สระมะโนรา เมืองลพบุรี
สระมโนรา เป็นสระน้ำโบราณตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของโบราณสถานปรางค์สามยอด ภายในเขตเมืองชั้นในของเมืองลพบุรี มีผังโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้างประมาณ ๘๒ เมตร ความยาว ๘๖ เมตร กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสระมะโนรา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๙๐๕ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับที่ ๓๒๐/๒๔๘๖ ระบุว่า สระมะโนรามีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ ๑ งาน
โบราณสถานสระมะโนรา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานสระมะโนรา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
เมื่อมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า และความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า ทำให้ผู้คนพากัน อพยพหลั่งไหลเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำการค้าในเมืองเก่าลพบุรีมากขึ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งเข้าไปก่อสร้างที่อยู่อาศัยภายใน และโดยรอบขอบสระมะโนรา จนกลายเป็นชุมชนแออัด เรียกกันว่า “ชุมชนสระมะโนรา” นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนล้อมรอบสระมะโนราเกือบทุกด้าน ได้แก่ ถนนปรางค์สามยอดทางทิศตะวันออก ถนนสุรสงครามทางด้านทิศตะวันตก และถนนตลาดเมืองทางด้านทิศใต้ ทำให้สระน้ำโบราณเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพดั้งเดิม จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ได้เกิดอัคคีภัยขึ้นในชุมชนสระมะโนรา บ้านเรือนของชาวบ้านที่ตั้งอยู่กลางสระ และบริเวณขอบสระทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ถูกเพลิงไหม้ทำลายเสียหายไปจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี จึงได้ทำการขุดตรวจทางโบราณคดีสระมะโนรา เพื่อศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ทำให้ค้นพบหลักฐานว่า มีการใช้พื้นที่แหล่งน้ำบริเวณ สระมะโนรามาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในสมัยทวารวดีเป็นต้นมา สระมะโนรา เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ๑ ใน ๒ แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองชั้นในของเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่ง คือ สระน้ำบริเวณหลังวัดนครโกษา หลักฐานทางโบราณคดีจากหลุมขุดตรวจบริเวณขอบสระทางทิศใต้ ปรากฏร่องรอยของฐานโบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เรียงเป็นพื้นต่อกันเป็นแนวขนาด ๑.๕x๒.๐ เมตร ปัจจุบันบางส่วนชำรุดแตกหักกระจายอยู่ทั่วไป ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นพื้นโดยรอบขอบสระน้ำโบราณเดิม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของการก่อไฟเพื่อประกอบอาหาร และเปลือกหอยโข่งขนาดใหญ่จำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าสระมะโนราเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด เนื่องจากตามธรรมชาติหอยโข่งเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำจืดสะอาด หากน้ำมีสิ่งปนเปื้อนหรือสกปรกจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ จากแผนที่กรุงเก่าลพบุรี ซึ่งกรมแผนที่ทหารบกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ แสดงให้เห็นว่าระดับของสระมะโนรานั้นลึกกว่าระดับของแม่น้ำลพบุรีอยู่ถึง ๓ เมตร โบราณวัตถุสมัยทวารวดีที่พบจากการขุดตรวจทางโบราณคดี ได้แก่ หม้อดินเผาแบบมีสัน ชามดินเผาแบบมีสัน และชามดินเผาก้นลึก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
ภาพร่องรอยของฐานโบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เรียงเป็นพื้นต่อกัน สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นพื้นโดยรอบขอบ สระมโนรา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
หลักฐานจากชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชายรูปหน้าเทวดา ชิ้นส่วนลำตัวประติมากรรมดินเผานุ่งผ้า ลายกนก ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ชิ้นส่วนไหดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาในเมืองหริภุญชัย แท่นหินบดและหินบด แสดงให้เห็นว่ามีการใช้สระมะโนราเป็นแหล่งน้ำสำคัญต่อเนื่องมาจนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรได้แพร่หลายเข้ามา สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒) ในช่วงแรกสระมะโนราเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้เพื่อการ อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของชาวเมืองลพบุรี หลักฐานที่พบจากหลุมขุดตรวจทางโบราณคดีส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาในครัวเรือน เช่น หม้อดินเผาเนื้อดิน พวยกาดินเผา ชิ้นส่วนไหเนื้อแกร่งมีการตกแต่งผิวด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้นคลื่น กระปุกสังคโลกจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนแบบเคลือบสีเขียว แหล่งเตาหลงเฉวียน สมัยราชวงศ์หยวน (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) และชิ้นส่วนชามเขียนสีน้ำเงินใต้ เคลือบใส สมัยราชวงศ์ชิงตอนกลาง (พุทธศตวรรษที่ ๒๓)
หม้อดินเผาแบบมีสัน สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗)
ชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชายรูปหน้าเทวดา และลำตัวประติมากรรมนุ่งผ้าลายกนก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
แท่นหินบดและหินบด กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
หม้อดินเผาก้นกลมตกแต่งผิวด้วยลายกดประทับ และชิ้นส่วนไหเนื้อแกร่งมีการตกแต่งผิว ด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้นคลื่น สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒)
กระปุกสังคโลกจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้นคลื่น สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒)
จนกระทั่งสมัยอยุธยาตอนปลายจากแผนที่เมืองละโว้ (PLAN DE LA VILLE DE LOUVO) ซึ่ง วาดขึ้นโดย มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาพร้อมคณะราชทูต เดอ โชมองต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๘ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แสดงให้เห็นว่าสระมะโนราถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ราชอุทยาน “Jardin royal” ดังนั้น การฟื้นฟูสระมะโนราให้หวนกลับคืนสู่หน้าที่การใช้งานเดิมอีกครั้ง ก็จะช่วยเติมเต็มภาพรวมทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีของเมืองลพบุรีได้เป็นอย่างดี
แผนที่เมืองละโว้ (PLAN DE LA VILLE DE LOUVO) วาดขึ้นโดย มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส
เรียบเรียงโดย : นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
โบราณสถานสระมะโนรา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานสระมะโนรา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
เมื่อมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า และความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า ทำให้ผู้คนพากัน อพยพหลั่งไหลเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำการค้าในเมืองเก่าลพบุรีมากขึ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งเข้าไปก่อสร้างที่อยู่อาศัยภายใน และโดยรอบขอบสระมะโนรา จนกลายเป็นชุมชนแออัด เรียกกันว่า “ชุมชนสระมะโนรา” นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนล้อมรอบสระมะโนราเกือบทุกด้าน ได้แก่ ถนนปรางค์สามยอดทางทิศตะวันออก ถนนสุรสงครามทางด้านทิศตะวันตก และถนนตลาดเมืองทางด้านทิศใต้ ทำให้สระน้ำโบราณเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพดั้งเดิม จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ได้เกิดอัคคีภัยขึ้นในชุมชนสระมะโนรา บ้านเรือนของชาวบ้านที่ตั้งอยู่กลางสระ และบริเวณขอบสระทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ถูกเพลิงไหม้ทำลายเสียหายไปจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี จึงได้ทำการขุดตรวจทางโบราณคดีสระมะโนรา เพื่อศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ทำให้ค้นพบหลักฐานว่า มีการใช้พื้นที่แหล่งน้ำบริเวณ สระมะโนรามาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในสมัยทวารวดีเป็นต้นมา สระมะโนรา เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ๑ ใน ๒ แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองชั้นในของเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่ง คือ สระน้ำบริเวณหลังวัดนครโกษา หลักฐานทางโบราณคดีจากหลุมขุดตรวจบริเวณขอบสระทางทิศใต้ ปรากฏร่องรอยของฐานโบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เรียงเป็นพื้นต่อกันเป็นแนวขนาด ๑.๕x๒.๐ เมตร ปัจจุบันบางส่วนชำรุดแตกหักกระจายอยู่ทั่วไป ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นพื้นโดยรอบขอบสระน้ำโบราณเดิม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของการก่อไฟเพื่อประกอบอาหาร และเปลือกหอยโข่งขนาดใหญ่จำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าสระมะโนราเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด เนื่องจากตามธรรมชาติหอยโข่งเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำจืดสะอาด หากน้ำมีสิ่งปนเปื้อนหรือสกปรกจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ จากแผนที่กรุงเก่าลพบุรี ซึ่งกรมแผนที่ทหารบกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ แสดงให้เห็นว่าระดับของสระมะโนรานั้นลึกกว่าระดับของแม่น้ำลพบุรีอยู่ถึง ๓ เมตร โบราณวัตถุสมัยทวารวดีที่พบจากการขุดตรวจทางโบราณคดี ได้แก่ หม้อดินเผาแบบมีสัน ชามดินเผาแบบมีสัน และชามดินเผาก้นลึก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
ภาพร่องรอยของฐานโบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เรียงเป็นพื้นต่อกัน สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นพื้นโดยรอบขอบ สระมโนรา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
หลักฐานจากชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชายรูปหน้าเทวดา ชิ้นส่วนลำตัวประติมากรรมดินเผานุ่งผ้า ลายกนก ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ชิ้นส่วนไหดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาในเมืองหริภุญชัย แท่นหินบดและหินบด แสดงให้เห็นว่ามีการใช้สระมะโนราเป็นแหล่งน้ำสำคัญต่อเนื่องมาจนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรได้แพร่หลายเข้ามา สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒) ในช่วงแรกสระมะโนราเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้เพื่อการ อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของชาวเมืองลพบุรี หลักฐานที่พบจากหลุมขุดตรวจทางโบราณคดีส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาในครัวเรือน เช่น หม้อดินเผาเนื้อดิน พวยกาดินเผา ชิ้นส่วนไหเนื้อแกร่งมีการตกแต่งผิวด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้นคลื่น กระปุกสังคโลกจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนแบบเคลือบสีเขียว แหล่งเตาหลงเฉวียน สมัยราชวงศ์หยวน (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) และชิ้นส่วนชามเขียนสีน้ำเงินใต้ เคลือบใส สมัยราชวงศ์ชิงตอนกลาง (พุทธศตวรรษที่ ๒๓)
หม้อดินเผาแบบมีสัน สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗)
ชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชายรูปหน้าเทวดา และลำตัวประติมากรรมนุ่งผ้าลายกนก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
แท่นหินบดและหินบด กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
หม้อดินเผาก้นกลมตกแต่งผิวด้วยลายกดประทับ และชิ้นส่วนไหเนื้อแกร่งมีการตกแต่งผิว ด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้นคลื่น สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒)
กระปุกสังคโลกจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยการขูดขีดเป็นลายเส้นคลื่น สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒)
จนกระทั่งสมัยอยุธยาตอนปลายจากแผนที่เมืองละโว้ (PLAN DE LA VILLE DE LOUVO) ซึ่ง วาดขึ้นโดย มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาพร้อมคณะราชทูต เดอ โชมองต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๘ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แสดงให้เห็นว่าสระมะโนราถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ราชอุทยาน “Jardin royal” ดังนั้น การฟื้นฟูสระมะโนราให้หวนกลับคืนสู่หน้าที่การใช้งานเดิมอีกครั้ง ก็จะช่วยเติมเต็มภาพรวมทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีของเมืองลพบุรีได้เป็นอย่างดี
แผนที่เมืองละโว้ (PLAN DE LA VILLE DE LOUVO) วาดขึ้นโดย มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส
เรียบเรียงโดย : นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 4771 ครั้ง)