ยักษ์
จำนวนผู้เข้าชม 1806


ยักษ์

ยักษ์ ภาษาสันสกฤตว่า ยกฺษ (yakṣa) ภาษาบาลี คือ ยกฺข(yakkha) จัดเป็นอมนุษย์กึ่งเทพพวกหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ปรากฏในคัมภีร์ศาสนาพุทธ พราหมณ์ และศาสนาเชน มีฐานะเป็นเทพบริวาร
ผู้พิทักษ์รักษาศาสนาและศาสนสถาน เพศชายเรียกว่า ยักษะ(yakṣa) เพศหญิงเรียกว่า ยักษี (yakṣī) หรือ ยักษิณี (yakṣiṇī) บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร (asūra)กุมภัณฑ์ (kumbhaṇḍa) คุหยัก (guhyaka) แทตย์ (daityas) หรือทานพ (Danavas) รากษส (rākṣasas) และมาร (māra) ก็มี

ยักษ์แปลตามศัพท์หมายถึง บุคคลที่ควรบูชา ผู้ที่มีคนเซ่นสรวง สัตว์ผู้รับของเซ่นไหว้ ตามความเชื่อดั้งเดิมในประเทศอินเดีย ยักษ์เป็นจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ จัดเป็นเทวดาพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าและภูเขา มักใจดี
มีเมตตา กรุณา แต่บางครั้งก็ซุกซน เอาแต่ใจ เป็นผู้มีราคะจริตมาก มีความสามารถเชิงมายากล และแปลงร่างได้ มีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ ป่า ดิน ภูเขา และทรัพย์สมบัติ อีกลักษณะหนึ่ง จัดเป็นพวกดุร้าย มีจิตริษยา อาฆาต เบียดเบียนมนุษย์ เป็นภูติ ผี ปีศาจ วิญญาณร้าย
ที่หลอกหลอนอยู่ตามท้องถิ่นทุรกันดาร ทางสัญจร จับมนุษย์และสัตว์กิน คล้ายกับรากษส

ยักษ์มักได้รับการสักการบูชาในฐานะเทพผู้ปกครองเมือง เขต แขวง ทะเลสาบ หรือบ่อน้ำ ร่วมกับความนิยมนับถือนาค และพระแม่ธรณี อาจมีต้นกำเนิดมาจากชนพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดีย มีการบูชายักษ์อยู่ร่วมในการสังเวยของนักบวชในยุคเวทต่อมายักษ์จึงถูกมองว่าเป็นเทพผู้พิทักษ์โลก เป็นผู้อารักขาทรัพย์ (แร่ธาตุและอัญมณี) ที่ซ่อนอยู่ในดิน

Yaksha

Yaksha or ‘Yakṣa’ in Sanskrit language and ‘Yakkha’ in Pali language is a semi-deity mentioned in both religion and literature. According to Buddhist, Hindu, and Jain scriptures, yaksha is the attendant of gods, and the guardian of religion and religious sites. A male yaksha is called ‘Yaksha’, a female one is called ‘Yakshi’ or ‘Yakshini’. Sometimes Yaksha is referred to in combination with the words ‘Asura’, ‘Kumbhanda’, ‘Guhyaka’, ‘Daitya’, or ‘Danava’, ‘Rakshasa’ and ‘Mara’.

Yaksha literally means a person who deserves an act of worship, one whom people give offerings to, and a being who that receives offerings. According to traditional belief in India, yakshas are the nature-spirits and classified as one of the deities. They live in forests and mountains.

They are often benevolent, but sometimes mischievous, capricious, and very sensual. Also, they have magical abilities and can transform themselves into different appearance. They are associated with water, fertility, trees, forests, soil, mountains, and wealth. From another point of view, they are fierce, envious, and malicious. They persecute humans and appear as ghosts, demons, and evil spirits that haunt rural areas, roads and capture humans and animals to eat in a similar manner to rakshasas.

Yakshas are often given homage as guardian deities of a city, district, lake or well like Nagas and Earth goddess. This may have its roots in the indigenous peoples of India. Yaksha worship coexisted with the sacrifices of priests in the Vedic era. Later, yakshas are regarded as the guardian deities of the world and the custodians of treasures (minerals and gems) that are hidden in the earth

ภาพ: ประติมากรรมยักษ์เมืองปาร์ขัม (Parkham)
ศิลปะอินเดียสมัยโบราณราชวงศ์ศุงคะ (พ.ศ. ๒๕๐ - ๓๕๐)
มีขนาดใหญ่หนาหนัก แข็งกระด้าง จัดเป็นประติมากรรมศิลารุ่นแรกของอินเดีย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมถุรา รัฐอุตรประเทศ อินเดีย

ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค



Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.