
เหรียญกษาปณ์โรมัน “จักรพรรดิวิคโตรินุส” พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เหรียญทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปจักรพรรดิซีซาร์ มาร์คุส พิอาโวนิอุส วิกโตรินุส (Emperor Caesar Marcus Piavonius Victorinus) เห็นพระพักตร์ด้านขวาของพระองค์ ทรงมงกุฎ และเสื้อเกราะ มีตัวอักษรภาษาละตินล้อมรอบอยู่ริมขอบเหรียญว่า “IMP C VICTORINVS P F AVG ย่อมาจาก Imperator Caesar Victorinus Pius Felix Augustus แปลว่า จักรพรรดิซีซาร์ วิคโตรินุส ศรัทธา ความสุข ด้านหลังเป็นรูปเทพีซาลัส (Salus) เทพีแห่งสุขภาพและความสุขของยุคโรมัน ทรงสวมชุดแบบโรมันที่เรียกว่า ชุดสโทลา (Stola) และคลุมผ้า ที่เรียกว่า ปัลลา (Palla) ผินพระพักตร์ไปทางซ้าย ทรงป้อนอาหารงูของเทพแอสคูราปิอุส (Aesculapius) ผู้เป็นพระบิดาและเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาโรค ทรงจับงูด้วยพระหัตถ์ขวา และถือชามใส่อาหารด้วยพระหัตถ์ซ้าย มีตัวอักษรภาษาละติน ล้อมรอบรูปเทพีซาลัส โดยรอบเหรียญว่า SALVS AVG ซึ่งนักวิชาการต่างประเทศตีความว่าเป็นคำย่อมาจาก Salus Augusti แปลว่า “Health of the Emperor”
จักรพรรดิวิคโตรินุส ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกัลลิค (The Gallic Empire or The Gallic Roman Empire) ซึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโรมันในระหว่างปี พ.ศ. ๘๐๓ – ๘๑๗ ทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๔ สันนิษฐานว่าเหรียญนี้ผลิตขึ้นที่โรงกษาปณ์ในเมืองโคโลญจ์ ประเทศเยอรมัน ราว พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๓ (ประมาณ ๑,๗๕๐ ปีมาแล้ว)
ทั้งนี้เหรียญกษาปณ์โรมันรูปจักรพรรดิวิคโตรินุสนี้ ไม่ได้พบจากการขุดค้นทางโบราณคดี โดยผู้มอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง แจ้งว่า พบจากเมืองโบราณอู่ทอง ทำให้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า เหรียญดังกล่าวอาจเป็นของที่นำเข้ามาในสมัยหลัง โดยพ่อค้าชาวยุโรป สมัยอยุธยา แต่หากเหรียญที่พบถูกนำเข้ามาตั้งแต่ช่วงเวลาที่มีการผลิตขึ้นใช้ คือ ระหว่างปี พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๓ ก็ถือเป็นหลักฐานสำคัญ ที่แสดงว่าพื้นที่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่อยู่ไกลออกไปทางตะวันตก โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมัน ศูนย์กลางสำคัญของโลกยุคโบราณ โดยตรงหรือผ่านพ่อค้าชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่นอินเดีย และเปอร์เชีย มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ หรือกว่า ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว
.............................................................................
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
............................................................................
เอกสารอ้างอิง
คริสเตียน ลองเดส. “เหรียญโรมันพบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. ศิลปากร ปีที่ ๓๖ เล่ม ๑, ๒๕๒๕ อ้างถึงใน อรุณศักดิ์ กิ่งมณี และคณะ. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. อมรา ศรีสุชาติ. (๒๕๖๐). “ปฐมบทแห่งการศึกษาค้นคว้าเรื่องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมบนเส้นทางการค้าทางทะเล”. ใน เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “สุวรรณภูมิ : การเชื่อมโยงการค้าโลก”. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. Nick Wells. Victorinus [Online], 1 September 2020. Available from www.academia. edu/2091876/Victorinus Seth William Stevenson, Frederic W. Madden, C. Roach Smith. A dictionary of Roman coins, Republican and Imperial [Online], 1 September 2020. Available from archive. org/details/dictionaryofroma00stev/mode/2up How to identify roman coins [Online], 1 September 2020. Available from www.all-your-coins. com/en/blog/antique/romaines/comment-identifier-les-monnaies-romaines
(จำนวนผู้เข้าชม 7164 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน