น้ำต้น
จำนวนผู้เข้าชม 1315

น้ำต้น
น้ำต้น หรือ คนโฑ เดิมเรียกกันว่าน้ำต้นเงี้ยว เนื่องจากกลุ่มคนที่ทำขึ้นเป็นชาวไทใหญ่หรือเงี้ยวที่อพยพมาตั้งรกรากในบริเวณเหมืองกุง ในช่วงสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๖
น้ำต้นมีลักษณะรูปทรงคล้ายผลน้ำเต้า คอยาวสำหรับใส่น้ำดื่มให้มีความเย็นสดชื่น แบ่งเป็น ๓ ขนาดใหญ่ ๆ คือ
๑. น้ำต้นหลวง มีขนาดใหญ่ใส่น้ำได้ทีละมาก ๆ สำหรับใส่น้ำไปไร่นา มีหูจำนวน ๒ หรือ ๔ หู สำหรับร้อยเชือกเพื่อแบกบนหลัง
๒. น้ำต้นกลาง สำหรับใช้งานทั่วไปในวงอาหารหรือการรับแขก
๓. น้ำต้นหน้อย (เล็ก) มีขนาดเล็ก ใช้ใส่น้ำตั้งตามหิ้งบูชาพระ
ปัจจุบันมีการผลิตที่หมู่บ้านหัตถกรรมทำเครื่องปั้นดินเผา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ภาพ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม
อ้างอิง : ธันวดี สุขประเสริฐ.๒๕๖๔.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (Online). https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php... ,สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔.